Site icon SDG Move

Brookings Report 2022 – ผู้นำท้องถิ่นใช้ SDGs ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเมือง

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศูนย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันบรู๊กคิงส์ (Center for Sustainable Development at Brookings) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยเชิงลึกและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาสังคม ได้เผยแพร่รายงานชื่อ “Local Leadership Driving Progress on the Sustainable Development Goals” หรือ “ผู้นำท้องถิ่นกับการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” นำเสนอบทเรียนจากประสบการณ์การรวมกลุ่มระยะเวลาสามปีของเครือข่าย “Brookings SDG Leadership Cities” 

รายงานดังกล่าวเขียนและเรียบเรียงโดย Anthony Pipa และ Max Bouchet  นำเสนอบทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของ SDGs ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมทั้งพิจารณาถึง “ผลการดำเนินการอันเป็นผลมาจากคำมั่นที่จะปฏิบัติตาม SDGs ในมิติของการปรับปรุงการดำเนินงาน ประสิทธิภาพ และผลกระทบ”

รายงานเน้นย้ำถึงปัจจัยสำคัญหกประการที่จะช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้ในชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ 

  1. การสร้างการรับรู้ ( awareness)
  2. การจัดวางหรือจัดการให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน (alignment) 
  3. การวิเคราะห์ (analysis)
  4. การดำเนินการ (action)
  5. ความรับผิดชอบ (accountability) 
  6. ความปรารถนาอันแรงกล้า (ambition)

ซึ่งเมื่อเทียบกับปัจจัยดังกล่าวจะค้นพบถึงผลเชิงรูปธรรมที่เมืองซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมได้รับจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การพิจารณาปัจจัยตามกรอบแนวคิดนี้ช่วยทำให้เข้าใจว่า “เมืองที่เข้าร่วมกระบวนการนี้กำลังเผชิญกับผลกระทบตามกรอบ SDGs อย่างไร”โดยเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม

ท่ามกลางบทเรียนและข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นที่ต้องการเร่งให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดความก้าวหน้า รายงานยังเน้นย้ำถึงประเด็นที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ

ทั้งนี้ ผู้เขียนรายงานได้เตือนว่าการเร่งให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความก้าวหน้านั้นมีอุปสรรคขัดขวางที่สำคัญ ได้แก่ ทางเลือกทางการเงินและอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีขีดจำกัด รวมถึงวัฏจักรทางการเมือง พร้อมกับตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกว่า “ความก้าวหน้าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการกลั่นกรองและเสริมสร้างความเข้มแข็งของธรรมาภิบาลในหลายระดับที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างนโยบายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ”

สำหรับประเทศไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ได้มีความพยายามหนุนเสริมบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานราชการส่วนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามาเป็นแนวหน้าและศูนย์กลางของการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าร่วมพิธีการลงนามในประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) นับเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถและความตระหนักด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในจังหวัด 

อย่างไรก็ดี โจทย์สำคัญที่น่าติดตามหลังจากลงนามในประกาศดังกล่าว คือผู้ว่าราชการจังหวัดจะสามารถริเริ่มนโยบายหรือยุทธศาสตร์แล้วลงมือดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอนโยบายหรือสัญญาณไฟเขียวจากรัฐบาลส่วนกลางหรือไม่ และเช่นเดียวกับที่เมืองอื่น ๆ ทั่วโลกเผชิญตามรายงานของสถาบันบรูกคิงส์ ผู้นำท้องถิ่นของไทยจะจัดการกับอุปสรรคเรื่องทางเลือกทางการเงินและอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีขีดจำกัดได้อย่างไร นี่คือข้อท้าทายของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรัฐบาลท้องถิ่น

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
Director Notes: 22: การนำ SDGs ไปปฏิบัติในระดับท้องถิ่นและการฟื้นตัวจากโควิด-19 – คำกล่าวของผู้อำนวยการ SDG Move สำหรับกิจกรรมคู่ขนานของ HLPF 2022 ที่จัดโดยรัฐบาลมาเลเซีย
SDG Updates | (EP.6) Futures Literacy: คิดถึงความหมายใหม่ “การพัฒนาระหว่างประเทศ” – รับรู้ความเชื่อมโยงของปัญหา เปิดใจฟังความต่าง เข้าใจบริบทท้องถิ่น
SDG Updates | ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
SDG 101 | รู้หรือไม่? แม้ SDGs จะเป็นเป้าหมาย ระดับโลกแต่จะสำเร็จได้ต้องให้ความสำคัญกับท้องถิ่น

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ 
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา: Local Leadership Driving SDG Progress: Brookings Report (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version