Site icon SDG Move

ทำความรู้จัก “Extreme Weather” สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เปลี่ยนท้องฟ้ากรุงเทพฯ ดำมืด ปัญหาท้าทายที่โลกต้องเร่งจัดการ

“ภาพเมฆดำทะมึน เปลี่ยนกรุงเทพตอนเช้าให้เป็นเหมือนตอนกลางคืน คงเป็นสิ่งที่ทำให้เพื่อนธรณ์ตกใจ นั่นคือเมฆโลกร้อน เกิดจากทะเลร้อน น้ำระเหยเยอะ อากาศร้อน จุไอน้ำได้มากขึ้น กลายเป็นเมฆจุน้ำมหาศาล พร้อมจะเททะลักลงมากลายเป็นฝนห่าใหญ่ เคราะห์ดีที่หนนี้ลมพัดผ่านไป ฝนตกไม่มาก แต่ยังมีหนหน้าและหนต่อไป เพราะนี่คือการเริ่มต้นของยุค extreme weather”

ดังกล่าวคือคำอธิบายของ ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อปราฏการณ์ท้องฟ้าดำมืดเเถบกรุงเทพฯเเละปริมณฑลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา สร้างความฉงนใจเเก่ผู้คนไม่น้อย

ผศ.ดร.ธรณ์ ยังอธิบายถึงสาเหตุเเละตัวอย่างที่เห็นได้ชัดด้วยว่า “สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดจากความแปรปรวนของโลก หลังจากที่มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสะสมกันมานานและยังคงปล่อยต่อไป กลายเป็นภัยพิบัติที่จะสร้างผลกระทบสาหัส โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเปราะบางทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเห็นชัด ปากีสถาน เจอมหาอุทกภัย จากสภาพอากาศเช่นนี้ ไม่ใช่เพียงฝนตกหนัก 8 สัปดาห์รวด ปริมาณน้ำจากฟ้ามากกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเท่า ๆ ยังรวมถึงธารน้ำแข็งบนหิมาลัยที่ละลายแบบไม่เคยเกิดมาก่อน ปากีสถานเป็นประเทศที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลก (ไม่นับแถบขั้วโลก) น้ำจากยอดเขาไหลทะลักมารวมน้ำฝน เกิดเป็นอุทกภัยทำให้ผู้เสียชีวิตนับพัน คน และกว่า 33 ล้านคนเดือดร้อน แหล่งเกษตรเสียหายยับเยิน ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความสามารถประเทศที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินไม่ดี จะรับมือได้”

สำหรับประเทศไทย Global Climate Risk Index 2021 โดย Germanwatch จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก โดยพิจารณาจากผลกระทบที่ไทยได้รับสภาพภูมิอากาศสุดขั้วระหว่างปี 2543 – 2563

ผลที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เห็นได้ชัดมีอย่างน้อย 4 ประการ ได้เเก่ คลื่นความร้อน (heat wave) , ฝนตกรุนเเรงเเละน้ำท่วมหนัก (extreme rainfall and flood), ภัยเเล้งที่ยืดเยื้อ (droughts) เเละการเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น (wildfires)

ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเป็นปัญหาท้าทายร่วมสมัยที่นานาประเทศเเละองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกให้ความสนใจเเละร่วมกันหาเเนวทางจัดการ โดยที่ผ่านมามีความพยายามเเก้ไขที่ต้นตอของปัญหา อาทิ 

ในแง่การดำเนินการที่ผ่านมาไทยได้ริเริ่มนโยบายเเละยุทธศาสตร์ระดับภาครัฐที่สำคัญอย่างน้อยสามฉบับ ได้เเก่  แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593, แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. 2564-2573, แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ  

ท้ายที่สุดเเน่นอนว่าสภาพภูมิอากาศสุดขั้วจะยังคงมีความท้าทายเเละทวีความรุนเเรงขึ้นเช่นที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุ จึงน่าสนใจเเละน่าติดตามว่าเเผนหรือนโยบายเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเเละปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นต้นตอของการทำให้โลกร้อนทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค เเละระดับโลกจะขยับขับเคลื่อนได้สำเร็จเป็นรูปธรรมมากน้อยเเค่ไหน เเละจะช่วยให้โลกลดการเผชิญกับคลื่นความร้อน น้ำท่วม หรือภัยเเล้งได้หรือไม่ อย่างไร

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
รายงาน IPCC ฉบับใหม่เผยข้อมูลผลกระทบและความเสี่ยงจาก Climate Change ต่อปัญหาสุขภาพปัจจุบัน
เมื่อเท็กซัสกลายเป็นน้ำแข็งและไม่มีไฟฟ้าใช้ – คำเตือนว่าเรายังเตรียมพร้อมไม่พอสำหรับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
‘ภัยพิบัติจากน้ำ’ สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงมาทุกยุคสมัย และจะเกิดถี่ขึ้น – รุนแรงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาษาว่าด้วย COP26: 13 คีย์เวิร์ดใช้ทำความเข้าใจบทสนทนาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า
– (13.a) ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการบรรเทาที่ชัดเจนและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานและทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุน

เเหล่งที่มา: 
ภาพเมฆดำทะมึน เปลี่ยนกรุงเทพตอนเช้าให้เป็นเหมือนตอนกลางคืน (เฟซบุ๊ก: Thon Thamrongnawasawat) 
ภาษาว่าด้วย COP26: 13 คีย์เวิร์ดใช้ทำความเข้าใจบทสนทนาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG Move)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version