Site icon SDG Move

Sustainability Expo 2022 ความตื่นตัวของภาคเอกชน และบทเรียนสำหรับการจัดงานความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับองค์กรจากหลายภาคส่วน อาทิ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ธนาคารกรุงเทพ กระทรวงการต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน ‘Sustainability Expo 2022’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

งานดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ธีม “Good Balance, Better World” หรือ “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” โดยมีกิจกรรมแสดงผลงาน เวทีเสวนาหลากหลายเวที และมีการจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านความยั่งยืนทั้งสิ้น 7 โซน ได้แก่ 

  1. SEP Inspiration: โซนแบ่งปันข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP)  และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) 
  2. Better Living: โซนที่นำเสนอเรื่องราวเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พร้อมกับสะท้อนถึงผลกระทบต่อชุมชน
  3. Better Community: โซนที่นำเสนอความสำคัญของชุมชนในฐานะภาคส่วนหลักของการขับเคลื่อนความยั่งยืน
  4. Better Me: โซนที่สะท้อนความสำคัญของการมีชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการมีสุขภาพที่ดี อาหารที่ดี และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
  5. Food Festival: โซนจัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่พยายามเชื่อมโยงเข้ากับความยั่งยืน โดยเน้นไปที่อาหารปลอดสารพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  6. Sustainable Marketplace: โซนจัดแสดงสินค้าที่ใส่ใจความยั่งยืนจากร้านค้าชุมชนทั่วประเทศ
  7. Planet Kids: โซนสำหรับการเรียนรู้และจินตนาการถึงความยั่งยืนของเด็ก ๆ โดยจัดเป็นสนามเด็กเล่นและมีกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำ อาทิ การแยกขยะ การใส่ใจทรัพยากรทางทะเล 

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน อาทิ

Sustainability Expo 2022 นับเป็นมหกรรมที่นำเสนอความยั่งยืนที่ริเริ่มผลักดันจากภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย และสะท้อนความพยายามของผู้จัดงานที่ต้องการสร้างเกิดบทสนทนาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังเห็นได้จากการจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เชิญผู้คนภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน การศึกษาร่วมบรรยายแลกเปลี่ยน ทัศนะ และความรู้กว่า 100 คน ท่ามกลางการตอบรับเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของภาคธุรกิจ ภาคการศึกษาตลอดจนประชาชนที่ให้ความสนใจเยี่ยมชมงานนี้ค่อนข้างมากสะท้อนความตื่นตัว และตระหนักเห็นความสำคัญของสังคมที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันรูปแบบการจัดมหกรรมครั้งนี้ก็ทำให้เกิดข้อสังเกตที่หลากหลาย ตลอดระยะเวลา 7 วันของการจัดงาน มีผู้แสดงความเห็นต่อมหกรรมนี้ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น รูปแบบการจัดงานที่ค่อนข้างใหญ่โตใช้ทรัพยากรสูง เนื้อหาประเด็นการสนทนาที่ปรากฏบนเวทีย่อยที่บางประเด็นยังหยุดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระดับบุคคลกล่างถึงหรือขับดันไปสู่การมองปัญหาโครงสร้างค่อนข้างน้อย การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ในงาน  รวมถึงการขาดพื้นที่สำหรับภาคประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียที่มักได้รับผลกระทบจากการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง ทำให้มีเสียงสะท้อนว่ามหกรรมนี้อาจเป็นเพียงการจัดแสดงผลงาน มากกว่าพื้นที่ถกเถียง เติมเต็มความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างการพัฒนาที่สมดุลตามเป้าหมายของผู้จัดงาน

อย่างไรก็ดี การจัดงานเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนโดยตรงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับทุกวงการของไทย ทั้งยังมีความละเอียดอ่อนสูงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดงานจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูล เพื่อออกแบบงานโดยคำนึงถึงผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสียทุกขั้นตอนอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันผู้ที่ทำงานผลิตความรู้ เช่น ภาควิชาการ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชนคนธรรมดา จึงควรทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนให้ข้อมูล ช่วยชี้แนะ ค่อยเรียนรู้ ปรับปรุง พัฒนาร่วมกัน การพัฒนาที่สมดุล มีส่วนร่วมคำนึงถึงทุกคนจึงจะเกิดขึ้นได้จริง

●อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– บริษัทสัญชาติไทย 38 แห่ง ได้รับคัดเลือกติดกลุ่มดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ปี 2021
World Bank เผยปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทย ยังน่าห่วงเผชิญภาวะหยุดชะงัก – พร้อมชี้เศรษฐกิจหมุนเวียนคือหนึ่งในทางออก

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
– (4.7) สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.6) สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงวงจรการรายงานของบริษัทเหล่านั้น
– (12.8) สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา: 
Sustainability Expo 2022
Sustainability Expo 2022 เปิดโซนกิจกรรม 7 สุดปังในมหกรรมความยั่งยืนครั้งใหญ่ของไทย ครอบคลุมทั้งเรื่องชีวิต ธุรกิจ สังคม และโลกที่ดีกว่าเดิม (The Cloud)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version