Site icon SDG Move

ร่วมขับเคลื่อนนโยบายระบบการดูเเลสุขภาพจิต เมื่อผู้ป่วยจิตเวช (คือ) คนไร้บ้าน อะไรคือปัญหาและอุปสรรค ชวนค้นหาคำตอบงานวิจัยของ ‘ผศ. ดร.นิฤมน รัตนะรัต’

ชวนอ่านงานวิจัย “ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน” โดย ผศ. ดร.นิฤมน รัตนะรัต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนการเผยแพร่โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)

งานวิจัยดังกล่าว เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครไปสู่การปฏิบัติจริง เนื่องจากการสำรวจข้อมูลของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ในปี 2559 ของ สสส. พบว่า คนไร้บ้าน มากกว่าร้อยละ 50 มีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ มีที่มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ร้อยละ 28 ไม่มีบัตรประชาชน และอีกร้อยละ 22 มีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพ ทำให้ไม่ได้รับการดูแลให้บริการด้านสุขภาพตามที่พึงจะได้รับ

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมยิ่งขึ้น จึงต้องอาศัยการสนับสนุนเครือข่ายภาคีความร่วมมือ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการช่วยนำนโยบายระบบการดูแลมาขับเคลื่อนในการช่วยเหลือ บำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมผลักดันให้มีการพัฒนา เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายหลักงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ

จากผลการศึกษาการวิจัยของ ผศ. ดร.นิฤมน พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ หลายประการ อันเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบให้ระบบการช่วยเหลือดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านของในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ขาดประสิทธิภาพ อันสาเหตุมาจากขากระบบกลไกหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยไร้บ้านในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขจากทางภาครัฐ

ด้วยเหตุผลนี้ จึงต้องอาศัยการผลักดันของภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมในการดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยการดำเนินการอย่างครอบคลุมทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบนำเข้า ระบบรักษา และระบบจำหน่ายหรือส่งต่อ เพื่อส่งเสริมให้ระบบกลไกหรือมาตรการในการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ ผศ. ดร.นิฤมน ได้ระบุข้อเสนอแนะว่าในการ “ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน” ควรมีการดำเนินการ ดังนี้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จุดประสงค์ของงานวิจัย ฉบับนี้ มุ่งหวังว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านเหล่านี้ จะได้รับการคุ้มครองในการดูแลรักษา และได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูจากภาครัฐตามสิทธิของตนเองที่พึงจะได้รับ นำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่ที่ไม่ถูกกีดกันออกจากสังคม และมีสิทธิ์กลับออกไปใช้ชีวิตใหม่ภายในสังคมได้อีกครั้ง เฉกเช่นคนทั่วไป สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs ในระดับชาติและภูมิภาค (policy) ธีมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย 

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศที่เหมาะสม รวมถึงการคุมครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
– (10.3) สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องนี้

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version