Site icon SDG Move

พัฒนา “พื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชน” เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างไรให้สำเร็จ ชวนหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘ผศ. รณรงค์ จันใด’

ชวนอ่านงานวิจัย “การสังเคราะห์กลไกและรูปแบบพื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชนเพื่อสังคมผู้สูงอายุ” โดย ผศ. รณรงค์ จันใด คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานวิจัยดังกล่าวตั้งต้นขึ้นจากสถานการณ์ผู้สูงอายุของไทยในปัจจุบันที่กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2553-2583 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะพบผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของประชากรไทยทั้งหมด สถานการณ์เช่นนี้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง และที่สำคัญผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มต้องอาศัยอยู่คนเดียวสูงขึ้น 

เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงพัฒนา “พื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชน” (Community Laboratory) ขึ้นทดลองในพื้นที่ตำบลต้นแบบบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยและอนามัย สิ่งแวดล้อม จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่ ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา, ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์, ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, ต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม, ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง, ต.เหล่าหลวง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด, ต.กระสัง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์, ต.แคนน้อย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร, ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช, ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา และ ต.บาโงย อ.รามัน จ.ยะลา 

งานวิจัยข้างต้น จึงศึกษาขึ้นเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานตำบลต้นแบบบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มวัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสังเคราะห์รูปแบบและกลไกที่เหมาะสมในการสร้างพื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชน จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ

ผศ. รณรงค์ ดำเนินการศึกษาร่วมกับ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาควิชาการ คือ คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาครัฐ คือ กรมอนามัย และภาคประชาชน ประกอบด้วยผู้นำเป็นทางการ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำไม่เป็นทางการ คือ ประชาชนที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจากพื้นที่ตำบลบูรณาการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนกลุ่ม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

งานวิจัยข้างต้นได้ผลการศึกษาที่สำคัญ อาทิ 

นอกจากนี้ ผศ.รณรงค์ ยังได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการชุมชนและการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ ได้แก่

กล่าวโดยสรุป งานวิจัยของ ผศ. รณรงค์ ได้พยายามสะท้อนและชี้แนะว่าปัจจัยที่จะหนุนเนื่องให้การพัฒนา “พื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชน” สำเร็จได้ คือการผนึกกำลังอย่างมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วน อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือภาคชุมชน ที่จะต้องทำความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้พื้นที่ห้องปฏิบัติการชุมชนขับเคลื่อนเพื่อชุมชน โดยชุมชนอย่างยั่งยืน

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ ธีมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
– (10.3) สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องนี้

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version