Site icon SDG Move

ฉายภาพรวม ‘โรคฟันผุ’ ในเด็กปฐมวัย ของประเทศไทย อะไรคือกลยุทธ์ใน ‘การจัดการ’ เสริมการป้องกันสุขภาพช่องปากให้ครอบคลุมทุกระดับ

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่อาจละเลยได้ด้านสาธารณสุข ภาครัฐจำเป็นต้องให้ความดูแล เนื่องจากสร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและบั่นทอนมิให้เกิดสุขภาวะที่ดีของประชาชน โดยโรคในช่องปากที่พบเป็นจำนวนมาก คือ ‘โรคฟันผุ’ ซึ่งจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ปี 2560 พบว่า ปัญหาโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยสูงมาก ซึ่งเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ยร้อยละ 53 แม้ว่าที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ได้มีการกำหนดนโยบายและโครงการมากมาย เพื่อสนับสนุนการรักษาตั้งแต่นโยบายระดับต้นน้ำ คือ งดใส่น้ำตาลในนมสำหรับทารก จนถึงนโยบายระดับปลายน้ำ อาทิ การสนับสนุนและส่งเสริมการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ เป็นต้น เพื่อให้มีกลไกดูแลอย่างเป็นระบบในทุกระดับในการจัดการฟันผุอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยปัญหาข้างต้น รายงานวิจัยฉบับนี้ จึงมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการศึกษาโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (Early Childhood Caries : ECC) และแบ่งปันการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในประเทศไทย ผ่านการวิเคราะห์ในภาพรวม งานวิจัยเรื่อง “Strategic Management of Early Childhood Caries in Thailand: A Critical Overview”  โดย ผศ.ดร.ทพญ.ธัญญา สิทธิเสฏฐพงศ์ ผศ.ดร.ทพญ.ปริญดา ทัศณรงค์ และ รศ.ทพ.ประทีป พันธุมวิช คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ แม้มีความคุ้มครองด้านสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) ฟรีมากว่าสองทศวรรษ และมีการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral health) ของประชาชน แต่กลับพบว่ามีเด็กจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงการดูแลสุขภาพช่องปาก 

เช่นนั้นแล้ว เพื่อค้นหาว่า กลยุทธ์ใดที่จะช่วยจัดการโรคฟันผุ และมีแนวทางอย่างไรจะช่วยครอบคลุมการป้องกันโรคฟันผุในทุกระดับ ด้วยประเด็นดังกล่าว มีความสอดคล้องและเป็นองค์ความรู้ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ


ต้นทางของปัญหา ร่วมสำรวจสภาวะสุขภาพของ “โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย” ของประเทศไทย 

โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ปี 2560 พบว่า มีความชุกโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยสูงมาก โดยเฉลี่ยมีฟันผุอยู่ที่ 3 ซี่ ร้อยละ 53 ของเด็กอายุ 3 ปี ตามรายงาน ได้ระบุว่าโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในประเทศไทย เริ่มพัฒนาจากรอยโรคฟันผุในระยะเริ่มต้น (initial carious lesion) หรือรอยโรคด่างขาว (white spot lesion) จนถึงเกิดเป็นโพรงฟันผุ ซึ่งพบในเด็กอายุน้อยที่สุด คือ  12 เดือน เนื่องจากเมื่อเกิดโพรงฟันผุในระยะเริ่มแรก หากควบคุมได้ไม่ดี ฟันที่ผุก็จะขยายโพรงที่ใหญ่ขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เกิดหนองฝี (abscess formation) และเกี่ยวกับพยาธิวิทยาช่องปาก (oral pathology) ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม จะเห็นชัดเจนว่าโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของเด็กอีกด้วย ซึ่งมีปัจจัยสำคัญอาทิเรื่อง

จนถึงการค้นพบความจริงว่าประชากรในชนบท มองว่าโรคฟันผุในเด็กเป็นเรื่องปกติและถูกละเลย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังเกิดปัญหาฟันผุเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีเครือข่ายทันตสาธารณสุข และทันตแพทย์อยู่ทั่วทุกจังหวัด

ดังนั้น ปัจจุบันของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) ในประเทศไทย จึงเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้าม แต่แท้จริงแล้วเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยทันที 


ฉายภาพรวมจาก “การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ” ของประเทศไทย

ภาพ : การเปรียบเทียบการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศทุก 5 ปี

การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศทุก 5 ปี เมื่อเทียบกับการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศปี 2560 กับครั้งก่อน ปี 2555 โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) หรือ ฟันผุในฟันน้ำนมค่อนข้างคงตัว และมีตัวเลขลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (ตามภาพ) ซึ่งอาจเกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ รวมถึงระบบการรักษาพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ความชุกของฟันผุโดยรวมของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในประเทศไทย ก็ยังคงสูงอย่างไม่อาจยอมรับได้เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล 


ข้อค้นพบจาก “ระบบการบริการสุขภาพในประเทศไทย” (Health Care Delivery Systems)

ประเทศไทย มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Universal health coverage (UHC) เป็นหนึ่งในการสร้างความมั่นใจว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น ตั้งแต่ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลแบบประคับประคองตลอดอายุขัย การดูแลสุขภาพช่องปากของคนไทย ได้รับการดูโดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่ให้บริการโดยทันตแพทย์และนักบำบัดโรคทางทันตกรรม หรือ (dental hygienist) ที่ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ 899 แห่ง และศูนย์สุขภาพเบื้องต้นในตำบล 9,769 แห่ง ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจการใช้บริการทันตกรรมในปี 2558 พบว่าผู้ป่วยทันตกรรมไทยประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 46.2 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน 347 แห่ง และคลินิกทันตกรรมเอกชน 4,244 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเขตเมือง แม้ว่าการใช้บริการทันตกรรมในเขตเมืองจะสูงขึ้น แต่กลับยังพบความต้องการการรักษาทางทันตกรรมส่วนใหญ่ในพื้นที่ชนบท นั่นหมายความว่า มีความแตกต่างด้านการดูสุขภาพช่องปากระหว่างชาวเมืองและชาวชนบทในประเทศ

ปัญหาที่พบจากการการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศปี 2560 สรุปได้ว่า

จากข้อมูลปัญหาระบบการรักษาพยาบาลของไทยที่เกิดขึ้นนั้น นับเป็นปัญหาที่ขัดขวางการเข้าถึงการรักษาทางทันตกรรมสำหรับเด็กกลุ่มอายุน้อย ดังนั้น กลยุทธ์การส่งเสริม การป้องกัน และการจัดการสุขภาพช่องปากของก่อนวัยเรียนในประเทศไทย จึงควรครอบคลุมทั้งครอบครัวและชุมชน นอกเหนือจากมาตรการของรัฐ 

| บทบาทของครอบครัว

จากการข้อมูลข้างต้น นำมาสู่การดำเนินงานของทางการไทย ในการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพช่องปากในครอบครัวผ่านการศึกษาของผู้ปกครอง ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการแปรงฟันตั้งแต่แรก สนับสนุนให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุ อันเป็นวิธีการดูแลที่ทำได้ตั้งแต่ในบ้านและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กที่

| บทบาทของชุมชน

นำมาสู่การตั้งคำถามว่า อะไรคือกลยุทธ์ในการปรับปรุงสุขภาพช่องปาก สุขภาพโดยทั่วไป และคุณภาพชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียนทั่วประเทศ


กลยุทธ์ใน “การป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย” (Early Childhood Caries: ECC) อย่างเป็นระบบในทุกระดับ

ตามคำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) เกี่ยวกับการแทรกแซงด้านสาธารณสุขกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) ตามคำแนะนำสำหรับการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการควรอยู่บนพื้นฐานของการป้องกันของชุมชน 3 ระดับ ได้แก่ การป้องกันระดับปฐมภูมิ (primary) ระดับทุติยภูมิ (secondary) และระดับตติยภูมิ (tertiary) สามารถสรุป ได้ดังนี้ 


ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การจัดการ เมื่อ “สุขภาพช่องปาก” ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของ “ฟัน” เท่านั้น

ปลายทางสุดท้ายจากการศึกษางานวิจัย ผศ.ดร.ทพญ.ธัญญา สิทธิเสฏฐพงศ์ ผศ.ดร.ทพญ.ปริญดา ทัศณรงค์ และ รศ.ทพ.ประทีป พันธุมวิช คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อภิปรายเสนอแนะประเด็นทิ้งทายน่าสนใจหลายประการ อาทิ

กล่าวโดยสรุป กลยุทธ์การจัดการโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) ภาพรวมของประเทศไทย ได้มีการใช้หลักการประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ามาดูแล ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยควบคุมโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของเด็กอีกด้วย ซึ่งปัญหารคฟันผุในเด็กปฐมวัย อาจเป็นปัญหาที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็ก จึงทำให้ถูกละเลยและขาดการดูแลมาตั้งแต่ต้นได้โดยง่าย เมื่อพิจารณาอีกครั้งปัญหาก็ได้ขยายตัวอย่างเป็นวงกว้างแล้ว ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ ของ ผศ.ดร.ทพญ.ธัญญา สิทธิเสฏฐพงศ์ ผศ.ดร.ทพญ.ปริญดา ทัศณรงค์ และ รศ.ทพ.ประทีป พันธุมวิช คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาช่วยคลี่คลายประเด็นทางนโยบายสาธารณะที่หลายคนอาจมองข้าม เพราะสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัว ปัญหาสุขภาพช่องปาก (oral health) จึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องของ “ฟัน” เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กโดยรวมอีกด้วย

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs ในระดับชาติและภูมิภาค (policy) ธีมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
– (3.d) เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
– (4.2) สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ ภายในปี 2573 เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา

ข้อมูลงานวิจัย:  Sitthisettapong, T., Tasanarong, P., Phantumvanit, P.  (2021). Strategic Management of Early Childhood Caries in Thailand: A Critical Overview, Frontiers in Public Health, 9 (664541). 1-7. DOI: 10.3389/fpubh.2021.664541
ชื่อผู้วิจัย – สังกัด: ผศ.ดร.ทพญ.ธัญญา สิทธิเสฏฐพงศ์ ผศ.ดร.ทพญ.ปริญดา ทัศณรงค์ และ รศ.ทพ.ประทีป พันธุมวิช คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Research Brief แนะนำงานวิจัยเชิงลึกของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version