Site icon SDG Move

ชวนอ่านรายงานความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนของฟุตบอลโลก 2022: จากวิสัยทัศน์เปิดประตูการพัฒนาถึงการผลักดัน 5 เสาหลักเพื่อความยั่งยืน

เดินทางมาถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายแล้วสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ระหว่างรอลุ้นว่าประเทศใดจะได้ครองแชมป์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการลูกหนังในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า SDG News ฉบับนี้ ชวนอ่านรายงานความก้าวหน้าครั้งแรกเกี่ยวกับความยั่งยืนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (FIFA World Cup Qatar 2022™ Sustainability Progress Report) ซึ่งระบุถึงความเกี่ยวข้องของการจัดการแข่งขันกับเเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลายเป้าหมาย 

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Football Association: FIFA) หรือ ฟีฟ่า เปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์ว่าการจัดฟุตบอลโลก 2022 มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญ คือ การใช้พลังของฟุตบอลเพื่อเปิดประตูสู่โลกแห่งประสบการณ์ที่น่าทึ่ง ผ่านการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะของกาตาร์ที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วมุมโลกในการเฉลิมฉลองฟุตบอลร่วมกัน ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโตและการพัฒนา 

เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวและสร้างมาตรฐานใหม่ในเรื่องความยั่งยืนให้แก่การแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ หุ้นส่วนผู้มีส่วนร่วมจัดการแข่งขันจึงได้ร่วมกำหนดข้อผูกพันด้านความยั่งยืนที่คำนึงถึง 5 เป้าหมายหรือที่เรียกว่า 5 เสาหลัก ได้แก่ มนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล  ซึ่งสอดคล้องกับกรอบความยั่งยืนที่หวังนำมาใช้กับการจัดงานอย่างครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมการแข่งขัน การดำเนินการแข่งขัน และกิจกรรมหลังการแข่งขัน

สำหรับรายงานความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนของฟุตบอลโลก 2022 ระบุถึงการขับเคลื่อน 5 เสาหลักดังกล่าว โดยมีเนื้อหาสำคัญของแต่ละเสาหลัก ดังนี้

ความใส่ใจต่อประเด็นสำคัญทั้ง 5 เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการลูกหนังและวงการกีฬาโลก ซึ่งหากผลปรากฏตามรายงานความก้าวหน้าข้างต้นระบุก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีสื่อสารมวลชนในหลายประเทศกลับให้ข้อมูลที่อาจขัดแย้งกับความพยายามดำเนินการของฟีฟ่า โดยเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชนของแรงงานที่ถูกหยิบมาพูดถึงอย่างต่อเนื่องว่ามีการละเมิดและเลือกปฏิบัติ จึงน่าจับตามองและนำมาถอดบทเรียนเพื่อสร้างมาตรฐานการกีฬากับความยั่งยืนให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
Human Rights Watch เผยแพร่คู่มือสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้สื่อข่าวในมหกรรมฟุตบอลโลก 2022
ESCAP เผยเเพร่รายงานฉบับใหม่ ชี้เเรงงานในเอเชีย-เเปซิฟิกกว่า 2.1 พันล้านคน เข้าไม่ถึงงานที่มีคุณค่าเเละการคุ้มครองทางสังคม
Voice of SDG Move | 01 พัฒนาการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: ประวัติศาสตร์ของรากฐานแห่งความยั่งยืน
– ILO รับข้อตกลงแรงงานระดับโลกฉบับแรก เสริมคุณค่าด้านสภาพการทำงานและสิทธิ ให้ครอบคลุมนักฟุตบอลอาชีพทั้งชายและหญิง

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะไม่เชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนโดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี 2573
– (8.7) ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ
– (8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
– (8.9) ออกแบบและใช้นโยบายที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่จะสร้างงาน และส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี 2573
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม เเละอุตสาหกรรม
– (9.4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี 2573
#SDG11 เมืองเเละชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรในเขตเมือง รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดการของเสียของเทศบาล และการจัดการของเสียอื่น ๆ ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.2) ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
– (16.10) สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
– (16.8) ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันของ
ธรรมาภิบาลระดับโลก

แหล่งที่มา: FIFA WORLD CUP 2022™ SUSTAINABILITY PROGRESS REPORT (FIFA)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version