Site icon SDG Move

พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ


โครงการจัดทําแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน (Area Need) แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และยังแบ่งพื้นที่ของภาคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มพื้นที่ย่อยสำหรับการศึกษาทั้งสิ้น 18 กลุ่มย่อย โดยยึดการแบ่งกลุ่มตามที่ตั้งของจังหวัดในเขตติดต่อกันหรือต่อเนื่องกันเป็นหลัก  จากนั้นพิจารณาความสอดคล้องหรือเกื้อหนุนกันของประเด็นยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ความได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมไปถึงการแก้ไขประเด็นสำคัญ เร่งด่วนที่จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคเหนือแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มจังหวัด ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ดังนี้

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
ภาคเหนือตอนบน (1) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
ภาคเหนือตอนบน (2) จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
ภาคเหนือตอนล่าง (1) จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคเหนือตอนล่าง (2) จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี

1. ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนของภาคเหนือ

1.1 ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนในภาพรวมภาคเหนือ

จากการผลการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีปัญหาร่วมกัน แบ่งได้ออกเป็น 3  มิติ ดังนี้

1.2 ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนของแต่ละกลุ่มจังหวัด

จากการศึกษาปัญหาภาพรวมในพื้นที่ภาคเหนือ นำมาสู่ข้อค้นพบประเด็นปัญหาที่เจาะลึกของแต่ละกลุ่มจังหวัดภายในพื้นที่ภาคเหนือ ตามการแบ่งข้างต้น พบว่า

ประเด็นร่วมกันทุกกลุ่มจังหวัด 

ทุกกลุ่มจังหวัดของภาคเหนือตอนบนและตอนล่างพบปัญหาเหมือนกันคือมิติเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ [SDG8, SDG11]

ประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่แตกต่างกัน

ภาคเหนือตอนบน

ภาคเหนือตอนล่าง

2. ความต้องการของพื้นที่ 

2.1 ความต้องการพื้นที่ในภาพรวมภาคเหนือ

2.2 ความต้องการรายกลุ่มจังหวัด

จาการศึกษาประเด็นความต้องการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (1) และ (2) มีความต้องการสอดคล้องกันทุกมิติ 

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากการศึกษาปัญหาและความต้องการข้างต้น นำมาสู่การนำเสนอประเด็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการและพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย

1) ควรมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้ชุมชนออกแบบเศรษฐกิจ และมีการจัดการศึกษาเรียนรู้ ทรัพยากร และปัญหาหรือพัฒนาชุมชนในแต่ละพื้นที่ ได้อย่างสอดคล้องตามบริบท

2) ปรับเปลี่ยนกฎหมายหรือระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนามิติต่าง ๆ ของชุมชน

3) การปรับโครงสร้างการดำเนินงานโดยการสร้างกลไกในชุมชนท้องถิ่น ให้มีบทบาทหลักในการพัฒนาที่มีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนน

4) พัฒนาคนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้มีขีดความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วม ตลอดจนการพัฒนาแผนงานและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาสังคม และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

5) การสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และวิถีของชุมชนเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของชุมชนสู่การจัดการและพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากร และอื่น ๆ

คณะนักวิจัย: ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.เกศสุดา สิทธิสันติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดร.โอฬาร อ่องฬะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และคณะ

บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1  และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566 

แพรวพรรณ ศิริเลิศ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
อติรุจ ดือเระ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Author

Exit mobile version