Site icon SDG Move

Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการจัดทําแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน (Area Need) แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และยังแบ่งพื้นที่ของภาคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มพื้นที่ย่อยสำหรับการศึกษาทั้งสิ้น 18 กลุ่มย่อย โดยยึดการแบ่งกลุ่มตามที่ตั้งของจังหวัดในเขตติดต่อกันหรือต่อเนื่องกันเป็นหลัก  จากนั้นพิจารณาความสอดคล้องหรือเกื้อหนุนกันของประเด็นยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ความได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมไปถึงการแก้ไขประเด็นสำคัญ เร่งด่วนที่จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 5 กลุ่มย่อย ได้แก่:
1) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (1) : เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลําภู อุดรธานี
2) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (2) : นครพนม มุกดาหาร สกลนคร
3) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง : กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
4) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (1) : นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์
5) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (2) : ยโสธร ศรีสะเกษ อํานาจเจริญ อุบลราชธานี

1. ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนในภาพรวม
จากการผลการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาร่วมกัน แบ่งได้ออกเป็น 3  มิติ ดังนี้


2. ความต้องการของพื้นที่

ความต้องการพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 กลุ่มย่อยมีดังนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (1)

ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 7 ประเด็น ประกอบด้วย 
1) ปัญหาความเหลื่อมล้ำ [SDG 10]
2) โอกาสทางเศรษฐกิจจากการค้าชายแดน [SDG8]
3) ปัญหาการ ขยายตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระดับต่ำ [SDG8]
4) การจัดการขยะและของเสีย [SDG11, SDG12]
5) ปัญหาความยากจน [SDG1]

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ 
1) การพัฒนาเทคโนโลยีและการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับการพัฒนาและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และ  [SDG9, SDG4]
2) การกระจายอำนาจและการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ [SDG16]

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2

ต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 7 ประเด็น ประกอบด้วย 
1) ปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุข [SDG 3]
2) ปัญหาความยากจน [SDG1]
3) ปัญหาด้านภัยแล้งและคุณภาพของแหล่งน้ำในพื้นที่ [SDG6, SDG13]
4) เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการขยายตัวของเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร   [SDG9]
5) ปัญหาความเหลื่อมล้ำ [SDG10]

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ 
1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ และ [SDG8, SDG9]
2) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ทางการเกษตรและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร [SDG2]

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 3 ประเด็น ประกอบด้วย 
1) ปัญหาความยากจน และปัญหาความเหลื่อมล้ำ [SDG1, SDG10]
2) การจัดการทรัพยากรน้ำทั้งด้านน้ำขาด หรือภัยแล้งรวมไปถึงด้านน้ำเกิน หรืออุทกภัย [SDG 6,SDG 11, SDG13]

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร [SDG2, SDG13]

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 2 ประเด็น ประกอบด้วย 
1) การแก้ปัญหาความ ยากจนและความเหลื่อมล้ำและเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตร [SDG1, SDG9, SDG10]
เเละความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ การยกระดับมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว [SDG8, SDG12]

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 6 ประเด็น ประกอบด้วย 
1) การค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดนเป็นโอกาสที่สำคัญของการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด  [SDG8]
2) ปัญหาความยากจน [SDG1]
3) ปัญหาความเหลื่อมล้ำการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับต่ำ [SDG10, SDG8] และ 
4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมเกษตร [SDG2, SDG9]

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ
1) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 [SDG3]
2) การเปลี่ยนแปลงนิเวศอันมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาค [SDG13, SDG15]

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากความต้องการพัฒนาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือข้างต้น คณะทำงานของโครงการที่รับผิดชอบศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่ริเริ่มดำเนินการไว้หลายประการ อาทิ

คณะวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ดร.อนิรุทธิ์ ผงคลี มหาวิทยาลัยนครพนม, ผศ.ดร.กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, อาจารย์ ทม เกตุวงศา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ

บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
– Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1  และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566

อติรุจ ดือเระ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Author

Exit mobile version