Site icon SDG Move

พัฒนา ‘สภาวัฒนธรรม’ อย่างไร ให้ขับเคลื่อนด้วยพลังการมีส่วนร่วมและตอบโจทย์ท้องถิ่น ชวนหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘ผศ.รณรงค์ จันใด’

ชวนอ่านงานวิจัย “การพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วม ของเครือข่ายในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553” โดย ผศ.รณรงค์ จันใด คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 

ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงถือเป็นโจทย์ท้าทายในการทําให้ประชาชนเห็นความสําคัญและเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการขับเคลื่อนการดําเนินงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นตนเองให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมในแต่ละระดับ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายการดําเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ในลักษณะกระจายอํานาจทางวัฒนธรรม และนำมาสู่การริเริ่มโครงการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553  

เพื่อให้ส่งเสริมการพัฒนาสภาวัฒนธรรมต้นแบบดังกล่าว ผศ.รณรงค์ จึงดำเนินการวิจัยข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์โดยสรุป 3 ประการ คือ 

  1. สร้างตัวอย่างสภาวัฒนธรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายและการนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัด รวมทั้งการขยายผลไปสู่จังหวัดใกล้เคียง 
  2. จัดทำหลักสูตรการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยนำหลักสูตรการพัฒนาดังกล่าวไปทดลองใช้ในพื้นที่นำร่อง 8 จังหวัด และประเมินการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม 
  3. ประมวลองค์ความรู้จากการศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 กับสภาหอการค้าตามพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 และปัญหา อุปสรรค ของการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็งและบริหารจัดการตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 

จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผศ.รณรงค์ ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณ โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการเก็บข้อมูล 3 วิธี ได้แก่

ผลการศึกษาที่สำคัญจากงานวิจัยข้างต้น ได้แก่ 

นอกจากนี้ ผศ.รณรงค์ ยังได้เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนงานของสภาวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

กล่าวโดยสรุป งานวิจัยของ ผศ.รณรงค์ ได้ศึกษา ค้นพบ และเสนอแนวทางการพัฒนาสภาวัฒนธรรมจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำสู่การทดลองปฏิบัติแลปรับใช้ได้ในระดับพื้นที่ และด้วยการใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่หลากหลายจึงส่งเสริมให้งานวิจัยดังกล่าวครอบคลุมประเด็นสำคัญและผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลาย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับความพยายามกระจายการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมขึ้นด้วยเช่นกัน

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ ธีมหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและกลไกการขับเคลื่อน

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version