โครงการจัดทําแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน (Area Need) แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และยังแบ่งพื้นที่ของภาคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มพื้นที่ย่อยสำหรับการศึกษาทั้งสิ้น 18 กลุ่มย่อย โดยยึดการแบ่งกลุ่มตามที่ตั้งของจังหวัดในเขตติดต่อกันหรือต่อเนื่องกันเป็นหลัก จากนั้นพิจารณาความสอดคล้องหรือเกื้อหนุนกันของประเด็นยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ความได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมไปถึงการแก้ไขประเด็นสำคัญ เร่งด่วนที่จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
1) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 : ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
2) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 : จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
1. ความต้องการระดับภาคตะวันออกในภาพรวม
แบ่งเป็น 3 มิติ ดังนี้
- มิติสังคม ประกอบด้วย 1) คดีอาชญากรรม 2) ปัญหาการมีงานที่ดีและกำลังแรงงานขาดทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ 3) เด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี 4) ความยากจน 5) การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุทางถนน 6) การขาดรายได้ รายได้ของเกษตรกรและผู้ผลิต อาหารรายเล็กลดลง และการเข้าถึงทรัพยากรปัจจัยการผลิตและทางเศรษฐกิจ 7) การเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็ง) 8) ความรุนแรงในครอบครัว 9) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ O-NET มีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และ 10) อัตราการตายของมารดาจากการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น
[SDG1, SDG2, SDG3, SDG4, SDG8, SDG16]
- มิติเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) หนี้สินครัวเรือน 2) ค่าครองชีพสวนทางกับค่าจ้าง 3) ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น 4) เศรษฐกิจชะลอตัว 5) การว่างงานของแรงงาน 6) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 7) ปัญหาการเข้าสู่สังคมเมือง 8) ปัญหาการย้ายฐานการผลิต อุตสาหกรรม 9) แรงงานในภาคอุตสาหกรรมขาดความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ
[SDG8, SDG9, SDG10, SDG11]
- มิติสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1) ภัยแล้ง 2) ปัญหาปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม 3) พื้นที่เกิดภัยแล้งและอุทกภัยเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4) ป่าชายเลนที่กำลังสูญหาย 5) พื้นที่การปลูกข้าวนาปรังกระทบวิกฤตภัยแล้ง 6) ปัญหาขยะทะเล 7) การขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 8) ภาวะน้ำมันรั่วไหลในทะเล 9) การนำขยะกลับมาใช้ซ้ำอยู่ในระดับต่ำ และ 10) ปัญหาการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
[SDG2, SDG6, SDG7, SDG11, SDG12, SDG13, SDG14]
2. ความต้องการของพื้นที่ภาคตะวันออก 1
ข้อมูลของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ซึ่งต้องการการพัฒนาในประเด็นดังนี้
1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว [SDG16]
2) การเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงและมะเร็ง [SDG3]
3) การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุทางถนน [SDG3]
4) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ [SDG10]
5) ค่าครองชีพสวนทางกับค่าจ้าง [SDG8]
6) ปัญหาการปรับตัวลงของความเชื่อมั่น SMEs [SDG8]
7) ปัญหาปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม [SDG12]
8) ภัยแล้งในภาคตะวันออก การขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน [SDG6, SDG 11, SDG13]
9) ปัญหาขยะในทะเล [SDG 14]
**เนื่องจากข้อจำกัดด้านข้อมูลระหว่างการวิจัยจึงไม่มีความต้องการเชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ทั้งนี้อาจพิจารณาได้จากความต้องการระดับภาคในภาพรวม
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
จากความต้องการพัฒนาของภาคตะวันออกข้างต้น คณะทำงานของโครงการที่รับผิดชอบศึกษาภาคตะวันออก ได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การริเริ่มดำเนินการ ดังนี้
- การส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะสามารถยกระดับของสังคม
- การส่งเสริมอุตสาหกรรมสะอาด หุ่นยนต์
- การส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า พลังงานชีวภาพ และนวัตกรรมพลังงานทดแทน
- การสนับสนุนนวัตกรรมการจัดการขยะ
- การมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการยกระดับการปกป้องและดูแลทรัพย์สินด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสารสนเทศ
- การสนับสนุนด้านนวัตกรรมเครื่องจักรหุ่นยนต์ในสถานศึกษาให้มีความเข้มข้นและจริงจัง
- การนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในด้านการศึกษา
- การจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ (knowledge broker) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล
คณะวิจัยภาคตะวันออก: รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา, ผศ.ดร.พิชณสิณี อริยธนกตวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และคณะ
● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need
– Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
– Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1 และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566
อติรุจ ดือเระ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ
Last Updated on ธันวาคม 27, 2022