พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคกลาง

โครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน (Area Need) แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และยังแบ่งพื้นที่ของภาคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มพื้นที่ย่อยสำหรับการศึกษาทั้งสิ้น 18 กลุ่มย่อย โดยยึดการแบ่งกลุ่มตามที่ตั้งของจังหวัดในเขตติดต่อกันหรือต่อเนื่องกันเป็นหลัก จากนั้นพิจารณาความสอดคล้องหรือเกื้อหนุนกันของประเด็นยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ความได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมไปถึงการแก้ไขประเด็นสำคัญ เร่งด่วนที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด

ภาคกลาง

ภาคกลางแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่:

  1. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน : ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง
  2. กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล : นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ
  3. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (1) : กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี
  4. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (2) : ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร

**กรุงเทพมหานคร ไม่รวมอยู่ในการศึกษาของโครงการวิจัยนี้

1. ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนของภาคกลาง

ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนในภาพรวมภาคกลาง

จากการผลการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าในพื้นที่ภาคกลางมีปัญหาร่วมกัน แบ่งได้ออกเป็น 3  มิติ ดังนี้

  • มิติสังคม คือ ประกอบด้วย 1) การก่ออาชญากรรมและยาเสพติด 2) โรคอุบัติใหม่ 3) ความยากจน 4) ธรรมาภิบาลในการบริหารราชการ 5) ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา 6) การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ 7) ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร 8) ความปลอดภัยและอุบัติเหตุทางถนน 9) ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน และ 10) การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
  • มิติเศรษฐกิจ คือ ประกอบด้วย 1) ความถดถอย/หดตัวของภาคการท่องเที่ยว 2) ภาระหนี้สินของครัวเรือน 3) เศรษฐกิจชะลอตัว/หดตัว 4) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 5) การเข้า (ไม่) ถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 6) การถดถอยของภาคเกษตร 7) การชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ 8) การว่างงานและการทำงานต่ำระดับ 9) การส่งเสริมสหกรณ์ดิจิตอลหรือสหกรณ์อัจฉริยะ (Smart Cooperative) และ 10) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เติบโตช้า
  • มิติสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1) มลพิษทางอากาศ 2) การใช้สารเคมีและเผาในแปลงเกษตร 3) ขาดการ มีส่วนร่วมจัดทำผังเมือง 4) ทรัพยากรชายฝั่งและคุณภาพน้ำทะเล 5) ปัญหาคุณภาพน้ำจืด 6) เพิ่มพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเมือง 7) การจัดการขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ 8) ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติ 9) น้ำทะเลหนุนสูงในช่วงฤดูแล้ง และ 10) เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และป่าเศรษฐกิจ

2. ความต้องการของพื้นที่

ความต้องการพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดของภาคกลาง 4 กลุ่มย่อยมีดังนี้

ประเด็นความต้องการร่วมกันของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน และ ปริมณฑล 6 ประเด็น ประกอบด้วย

  1. โรคอุบัติใหม่ [SDG3]
  2. การก่ออาชญากรรมและยาเสพติด [SDG3, SDG16]
  3. ธรรมาภิบาลในการบริหารราชการ [SDG16]
  4. ความถดถอย/หดตัวของภาคการท่องเที่ยว [SDG8]
  5. มลพิษทางอากาศ [SDG3, SDG 11]
  6. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ [SDG8, SDG 10]

ประเด็นความต้องการที่แตกต่างกัน

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

ประกอบด้วย 1) การใช้สารเคมีและเผาในแปลงเกษตร [SDG2, SDG11] 2) ปัญหาความยากจน [SDG1] 3) เศรษฐกิจชะลอตัว/หดตัว [SDG8] และ 4) ภาระหนี้สินของครัวเรือน [SDG1]

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค คือ 

  1. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงสุขภาพ [SDG9, SDG3]
  2. การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน [SDG12]
  3. การอนุรักษ์พื้นที่วัฒนธรรมควบคู่ไปกับการขยายตัวการท่องเที่ยว [SDG8, SDG12]
  4. ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ ส่งผลต่อปัญหาธรรมาภิบาล [SDG16]
  5. ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง [SDG6, SDG11]
  6. ปัญหาน้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม ชุมชน และการเกษตร [SDG 6, SDG2]
  7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ตามระบบนิเวศลุ่มน้ำ [SDG6, SDG15]
  8. การมีส่วนร่วมในการจัดทำผังเมืองอย่างทั่วถึง [SDG11]

กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล

ประกอบด้วย 1) ความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษา 2) ความรุนแรงในครอบครัว 3) ภาระหนี้สินของครัวเรือน  และ 4) ขาดการมีส่วนร่วมจัดทำผังเมือง 

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค 12 ประเด็น ประกอบด้วย

  1. การลงทุนทางสังคมส่งผลต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต [SDG1, SDG8, SDG10]
  2. การลงทุนด้านการพัฒนาเมือง ผังเมือง และระบบขนส่งสาธารณะ ให้เหมาะสม [SDG11]
    • (2.ก)การมีงานทำในพื้นที่ ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง 
    • (2.ข) การมีที่อยู่อาศัย ที่มีราคาเข้าถึงได้ 
    • (2.ค) การมีขนส่งสาธารณะที่สะดวก และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง
  3. แก้ปัญหาพนันออนไลน์ในกลุ่มผู้ใหญ่และเยาวชน [SDG 16]
  4. พัฒนาระบบการศึกษาและเน้นการเรียนสายอาชีพมากขึ้น [SDG4]
  5. แก้ไขความรุนแรงในครอบครัวจากลดปัญหาชายเป็นใหญ่ (patriarchy) [SDG5, SDG16]
  6. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่กลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนพิการ ให้มีที่อยู่อาศัยเหมาะสม [SDG1, SDG10, SDG11] 
  7. ปัญหาน้ำท่วม น้ำเน่าเสียในแม่น้ำและลำคลอง  [SDG6, SDG 11] 
  8. ปัญหาการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน [SDG6, SDG14] 
  9. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ [SDG13] 
  10. ปัญหาขยะชุมชนเมืองและขยะติดเชื้อ [SDG11,SDG12] 
  11. ขาดธรรมาภิบาลและการบูรณาการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม [SDG13, SDG15, SDG16]
  12. ช่องว่างความรู้และการมีส่วนร่วมจัดทำผังเมือง [SDG11] 

ประเด็นความต้องการร่วมกันของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (1) และ (2)  5 ประเด็น ประกอบด้วย

  1. ความถดถอย/หดตัวของภาคการท่องเที่ยว [SDG8, SDG12]
  2. ภาระหนี้สินของครัวเรือน [SDG1]
  3. เศรษฐกิจชะลอตัว/หดตัว [SDG8]
  4. ทรัพยากรชายฝั่งและคุณภาพน้ำทะเล [SDG14] 
  5. โรคอุบัติใหม่ [SDG3]

ประเด็นความต้องการที่แตกต่างกัน

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (1)

ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมสหกรณ์ดิจิตอลหรือสหกรณ์อัจฉริยะแบบครบวงจร 2) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 3) การเข้า (ไม่) ถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 4) การก่ออาชญากรรมและยาเสพติด และ 5) การชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ 

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค 8 ประเด็น ประกอบด้วย

  1. พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจท้องถิ่น พร้อมรองรับสังคมสูงวัย [SDG8]
  2. พัฒนาธุรกิจ SMEs รุ่นใหม่ [SDG8]
  3. พัฒนาการศึกษาทางเลือกให้เพิ่มขึ้นและมีการยอมรับ [SDG4]
  4. บริหารจัดการภัยพิบัติ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง [SDG6, SDG11]
  5. ปัญหาน้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม ชุมชน และการเกษตร [SDG6]
  6. จัดการขยะแบบครบวงจร โดยประชาชนมีส่วนร่วม  [SDG11]
  7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  [SDG15, SDG16, SDG17]
  8. กระบวนการการจัดทำผังเมืองจากข้างล่างขึ้นข้างบน ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำผังเมือง [SDG11]

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (2)

ประกอบด้วย 1) การก่ออาชญากรรมและยาเสพติด 2) การใช้สารเคมีและการเผาในแปลงเกษตร 3) ธรรมาภิบาลในการบริหารราชการ 4) ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และ 5) ขาดการมีส่วนร่วมจัดทำผังเมือง 

ความต้องการเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับระดับภาค 13 ประเด็น ประกอบด้วย

  1. แก้ไขการขาดแคลนแรงงาน บริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นธรรม [SDG8, SDG10]
  2. พัฒนาเศรษฐกิจชายแดนไทย-เมียนมาร์ แบบบูรณาการทุกมิติ [SDG8, SDG17]
  3. การเข้าถึงทรัพยากรวัตถุดิบ การส่งสินค้าข้ามคาบสมุทร [SDG8, SDG9]
  4. การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจท้องถิ่น ภูมิภาค [SDG8, SDG12]
  5. สื่อสารและสร้างความรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) ผ่านสื่อโซเชียล และการปฏิรูปสื่อ [SDG4]
  6. รับรองสิทธิในทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์ [SDG11,SDG15]
  7. การบริหารจัดการภัยพิบัติปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง [SDG6, SDG11]
  8. ปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำ ลำคลอง และชายฝั่งทะเล จากอุตสาหกรรม ชุมชน การท่องเที่ยว และการเกษตร [SDG6,SDG14,SDG15]
  9. ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง [SDG14]
  10. จัดการขยะแบบครบวงจรและให้ประชาชนมีส่วนร่วม [SDG11,SDG12] 
  11. ขาดธรรมาภิบาลและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม [SDG16]
  12. การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้ น้ำ และทะเล) [SDG14,SDG15, SDG16, SDG17]
  13. การจัดทำผังเมืองให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ  [SDG11]

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากความต้องการพัฒนาของภาคกลางข้างต้น คณะทำงานได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่ริเริ่มดำเนินการของภาคกลางไว้หลายประการ อาทิ

  1. พัฒนาระบบ big data เพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมและการตัดสินใจของเกษตรกร ประชาชนแม่นยำยิ่งขึ้น
  2. วิจัยปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนและเกษตรกร ให้เข้าใจถึงประสิทธิผลทางเลือกที่เหมาะสม ตามโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน 
  3. การสร้าง/ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมให้เหมาะสม เพื่อลดอาชญากรรมและยาเสพติด
  4. เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์วิกฤติของชุมชน จากภัยพิบัติ และการระบาดของโรคติดต่อ
  5. พัฒนาห่วงโซ่อุปทาน การนำเศษของเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ
  6. บริหารจัดการปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสียในเชิงพื้นที่ แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  7. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังเมืองอย่างทั่วถึง 
  8. ควรมีการสร้างเครือข่ายเชิงประเด็น (thematic network)
    • (ก) เน้นการ “สร้างเสริมระบบเศรษฐกิจฐานราก” เพื่อทำหน้าที่ตอบ/สร้างองค์ความรู้ที่ต้องการในการแก้ไขปัญหา/พัฒนา 
    • (ข) ประสานงานให้เกิดการสร้าง/การจัดการ/การใช้องค์ความรู้ 
คณะนักวิจัยภาคกลาง : ดร. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล (มหาวิทยาลัยนเรศวร) , ดร.เดชรัต สุขกำเนิด (นักวิจัยอิสระ) และนาวิน โสภาภูมิ (นักวิจัยอิสระ) และคณะ

● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออก 

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1  และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566

แพรวพรรณ ศิริเลิศ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
อติรุจ ดือเระ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Last Updated on ธันวาคม 27, 2022

Author

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น