สำหรับสัปดาห์นี้ขอแนะนำโครงการและโอกาสของการสนับสนุนด้านเงินทุนและองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับการวิจัยระดับแนวหน้าด้านการขับเคลื่อนนโยบาย SDG ในระดับชาติและภูมิภาค (Regional and National Policy Research) ดังนี้
- 1. GAYA Small Grants, GAYA
แหล่งทุน : Gender and Youth Activity (GAYA)
รายละเอียดทุน : GAYA เปิดรับข้อเสนอโครงการที่เสริมสร้างนวัตกรรมในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและ/หรือการพัฒนาเยาวชน ซึ่งนำโดยแกนนำหรือพันธมิตรในท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- โครงการที่ช่วยสนับสนุนให้พันธมิตรสามารถการดำเนินงานของ BHA ในการรวบรวม วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นหรือยุทธศาสตร์ด้านความเท่าเทียมทางเพศและ/หรือการพัฒนาเยาวชนได้ดียิ่งขึ้น
- โครงการที่เปลี่ยนบรรทัดฐานทางเพศเชิงลบ ข้อห้าม ทัศนคติ และพฤติกรรม และ/หรือโครงการที่รวมแนวทางการพัฒนาเยาวชนในเชิงบวก
- โครงการที่ให้คำปรึกษาและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในมุมมองที่หลากหลายและประชากรชายขอบตลอดช่วงชีวิต
งบประมาณ : 8 ล้านบาท
วันสิ้นสุดการเปิดรับสมัคร : 16 มกราคม 2023
ช่องทางการเข้าถึงเพิ่มเติม :
https://www.fsnnetwork.org/gaya-small-grants-program
- 2. รับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) แผนงาน F7 (S1P8) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ขนาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ 2566
แหล่งทุน : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
รายละเอียด : บพข. เปิดรับข้อเสนอโครงการที่มีการเสนอแผนการพัฒนาเอกชนกลุ่มเป้าหมายไปสู่ IDE ด้วยนวัตกรรม โดยมีกิจกรรมการสนับสนุน ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ออกแบบโครงการ เป็นพี่เลี้ยง จัดหา อำนวยการ และเชื่อมโยงเอกชนกลุ่มเป้าหมายกับหน่วยให้บริการการพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับเอกชนกลุ่มเป้าหมาย ไปสู่ IDE ด้วยนวัตกรรม รวมถึงติดตาม ประเมินผล และให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเอกชนกลุ่มเป้าหมาย
1.ลักษณะของกิจกรรมสนับสนุนเครือข่ายกิจกรรมเพื่อบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่าย เช่น
- สำรวจปัญหาความต้องการและโจทย์นวัตกรรมของสมาชิก รวมทั้งวินิจฉัยประเมินศักยภาพและทุน
ของสมาชิกแต่ละราย (Diagnose) - วิเคราะห์โอกาสและออกแบบแผนพัฒนานวัตกรรมของเครือข่าย
- สนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Tech transfer)
- เชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิด Innovation Stakeholder Ecosystem ที่สมบูรณ์(Individual case)
- กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมให้กับเอกชนกลุ่มเป้าหมาย* สามารถรวมถึง การพาสมาชิกไปศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ
2. ลักษณะของกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมให้กับเอกชนกลุ่มเป้าหมายในข้อเสนอโครงการต้องแสดงเอกชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมอย่างน้อย 3 บริษัท
- Product Innovation
- ออกแบบสินค้าหรือบริการชนิดใหม่ในตลาดทั้งในประเทศหรือระดับโลก
- พัฒนาสินค้าเดิมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล
- พัฒนากลยุทธ์และการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
- Process Innovation
- ยกระดับกระบวนการผลิตเป็น Industry 4.0 หรือ BCG
- พัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นในการยกระดับกระบวนการผลิตการบริหารระบบ
โลจิสติกส์ระบบข้อมูล
Market Innovation - จัดซื้อจัดหาข้อมูล วิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ เตรียมความพร้อมและเชื่อมโยงเข้าสู่ Supply
chain ในระดับโลก - พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์/บริการนวัตกรรม
- การศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกและกว้าง โดยเฉพาะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดและช่องว่างใน
ตลาด การเห็นโอกาสใหม่ในตลาด การสร้างตลาดใหม่ ลูกค้าใหม่ ช่องทางการตลาดใหม่ วิธีการ
เข้าสู่ตลาดใหม่ การสร้างความแตกต่าง การสร้างกลไกการตลาด การพัฒนาตลาด การทำ
การตลาด โดยมีวิธีการ กระบวนการที่ใช้นวัตกรรม
- Organization Innovation
- พัฒนารูปแบบธุรกิจนวัตกรรม วินิจฉัยธุรกิจนวัตกรรม กำหนดกลยุทธ์ในการเติบโต และจัดลำดับ
ความสำคัญของจุดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง - วิเคราะห์และพัฒนาทีมนวัตกรรมของธุรกิจ จัดจ้างพนักงานในตำแหน่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา
นวัตกรรมในระยะเวลาทุน - พัฒนาทักษะด้านที่จำเป็นของทีมนวัตกรรม และ upskill/reskill พนักงานด้านเทคโนโลยีเชิงลึก
- ปรับกระบวนการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นดิจิทัล (digital transformation) ให้มีประสิทธิภาพ
ยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็ว ทันหรือสร้างการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การ
พัฒนาบุคคลากร ที่เหมาะสมเอื้อกับการพัฒนานวัตกรรม
- พัฒนารูปแบบธุรกิจนวัตกรรม วินิจฉัยธุรกิจนวัตกรรม กำหนดกลยุทธ์ในการเติบโต และจัดลำดับ
งบประมาณ : 10 ล้านบาท
วันสิ้นสุดการเปิดรับสมัคร : 6 กุมภาพันธ์ 2023
ช่องทางการเข้าถึงเพิ่มเติม :
https://nriis.go.th/NewsEventDetail.aspx?nid=11652
Funding Opportunities – แนะนำโครงการ และแหล่งทุน โอกาสใหม่ ๆ สำหรับนักวิจัยที่อยากทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-SDG Research Network)