Site icon SDG Move

พัฒนาแช็ตบอตเพื่อช่วยบริหารงานท้องถิ่นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์สภาพความเป็นจริง ชวนหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘รศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์’ และคณะ

ชวนอ่าน “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเนื้อหาสำหรับปัญญาประดิษฐ์ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ประจำปี 2565” โดย รศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะผู้วิจัย ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)

บทบาทสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือการจัดทำบริการสาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนในพื้นที่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจการบริหารงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี พบว่าปัญหาประการหนึ่งคือบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลับไม่รู้หรือไม่เข้าใจกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของตน ส่งผลให้การบริการสาธารณะชะงักและไม่สามารถตอบโจทย์คนในพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สถาบันพระปกเกล้าจึงพยายามสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทว่ายังคงไม่สามารถเผยแพร่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีมากกว่า 7,800 แห่งได้อย่างทั่วถึง และในปีงบประมาณ 2564 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ก็ยังได้ดำเนินการจัดทำโครงการศึกษาวิจัยโดยมีเป้าหมายเพื่อนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และระบบถาม-ตอบ หรือ แช็ตบอต (chatbot) มาใช้ในการค้นหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การค้นหาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลปกครองอันเป็นตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูล “คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” และได้มีการพัฒนาและทดสอบโปรแกรมเพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและตรงความต้องการ (proof of concept) 

เพื่อขยายผลการศึกษาและพัฒนาการนำปัญญาประดิษฐ์และระบบถาม-ตอบมาใช้สำหรับแนะนำแนวปฏิบัติของการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้น รศ. ดร.นพพร และคณะ จึงดำเนินการวิจัยข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 

1) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล “คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อกฎหมายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
2) เพื่อสร้าง “กรอบการสนทนา” การถาม – การตอบเกี่ยวกับงานจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพัฒนารูปแบบจำลองการถาม – การตอบเกี่ยวกับงานจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 9  อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และเป้าหมายที่ 16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง

รศ. ดร.นพพร และคณะ ดำเนินการศึกษาด้วย วิธีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. กำหนดหัวข้อและขอบเขตของการศึกษา ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านงานจัดซื้อจัดจ้าง จากกรมบัญชีกลาง 
  2. ศึกษารวบรวมข้อมูลและคัดกรองข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับหัวข้อในกรอบการวิจัย คำพิพากษา รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง 
  3. นำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลโดยประมวลรูปแบบ “คำถามที่อาจเกิดขึ้น” ในประเด็นข้อ กฎหมายหนึ่ง ๆ พร้อมทั้ง “คำตอบ” สำหรับคำถามเหล่านั้น 
  4. จัดทำโครงสร้างกรอบสนทนาตามรูปแบบที่ปัญญาประดิษฐ์เข้าใจ 
  5. ทดสอบกรอบสนทนาโดยใช้เครื่องมือด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น Google Dialog Flow โดยเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านข้อกฎหมาย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านงานจัดซื้อจัดจ้าง จากกรมบัญชีกลาง 
  6. นำกรอบสนทนาที่ผ่านการทดสอบแล้วไปจัดทำและพัฒนาเป็นฐานข้อมูล 
  7. นำเสนอผลการวิจัยต่อสถาบันพระปกเกล้า

โครงการวิจัยข้างต้นได้ผลการศึกษาที่น่าสนใจ ดังนี้ 

นอกจากนี้ รศ. ดร.นพพร และคณะ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ อาทิ

กล่าวโดยสรุป งานวิจัยของ รศ. ดร.นพพร และคณะ ได้ขยายขอบเขตของการศึกษาวิจัยการพัฒนาแช็ตบอตสำหรับการบริหารงานท้องถิ่น โดยเฉพาะงานจัดซื้อจัดจ้าง อันเป็นแนวทางการศึกษาที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีเพื่อสร้างสรรค์แนวทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกปครองส่วนท้องถิ่นและคนในพื้นที่ต่อไป 

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ธีมลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม 

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.c) เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร และพยายามที่จะจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี 2563
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
– (16.6) พัฒนาสถาบันทุกระดับให้มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version