Site icon SDG Move

สำรวจแนวทางการจัดการ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” จากประเทศไทย ลาว และจีน เพื่อค้นหาวิธีการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ (electronic waste หรือ e-waste) มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในด้านการจัดการขยะนั้น หลายคนยังคงจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ด้วยวิธีการเดียวกับขยะทั่วไป ซึ่งแท้จริงแล้วขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเฉพาะตัวหลายประการโดยเฉพาะวิธีการกำจัดที่ไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันกับขยะประเภทอื่น ส่งผลให้ในปัจจุบันหลายประเทศยังคงมีวิธีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไม่ถูกวิธีมากนัก เพื่อค้นหาวิธีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงนำมาสู่การค้นคว้าของงานวิจัยเรื่อง “Development of an analytical method for quantitative comparison of the e-waste management systems in Thailand, Laos, and China” โดย Assistant Professor Dr.Li Liang คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ รศ. ดร.อลิส ชาร์ป สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้เลือกศึกษาระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในประเทศไทย ลาว และจีนมาเป็นกรณีเปรียบเทียบในการศึกษา 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) หมายถึง ขยะในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (electrical and electronic equipment : EEE) อาทิ โทรศัพท์มือถือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ทำให้ปัจจุบัน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลายมาเป็นหนึ่งในขยะที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเขตเมือง เนื่องจากทั่วโลกมีการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น และถึงแม้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทย ลาว และจีนจะมีสัดส่วนน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่การกำจัดขยะดังกล่าว อาจสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ หากมีการจัดการขยะอย่างไม่ถูกวิธี ด้วยประเด็นดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม และเป้าหมายที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ด้วยเหตุข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการเลือกเมืองในการศึกษาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามเกณฑ์ของรายได้เฉลี่ยและการสร้างขยะต่อหัว ตามโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ซึ่งมีที่ตั้งของประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศด้วยกัน คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นผู้สนับสนุนหลัก  ซึ่งเมืองหลวงของประเทศได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ประเทศลาว ไทย และจีน เนื่องจากทั้งสามประเทศ มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ๆ เป็นจำนวนมากประเทศเหล่านี้จึงมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์และโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการขยะ เช่น เตาเผาขยะและหลุมฝังกลบขยะจำนวนมากที่สามารถนำมาสะท้อนเป็นตัวอย่างให้แก่เมืองอื่น ๆ ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลาว และจีน งานวิจัยฉบับนี้ ได้ศึกษาผ่านวิธีดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถาม สำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กระบวนการ และแนวปฏิบัติ (policy, process, and practice : PPP) ของระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปรียบเทียบจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในประเทศไทย ลาว และจีน 

จากงานวิจัยดังกล่าว ค้นพบผลการศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ

ผลการศึกษาจากการสำรวจแบบสอบถาม กลุ่มย่อยของผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร นครหลวงเวียงจันทน์ และปักกิ่ง จากจำนวนแบบสอบถามที่แจกจ่ายและส่งกลับในสามเมือง พบว่า จากการสำรวจ อัตราการตอบกลับมีความเที่ยงตรงและแม่นยำถึงร้อยละ 68 หรือสูงกว่า ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีหรือดีมาก 

ผลการศึกษตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กระบวนการ และแนวปฏิบัติ (PPP) พบว่า 

ตัวแปรนโยบาย (P1) จากคำถาม 5 ข้อ ที่ออกแบบมาสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายขยะอิเล็กทรอนิกส์และข้อกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดังตารางที่ 1 ได้แก่

จากตัวแปรทั้งห้าข้อ การตอบแบบสอบถามทั้ง 3 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครหลวงเวียงจันทน์ และปักกิ่ง แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.01 ซึ่งจากการกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่า ‘ใช่’ และ ‘ไม่’ พบว่า 

ตัวแปรกระบวนการ (P2) จากคำถาม 3 ข้อ ที่ออกแบบมาสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการกู้คืนขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ ดังตารางที่ 1 ได้แก่

จากตัวแปรทั้งสามข้อ เพื่อสำรวจความรู้ของผู้บริโภค ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครหลวงเวียงจันทน์ และปักกิ่ง แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.01 ซึ่งจากการกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่า ‘ใช่’ และ ‘ไม่’ พบว่า 

ตัวแปรการปฏิบัติ (P3) จากคำถาม 6 ข้อ ที่ออกแบบมาสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไม่ได้ส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังศูนย์รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ได้จัดการขยะด้วยตัวเอง ดังตารางที่ 1 ได้แก่

จากตัวแปรทั้งหกข้อ จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครหลวงเวียงจันทน์ และปักกิ่ง แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p>0.05 ในการให้คำตอบ ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่’ สำหรับ P305 และ P306 ซึ่งระบุว่าผู้ตอบแบบสอบถามจากสามเมืองไม่ได้ส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังศูนย์กู้คืนเพื่อนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ หรือไม่ได้จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง ขณะที่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.01 ในการให้คำตอบ ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่’ สำหรับตัวแปรการปฏิบัติที่เหลืออีกสี่ตัว ได้แก่ P301, P302, P303 และ P304 จากทั้งสามเมือง พบว่า 

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวอภิปรายผลที่น่าสนใจไว้หลายประการ อาทิ

กล่าวโดยสรุป ประเด็นการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ด้วยปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนการศึกษาการจัดการขยะในประเทศต่าง ๆ จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจกำหนดนโยบายในการพัฒนาและสร้างระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ งานวิจัยดังกล่าวอาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับผู้ตัดสินใจให้สามารถปรับปรุงขับเคลื่อนนโยบายไปได้ในทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมตอบรับต่อความต้องการของประชาชนในประเทศ

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs ในระดับชาติและภูมิภาค (policy) ธีมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และปรับปรุงอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี 2573
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.2) บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2573
– (12.5) ภายในปี 2573 จะต้องลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดการแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำกลับมาใช้ซ้ำ
– (12.8) สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี 2573

ข้อมูลงานวิจัย: Liang, L., Sharp, A. (2016). Development of an analytical method for quantitative comparison of the e-waste management systems in Thailand, Laos, and China. Waste Management & Research, 34(11). DOI:10.1177/0734242X16662333. 

ชื่อผู้วิจัย – สังกัด: Assistant Professor Dr.Li Liang คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ รศ. ดร.อลิส ชาร์ป สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Research Brief แนะนำงานวิจัยเชิงลึกของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version