Site icon SDG Move

สำรวจแนวทางผลักดัน ‘เกาะสมุย’ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ผ่านงานวิจัยของ ‘รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ และคณะ’

ชวนอ่านงานวิจัย “การสำรวจภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการในพื้นที่เกาะสมุย: การศึกษาเพื่อเตรียมข้อมูลสนับสนุนสำหรับการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ” โดย รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สุทธิเกียรติ อังกาบูรณะ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)

เกาะสมุย เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ตและเกาะช้าง อีกทั้งยังเป็นเกาะที่มีการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละปีมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 12,000 – 18,000 ล้านบาทต่อปี นับเป็นรายได้ที่สูงเป็นลำดับที่ 6 ของรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวของไทย ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของชาวเกาะสมุยก็สูงกว่า 50,000 บาท ต่อเดือน 

อย่างไรก็ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้างต้นกลับก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม หลายประการ อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาสวัสดิการและคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านสาธารณูปโภค ปัญหาด้านโครงสร้างหน้าที่ รวมถึงการบริหารงบประมาณของเทศบาลนครเกาะสมุยกับหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ยังขาดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ 

สภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มีการทบทวนบทบาทของเทศบาลนครเกาะสมุย ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนภายในพื้นที่เกาะสมุยจะต้องเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทหลักและมีอำนาจสูงสุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุยเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และความต้องการที่หลากหลายของประชาชนชาวเกาะสมุย โดยที่หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและหน่วยงานราชการบริการส่วนภูมิภาคควรทำหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการดำเนินภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุย มากกว่าเป็นหน่วยงานหลักที่จะเข้าไปดำเนินภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุยด้วยตนเอง

กระนั้น พบว่ากลไกการบริหารราชการเทศบาลนครเกาะสมุยไม่สามารถดำเนินการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชนภายในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลนครเกาะสมุย นักวิชาการ และชาวเกาะสมุย จึงมีความพยายามร่วมกันในการศึกษาและผลักดันให้เทศบาลนครเกาะสมุยเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ งบประมาณ และระบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่แตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเกาะสมุยดังกล่าว เป็นต้นแบบของกลไกในระดับท้องถิ่นที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนภายในพื้นที่เกาะสมุยได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการจัดการท้องถิ่นของตน (local-self government) 

เพื่อช่วยให้เกิดการออกแบบโครงสร้างอำนาจหน้าที่และงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเกาะสมุยที่จะมีการจัดตั้งขึ้นเกิดความครอบคลุมและเหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่น รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ และ สุทธิเกียรติ จึงดำเนินการวิจัยข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 

  1. เพื่อสำรวจถึงภารกิจของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่เข้ามาดำเนินการในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย 
  2. เพื่อศึกษาถึงสัดส่วนงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ได้รับการจัดสรรลงมาดำเนินโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย 
  3. เพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และสัดส่วนงบประมาณที่เหมาะสมต่อการจัดทำบริการสาธารณะ เมื่อพื้นที่เกาะสมุยได้รับการยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่

จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 11  เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ และ สุทธิเกียรติ ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผลการศึกษาของงานวิจัยข้างต้น อาทิ

นอกจากนี้ รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ และ สุทธิเกียรติ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ ดังนี้

กล่าวโดยสรุป งานวิจัยของ รศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ และ สุทธิเกียรติ ได้ศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลและเสนอแนวทางการผลักดันให้อำเภอเกาะสมุยเปลี่ยนเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีบทบาทและส่วนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และบริหารจัดการพื้นที่ ซึ่งหวังให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่การแก้ปัญหาที่เกิดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ ธีมลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.3) ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืน เพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี 2573
– (11.a) สนับสุนนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง รอบเมือง และชนบท โดยการเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version