Site icon SDG Move

เพื่อเตรียมรับมือ ‘โรคไข้หวัดใหญ่’ อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างไร ชวนค้นหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘รศ. ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ และคณะ’

ชวนอ่านงานวิจัย “ประเมินผลมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ของสถานบริการสาธารณสุข ระดับประเทศ ปี 2558” โดย รศ. ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ  ภายใต้การสนับสนุนของกรมควบคุมโรค ดำเนินงานผ่านสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)

โรคติดต่ออุบัติใหม่ในปัจจุบัน นับเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจากโรคมีความซับซ้อนและสามารถส่งผลกระทบรุนแรงทั่วโลก โดยช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มีโรคติดเชื้อเกิดขึ้นใหม่แทบทุกปี ได้แก่ โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 การแพร่ระบาดของโควิด-19 และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสัตว์หรือสัตว์ป่า และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ การเคลื่อนย้ายของประชากรการเดินทาง ติดต่อการค้าระหว่างประเทศ ความชุกชุมของสัตว์พาหะนำโรค การขาดความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการป้องกัน ควบคุมโรคของประชาชนการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย และหากเกิดขึ้นแล้วอาจระบาดไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม

เช่นนั้นแล้ว ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับเตรียมการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ อาทิ การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่การดูแลผู้ป่วย การสำรองยาต้านไวรัส การจัดหาและให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งป้องกันการระบาดเป็นวงกว้าง 

เพื่อติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของมาตรการฯ ในภาพรวมระดับประเทศ พร้อมนำผลการประเมินที่ได้มาปรับปรุง พัฒนา มาตรการการดำเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในอนาคตต่อไป รศ. ดร.สิริมา และคณะ จึงศึกษาวิจัยนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคไข้หวัดใหญ่ของประเทศไทยปีงบประมาณ 2558 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP model) ในการประเมินบริบท ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิต 

งานวิจัยฉบับบนี้ มีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลทุกระดับที่ปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์ เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556-2559) จำนวน 459 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ที่ได้พัฒนาขึ้นตามมาตรการ ในแผนยุทธศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 

เพื่อเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องต่อไป จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 

ผลการศึกษางานวิจัยข้างต้น สามารถสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

นอกจากนี้ รศ. ดร.สิริมา และคณะ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ อาทิ

กล่าวโดยสรุป การจัดทำงานวิจัย “การประเมินผลมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ของสถานบริการสาธารณสุขระดับประเทศ ปี 2558” ของ รศ. ดร.สิริมา และคณะ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่การป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพ เพราะโรคอุบัติใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยไม่ทันคาดคิด การปรับปรุงและพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ จะนับเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ระบบสาธารณสุข และประชาชนในสังคมอีกจำนวนมาก

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs ในระดับชาติและภูมิภาค (policy) ธีมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.3) ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่น ๆ ภายในปี 2573
– (3.b) สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาสำหรับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศกำลังพัฒนา ให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ตามปฏิญญาโดฮาความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าและการสาธารณสุข ซึ่งเน้นย้ำสิทธิสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะใช้บทบัญญัติในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าอย่างเต็มที่ในเรื่องการผ่อนปรนเพื่อจะปกป้องสุขภาพสาธารณะและโดยเฉพาะการเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
– (3.d) เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโลก

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version