Site icon SDG Move

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในแต่ละภาคของไทยเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่ากัน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เป็นการเคลื่อนย้ายทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยเจ้าของทุนยังมีอำนาจในการดูแลกิจการที่มีการนำทรัพยากรการผลิต แรงงาน และเทคโนโลยีเข้าไปยังประเทศที่ลงทุน นับว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

ที่ผ่านมา มีงานศึกษาวิจัยจำนวนหนึ่งที่พยายามศึกษาและสำรวจถึงผลกระทบของ ‘การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ’ ต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศที่เป็นถิ่นฐานการผลิตหรือการบริการ โดยมีโจทย์สำคัญซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาอย่างต่อเนื่อง คือ “การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศส่งผลให้ช่องว่างทางรายได้ของคนในประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง” โดยงานศึกษาวิจัยส่วนหนึ่งเสนอว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศช่วยให้เกิดการกระจายรายได้และการถ่ายโอนเทคโนโลยีในประเทศถิ่นฐานการผลิตหรือบริการ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง เสนอว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทำให้การกระจายรายได้ลดน้อยลง เนื่องจากบรรษัทข้ามชาติโดยส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จำเป็นต้องอาศัยแรงงานมีฝีมือ ขณะเดียวกันการจ่ายค่าจ้างให้แรงงานมีฝีมือก็สูงกว่าแรงงานไร้ฝีมือ จึงมีส่วนทำให้ช่องว่างความไม่เท่าเทียมของรายได้ขยายกว้างขึ้น 

สำหรับประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่เปิดรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงน่าสนใจว่าความเหลื่อมล้ำดังกล่าวมีความสัมพันธ์หรือเป็นผลกระทบจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือไม่ อย่างไร 

อย่างไรก็ดี งานศึกษาวิจัยต่อประเด็นข้างต้นที่ขีดกรอบศึกษาเฉพาะประเทศไทยนั้นนับว่ายังมีน้อย เพื่อเติมเต็มการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสังคมไทย ดร.มณฑินี ธีระมังคลานนท์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Eric M.P. Chiu National Chung Hsing University  จึงได้ดำเนินงานวิจัย “The Effects of Foreign Direct Investment on Income Inequality of Thailand” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงลึกและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสำหรับประเทศไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยยกระดับการเพิ่มสวัสดิการ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และขับเคลื่อนไทยไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้น

ด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การจ้างงาน และการกระจายรายได้ ทำให้งานวิจัยดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ และ เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินการการวิจัยของ ดร.มณฑินี และ Eric M.P. Chiu สำรวจประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่

  1. ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อความเหลื่อมล้ำในระดับภาค : ดำเนินการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคจำนวน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ โดยทั้งหมดเป็นข้อมูลระหว่างปี 2541 – 2560 และใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient: GINI) โดยมีตัวแปรสำคัญในการพิจารณา ได้แก่ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education: DU)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita: GDPC) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate: INF): ขนาดประชากร (Population Size: POP) และการเปิดกว้างทางการค้าระหว่างประเทศ (Trade Openness: TRADE)
  2. ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อความยากจนเชิงสัมบูรณ์ (absolute poverty) ในภาพรวม :  ดำเนินการโดยใช้เวลาชุดข้อมูลในช่วงปี 2541-2560 และกำหนดตัวแปรในการพิจารณาเดียวกันกับประเด็นแรก แต่ใช้สมการต่างออกไป 

งานวิจัยดังกล่าวมีข้อค้นพบโดยสรุปที่น่าสนใจ ได้แก่

นอกจากนี้  ดร.มณฑินี และ Eric M.P. Chiu ได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ อาทิ

กล่าวโดยสรุป งานวิจัย “The Effects of Foreign Direct Investment on Income Inequality of Thailand” ได้สะท้อนว่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้การกระจายรายได้ในระดับภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลซึ่งมีบทบาทหลักในการกำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายจึงอาจจำเป็นต้องส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวมากขึ้น พร้อมกันนั้นก็ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องทุนมนุษย์ในประเทศ ทั้งเรื่องทักษะและความรู้ที่จะช่วยให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดการลงทุนสมัยใหม่ได้ 

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ ธีมหุ้นส่วนการพัฒนาเเละกลไกการขับเคลื่อน SDGs

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.a) สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญจากแหล่งต่างๆ รวมถึง การยกระดับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อที่จะจัดให้มีแนวทางที่เพียงพอและวิธีการที่เป็นไปได้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.1) ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีการขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี
– (8.2) บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นในภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและใช้แรงงานเป็นหลัก (Labour intensive)
– (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.1) บรรลุการเติบโตอย่างก้าวหน้าและยั่งยืนของรายได้ของประชากรที่อยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 40% ให้มีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี 2573
– (10.4) นำนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคมมาใช้ และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างก้าวหน้า
– (10.b) สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการและการไหลของเงิน ซึ่งรวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ไปยังรัฐที่มีความจำเป็นมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศในแอฟริกา รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยให้เป็นไปตามแผนและแผนงานของประเทศเหล่านั้น
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.1) เสริมความแข็งแกร่งของการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถภายในประเทศในการเก็บภาษีและรายได้อื่น ๆ ของรัฐ
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
– (17.13) เพิ่มพูนเสถียรภาพเศรษฐกิจมหาภาคของโลก โดยรวมถึงผ่านทางการประสานงานนโยบายและความสอดคล้องเชิงนโยบาย
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

ข้อมูลงานวิจัย: Monthinee Teeramungcalanon, Eric M.P. Chiu. (2020). The Effects of Foreign Direct Investment on Income Inequality of Thailand. Southeast Asian Journal of Economics. 8(1). 107-138. 
ชื่อผู้วิจัย -สังกัดดร.มณฑินี ธีระมังคลานนท์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Eric M.P. Chiu National Chung Hsing University  

Research Brief แนะนำงานวิจัยเชิงลึกของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version