Site icon SDG Move

บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคใต้ชายแดนต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ


1. ประเด็นการพัฒนาที่พื้นที่ให้ความสำคัญ

การทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 2 ของภาคมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 21 คน แบ่งเป็น ภาครัฐ จำนวน 2 คน ภาคประชาสังคม จำนวน 13 คน ภาควิชาการจำนวน 3 คน ภาคอื่น ๆ จำนวน 1 คน ผู้ไม่ให้คำตอบ จำนวน 2 คน 

ตารางเปรียบเทียบการทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภาคใต้ชายแดน ปีที่ 1 และปีที่ 2

ลำดับปีที่ 1ปีที่ 2
1ปัญหายาเสพติดการเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่
2นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่
3การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนปัญหายาเสพติด
4การศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่
5การค้าชายแดนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากตารางข้างต้น สรุปได้ว่าประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรกที่พื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้ความสำคัญในปีที่ 1 และปีที่ 2 มีความแตกต่างกันถึง 4 ประเด็น กล่าวคือ ประเด็น “การศึกษา” และประเด็น “การค้าชายแดน” ปรากฏเฉพาะในปีที่ 1 ส่วนประเด็น “การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่” และประเด็น “สถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่” ปรากฏเฉพาะในปีที่ 2 

ทั้งนี้ สรุปประเด็นสำคัญทั้งหมดโดยแบ่งตามมิติต่าง ๆ ได้ดังนี้ ประเด็นภายใต้มิติเศรษฐกิจ 1 ประเด็น ได้แก่ การค้าชายแดน ประเด็นภายใต้มิติสังคม 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหายาเสพติด และ การศึกษา ประเด็นภายใต้มิติสันติภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ สำหรับมิติสิ่งแวดล้อม พบว่าไม่ปรากฏในประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรก ทั้งในปีที่ 1 และปีที่ 2 

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงในการลำดับประเด็น เนื่องจากประเด็นที่พื้นที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในปีที่ 1 คือ ปัญหายาเสพติด แต่ปีที่ 2 คือ การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่


2. งานวิจัยที่พื้นที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสำคัญ

การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญของภาคใต้ชายแดน สรุปได้ว่าพื้นที่ต้องการงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาระดับพื้นที่ทั้งสิ้น 17 ประเด็น แบ่งตามมิติดังนี้

นอกจากนี้ การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญยังระบุถึงหน่วยงานที่ได้ทํางานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไกวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ระดับภาคใต้ชายแดน ได้แก่ 


3. ข้อเสนอแนะสำหรับการทํางานร่วมกันของทุกภาคส่วน

จากกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไก ววน. ระดับพื้นที่ เช่น 

คณะวิจัยภาคใต้ชายแดน: ผศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ. ดร.เเพร ศิริศักดิ์ดำเกิง มหาวิทยาลัยศิลปากร เเละคณะ

● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
– Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
 Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออก 
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคกลาง
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้ชายแดน
 Area Need 05 | Area Need 2: What’s next step? การติดตาม และวางแผนต่อไปสำหรับโครงการความต้องการของพื้นที่ ปีที่ 2 
 บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคกลางต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคใต้ต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
Director’s Note: 01 -โครงการ Area-Needs, สกสว. และ SDG Move

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1 และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ไปจนถึง พฤษภาคม 2566

อติรุจ ดือเระ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version