Site icon SDG Move

WMO รายงานทั่วโลกเผชิญ ‘สภาพอากาศสุดขั้ว’ กระทบสุขภาพและการดำรงชีวิต – จำเป็นต้องเร่งรับมืออย่างเร่งด่วน

คลื่นความร้อน ท่ามกลางภัยธรรมชาติที่อันตรายที่สุด คร่าชีวิตผู้คนหลายพันคนในแต่ละปี องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากขึ้น ตามรายงานระบุว่าเดือนมิถุนายนมีอุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และคลื่นความร้อนจะยังคงอยู่จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ขณะเดียวกัน ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและได้รับผลกระทบหลายล้านคนในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย 

เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าอย่างที่เกิดขึ้นที่ประเทศแคนาดา ซึ่งสูญเสียพื้นที่ป่าไปกว่า 9 ล้านเฮกตาร์ในปี 2566 จนถึงปัจจุบันเกินกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ประมาณการณ์ไว้ 800,000 เฮกตาร์ ตามมาด้วยปัญหามลพิษและหมอกควันก็แผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนนับล้าน ซึ่งอุณหภูมิจะสูงกว่าปกติในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า เช่นเดียวกับในหลายพื้นที่ เช่น แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และตุรกี 

Prof. Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า “ด้วยสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (extreme weather) สร้างผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ ระบบนิเวศ เศรษฐกิจ เกษตรกรรม การจัดหาพลังงานและน้ำ ซึ่งสิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

นอกจากนี้ ฝนตกหนักและน้ำท่วมก็สร้างความเสียหายและการสูญเสียชีวิตอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เช่น

อย่างไรก็ดี องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เน้นย้ำว่าในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เพิ่มระดับการเตรียมพร้อม เช่น การเตือนภัย และการจัดการน้ำท่วม แต่ประเทศที่มีรายได้น้อยยังคงเผชิญความเสี่ยง ขาดการเตือนภัย หรือแทบไม่มีโครงสร้างสำหรับป้องกันน้ำท่วม และไม่มีการจัดการน้ำท่วมแบบบูรณาการ เช่นนั้นแล้วมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก “Extreme Weather” สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เปลี่ยนท้องฟ้ากรุงเทพฯ ดำมืด ปัญหาท้าทายที่โลกต้องเร่งจัดการ 
รายงาน IPCC ฉบับใหม่เผยข้อมูลผลกระทบและความเสี่ยงจาก Climate Change ต่อปัญหาสุขภาพปัจจุบัน
‘ภัยพิบัติจากน้ำ’ สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงมาทุกยุคสมัย และจะเกิดถี่ขึ้น – รุนแรงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.5) ลดจำนวนการตายและจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบและลดการสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า

แหล่งที่มา:
Extreme weather highlights need for greater climate action | UN News 
Extreme heat, rainfall highlight need for more climate action | World Meteorological Organization 

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version