วันที่ 5 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดสมัยการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly: UNGA) สมัยที่ 78 โดย Dennis Francis ประธาน UNGA คนใหม่ ได้เน้นย้ำถึงประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ สันติภาพ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้า และความยั่งยืน พร้อมทั้งระบุว่าความอดทนอดกลั้น ความครอบคลุม ความร่วมมือ และความเคารพเพื่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์นั้นเป็นคุณค่าเเห่งทางนำในการดำรงตำแหน่งของตน
การเปิดสมัยการประชุม UNGA สมัยที่ 78 จัดขึ้นภายใต้ธีม ‘Rebuilding trust and reigniting global solidarity: Accelerating action on the 2030 Agenda and its Sustainable Development Goals towards peace, prosperity, progress and sustainability for all’ หรือ ‘การรื้อสร้างความเชื่อมั่นและการสร้างใหม่ซึ่งความเป็นเอกภาพระดับโลก: เร่งรัดดำเนินการวาระ 2030 และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดสันติภาพ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้า และความยั่งยืน สำหรับทุกภาคส่วน’
Francis ได้เรียกร้องประเทศทั่วโลกให้ร่วมมือกันในหลายประเด็น เช่น
- การยกระดับการสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยี ความยั่งยืนของหนี้ (debt sustainability) และ การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building)
- ความพยายามบรรลุวาระปฏิบัติการแอดดิสอาบาบา (Addis Ababa Action Agenda (AAAA) และแผนปฏิบัติการโดฮาเพื่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs)
- การพลิกโฉมอย่างสุดขีดในการดำเนินการเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ พร้อมทั้งเพิ่มพูนความพยายามอย่างทบทวีในการจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ท้าชนความรุนแรงที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ปิดช่องว่างระหว่างวัย และสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพื่อสังคมที่เข้มแข็ง เหนียวแน่น และมีประสิทธิผล
สำหรับการอภิปรายซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นด้านสารัตถะที่สำคัญของ UNGA เนื่องจากเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประมุขของรัฐ หัวหน้าคณะรัฐบาล และหัวหน้าผู้แทนของทุกรัฐสมาชิกกล่าวถ้อยแถลงบริเวณแท่น (rostrum) หน้าหอประชุม (GA Hall) เพื่อแสดงนโยบาย ความคิดเห็น และท่าทีของประเทศตนในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ตามหัวข้อหลักของ UNGA78 จะเริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 26 กันยายน 2566 โดยก่อนหน้านี้คณะผู้บริหารมูลนิธิองค์การสหประชาชาติ (UN Foundation) ซึ่งได้เปิดเผยถึง 5 ประเด็นที่น่าจับตามอง ในการอภิปรายดังกล่าว ดังนี้
- จับตาความเคลื่อนไหวนานาประเทศ หลังผ่านครึ่งแรกการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยจะมีการพิจารณาความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของแต่ละประเทศ ผ่านการนำแผนงานและเป้าหมายมากางคุยกันบนโต๊ะ พร้อมทั้งระบุสิ่งที่จะทำในอีก 7 ปีข้างหน้า จนกระทั่งปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่ทุกเป้าหมาย SDGs ต้องบรรลุผล
- ติดตามความชัดเจนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะมีการจัดการประชุมเป้าหมายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Ambition Summit) เพื่อเร่งการทำงานของผู้นำและภาคส่วนต่าง ๆ ในการควบคุมอุณหภูมิโลก รวมทั้งสร้างแรงกดดันให้กับประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาลดโลกร้อน
- ทบทวนบทเรียนจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะมีการประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ (High-Level Meetings on Health) เน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด การสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) และการขจัดวัณโรค เพื่อกระตุ้นให้ผู้นำมากกว่า 130 ประเทศ ร่วมผลักดันให้ประเด็นการรับมือโรคระบาดเป็นวาระการพูดคุยหลัก และให้คำมั่นสัญญาว่าจะเพิ่มศักยภาพในการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อโรคระบาด ทั้งในระดับชาติ ไปจนถึงระดับภูมิภาคและชุมชน
- เปิดแผนจัดเวทีแห่งอนาคต (Summit of the Future) โดยจะเน้นการหารือความสำคัญของ SDGs ในฐานะการลงทุนที่คุ้มค่าต่อประชากรรุ่นใหม่ในอนาคต
- ยกระดับการพูดคุยประเด็นความเท่าเทียม เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ พูดคุยลงลึกไปถึงกลไกทางการเงินที่ใช้ผลักดันโครงการสร้างความเท่าเทียมต่าง ๆ
●อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ชวนติดตาม การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ครั้งที่ 77 – ร่วมค้นหาทางออกให้โลกรอดพ้นความท้าทายจากวิกฤต
– ‘BLACKPINK’ และกวีหญิง ‘Amand Gorman’ ร่วมส่งสารในการประชุม SDG Moment เรียกร้องทุกคนบนโลกร่วมดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs
– เริ่มต้นค่ำวันนี้ “การอภิปรายทั่วไป” (General Debate) ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ครั้งที่ 76
– เลขาธิการ UN แต่งตั้ง BLACKPINK ให้เป็นผู้สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Advocate)
– COP26 – “โอกาสสุดท้าย” รักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นถึง 1.5 °C และ 4 หัวข้อหลักที่จะอภิปรายในการประชุม COP26
– กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดออกเอกสารแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชดเชยทางการเงินให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบ
– ความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน อาจฉุดรั้งความก้าวหน้าการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
– เลขาธิการ UN แถลง 10 ประเด็น ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในปี 2021
– SDSN ร่วมกับเครือข่ายจัดการประชุม คู่ขนาน “UNGA 78 & SDG Summit”- สำรวจกิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2023
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.3) ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.d) เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.5) สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.b) ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง|
– (16.1) ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
– (16.a) เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงการกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติม จากแหล่งที่หลากหลาย
– (17.4) ช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการบรรลุความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว โดยใช้นโยบายที่ประสานงานกันที่มุ่งส่งเสริมการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ การบรรเทาหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม และแก้ปัญหาหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินในระดับสูงเพื่อลดการประสบปัญหาหนี้ (debt distress)
– (17.9) เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมีการตั้งเป้าในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่จะดำเนินงานในทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
แหล่งที่มา:
– UNGA President Formulates Priorities for 78th Session (IISD)
– 5 ประเด็น ‘สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ’ ‘ผู้นำโลก’ หารือจุดผิดพลาดโควิด-19 ตรวจการบ้าน ‘ลดโลกร้อน-SDGs’ (The Coverage)
ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย