ภายหลังการประชุม SDG Summit ปิดฉากลงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 พบว่ามีประเด็นสำคัญมากมายเกิดขึ้นระหว่างการหารือ เเลกเปลี่ยน เเละกล่าวถ้อยเเถลงของผู้นำประเทศทั่วโลก เช่น ข้อเสนอต่อการปฏิรูปสถาปัตกรรมทางการเงิน การหารือเกี่ยวกับการจัด Summit of the Future 2024 การขจัดความหิวโหยในฐานะปัญหาสำคัญที่กำลังคุกคามความยั่งยืน การทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษามากขึ้น เเละการสร้างหลักประกันความเท่าเทียมทางเพศ
นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ยังได้ตกลงรับนำปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration) เพื่อเร่งรัดดำเนินการบรรลุ SDGs ไปใช้ ซึ่งครอบคลุมการขยับขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน พร้อม ๆ กับการคุ้มครองสิ่งเเวดล้อม
António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวอย่างเชื่อมั่นว่าปฏิญญาทางการเมืองข้างต้น สามารถเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการเร่งรัดความก้าวหน้าของ SDGs ได้
ด้าน Paula Narváez ประธานคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Economic and Social Council: UN ECOSOC) กล่าวถึงการตอบรับปฏิญญาทางการเมืองว่าเป็นจุดพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นอันเเน่วเเน่ของผู้นำในการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs
เนื้อหาของปฏิญญาทางการเมืองข้างต้นมีทั้งสิ้น 12 หน้า เเบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ ดังนี
1. ความตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิก มีสาระสำคัญ เช่น
- ประเทศสมาชิกเน้นย้ำถึงการขจัดความยากจนทุกรูปเเบบ
- ประเทศสมาชิกมุ่งมั่นที่จะยกระดับความพยายามในการขจัดการเหยียดเชื้อชาติทุกรูปเเบบเเละการเลือกปฏิบัติ
- ประเทศสมาชิกยืนยันถึงการยอมรับหลักการทั้งของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งเเวดล้อม (Rio Declaration on Environment and Development)
2. ความก้าวหน้า ช่องว่างเเละความท้าทายที่ยังมีอยู่ มีสาระสำคัญ เช่น
- โลกเปลี่ยนไปอย่างมากตั้งเเต่การประชุม SDG Summit 2019 โดยพบว่าปัจจุบันโลกอยู่นอกหนทางบรรลุเป้าหมายส่วนใหญ่ของ SDGs
- ประเทศสมาชิกต่างรับรู้ว่าวิกฤตการณ์ทั่วโลกที่ทวีความรุนเเรงได้ตอกย้ำความไม่เท่าเทียมทางเพศให้เพิ่มขึ้น
- ประเทศสมาชิกกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับช่องว่างในการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นเร่งรัดจัดหาให้เพียงพอเเก่ประเทศกำลังพัฒนา
3. การเรียกร้องให้ลงมือทำ มีสาระสำคัญ เช่น
- ประเทศสมาชิกให้คำมั่นที่จะสนับสนุนระบบการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติอย่างเต็มที่ รวมถึงสนับสนุนบทบาทในการเป็นศูนย์กลางเเละการสานงานในความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
- ประเทศสมาชิกตั้งตารอคอย Summit of the Future 2024 ในฐานะโอกาสสำคัญสำหรับการเร่งดำเนินการวาระการพัฒนา 2030
- ประเทศสมาชิกจะยังคงบูรณาการ SDGs เข้ากับกรอบนโยบายระดับชาติเเละเเผนการพัฒนาระดับชาติสำหรับการพลิกโฉมเเละเร่งรัดดำเนินการ
● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– เปิดประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 78 ชวนจับตานานาประเทศทบทวนครึ่งแรกของ SDGs และติดตามความชัดเจนการแก้ปัญหา Climate Change
– SDSN ร่วมกับเครือข่ายจัดการประชุม คู่ขนาน “UNGA 78 & SDG Summit”- สำรวจกิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2023
– SDG Updates | สรุปประเด็นการประชุม HLPF 2023
– นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงใน SDG Summit 2023 ประกาศไทยมุ่งมั่นส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.5) สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.1) ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
– (16.6) พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติม จากแหล่งที่หลากหลาย
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.15) เคารพพื้นที่ทางนโยบายและความเป็นผู้นำของแต่ละประเทศที่จะสร้างและดำเนินงานตามนโยบายเพื่อการขจัดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มโดยหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน
แหล่งที่มา : UN General Assembly adopts declaration to accelerate SDGs Play video (UN News)
ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย
Last Updated on กันยายน 27, 2023