Site icon SDG Move

เรียนรู้ ‘โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน’ ผ่านคอร์สออนไลน์ของ ‘FAO’ ที่หวังสร้างความเข้าใจเเละสร้างความร่วมมือจัดการกับการแพร่ระบาด

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การอนามัยสัตว์โลก (World Organization for Animal Health: WOAH) เปิดตัว Response Preparedness for Zoonotic Disease Outbreaks Using a One-Health Approach คอร์สออนไลน์ที่จะช่วยให้การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonotic diseases) เป็นเรื่องง่ายขึ้น พร้อมมอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมที่ทำแบบทดสอบได้คะแนน 80% ขึ้นไป

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน นับว่าสามารถสร้างผลกระทบวงกว้างต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และระบบสุขภาพระดับโลก ขณะที่ความร่วมมือแบบพหุศาสตร์ (multidisciplinary) และความร่วมมือหลากหลายภาคส่วนผ่านแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เป็นที่ต้องการอย่างมาก เพื่อเตรียมพร้อมที่มีประสิทธิภาพ สืบหา ประเมิน และตอบสนอง ต่อโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน อย่างไรก็ดี ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ประเทศต่าง ๆ มักมีเวลาจำกัดในการจัดการกับการระบาด 

สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) – แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพที่รวมสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน ให้ ‘สุขภาพดี’ อย่างเป็นองค์รวม

คอร์สออนไลน์ใหม่ของ WHO พร้อมให้เรียนฟรีแล้ว เพื่อช่วยให้ทุกคนค้นหาแนวคิดการตอบสนองอย่างร่วมมือกันเพื่อจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์และการบริการสาธารณสุข พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นต่อมุมมองที่หลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างการจัดการการแพร่ระบาด 

เนื้อหาที่จะได้เรียน ประกอบด้วย

เนื้อหาข้างต้นจะถูกบรรยายโดย Nika เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคของ WHO ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน ได้แก่

รับชมวิดีโอเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคอร์สอบรมมากขึ้น:

YouTube Poster

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
โลกกำลังเดินหน้าด้วย ‘One Health’ เชื่อมความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพภูมิอากาศ และ Nature-based Solutions
ไทยรั้งอันดับ 5 ของโลก ประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ จากดัชนี Global Health Security Index (GHS) ปี 2021
 SDG Insights | Health Promotion – แนวคิดที่เข้ามาเปลี่ยนวิธีทำงานในวงการสาธารณสุขไทย
 AI สามารถคาดความเชื่อมโยงของไวรัส-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคสัตว์สู่คน (ในอนาคต) ได้

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.3) ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
– (3.d) เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มโดยหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : FAO, WHO, and WOAH launch new online course on joint response to zoonotic disease outbreaks (WHO)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version