Site icon SDG Move

ชวนจับตา 4 ประเด็นสำคัญการประชุม ‘COP28’ พร้อมสำรวจความกังวลต่อท่าทีเจ้าภาพในการยุติการใช้พลังงานฟอสซิล

การประชุมประเทศภาคี (Conference of the Parties) ครั้งที่ 28 หรือการประชุม COP28 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (UN Climate Change Conference) ขณะที่การประชุมเตรียมความพร้อมจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 29 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมี สุลต่าน บิน อาห์เหม็ด อัล จาเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบรรษัทบริหารธุรกิจน้ำมัน เป็นประธานการประชุม และมีรัฐบาลกว่า 200 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม 

ประเด็นสำคัญที่ COP28 จะมุ่งเน้นได้แก่

กิจกรรมที่น่าสนใจระหว่างการประชุมดังกล่าว เช่น

อย่างไรก็ดี มาเรียม อัลเมห์รี รัฐมนตรีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยว่า “โลกอาจยังไม่พร้อมที่จะยุติการใช้พลังงานฟอสซิล” พร้อมชี้ว่า “การยุติการใช้พลังงานฟอสซิลจะส่งผลเสียต่อบรรดาประเทศที่พึ่งพาเชื้อเพลิงเหล่านี้ในการเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งประเทศเหล่านั้นอาจไม่สามารถทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้โดยง่าย” จึงเสนอให้มีการใช้เทคโนโลยีดักจับและจัดเก็บก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดความเข้มของก๊าซก่อนที่จะปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ควบคู่ไปกับการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน

ขณะที่นักรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศแสดงความกังวลว่าข้อตกลงที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแบบไม่มีการควบคุมการปล่อยมลพิษจะยังคงทำให้ธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตเชื้อเพลิงดำเนินต่อไป และไม่มีการการันตีใด ๆ ว่าจะไม่มีการปลดปล่อยมลพิษออกมาในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลต่อท่าทีของ สุลต่าน อัล จาเบอร์ ว่าจะไม่มีการขับเคลื่อนให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยสิ้นเชิง เนื่องจาก สุลต่าน อัล จาเบอร์ เคยเรียกร้องให้ใช้คำว่า “ทยอยลดลง” ซึ่งหมายความว่า ให้ทยอยลดการใช้ลงอย่างช้า ๆ ไม่ใช่ยุติการใช้อย่างสิ้นเชิง 

เข้าถึงตารางกิจกรรมตลอดการประชุมได้ที่ : https://unfccc.int/documents/632476 
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของการประชุมได้ที่ : https://www.cop28.com/ 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดออกเอกสารแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชดเชยทางการเงินให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบ
– ‘Glasgow Climate Pact’ ข้อตกลงจากการประชุม COP26 ที่ยังคงเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลก ‘1.5°C’ แต่ล้มเหลว ‘ยุติการใช้ถ่านหิน’
– การศึกษาใหม่พบว่าโลกเหลือพื้นที่ที่ยังคงมีสภาพทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์เพียง 3% เท่านั้น
– รายงานสถานะแนวปะการังจากข้อมูล 40 ปี พบว่า โลกสูญเสียแนวปะการังไปถึง 14% ภายในช่วงแค่สิบปีที่ผ่านมา
– ประชุม COFO ครั้งที่ 26 นานาประเทศหารือความเชื่อมโยงของป่าไม้-การเกษตร กับ ‘climate change’ หวังหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
– SDG Updates | Climate Change ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ – สิ่งที่รัฐต้องตระหนักจากรายงาน IPCC ล่าสุด 
SDG Updates | Flora of Thailand – พรรณพฤกษชาติของไทย นักพฤกษศาสตร์กับการพิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าไทย 
– COP 27 ย้ำการปกป้อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ เชื่อมโยงกับ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ เป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกออกจากกัน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.9) ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
– (7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผสมผสานการใช้พลังงานของโลก ภายในปี 2573
– (7.a) ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัย และเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด โดยรวมถึงพลังงานทดแทน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาด และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า
– (13.a) ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการบรรเทาที่ชัดเจนและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานและทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุน
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
– (17.9) เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมีการตั้งเป้าในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่จะดำเนินงานในทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : 
UN Climate Change Conference – United Arab Emirates Nov/Dec 2023 (United Nations Climate Change)
7 ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการประชุม COP28 ที่นครดูไบ สำคัญแค่ไหน ทำไมเราควรสนใจ (BBC Thai)
ยูเออี เจ้าภาพ COP28 ปลายปี 2023 ชี้ โลกอาจยังไม่พร้อมที่จะยุติการใช้พลังงานฟอสซิล (The Standard)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version