Site icon SDG Move

QS Sustainability Rankings 2024 มหาวิทยาลัยไทย 13 แห่ง ได้รับการจัดอันดับ ด้าน University of Toronto คว้าอันดับ 1 ของโลก 

วันที่ 5 ธันวาคม 2566 Quacquarelli Symonds หรือ QS ซึ่งเป็นสถาบันวิเคราะห์และจัดอันดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน (QS Sustainability Rankings 2024) โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือช่วยให้นักศึกษาได้สำรวจถึงความมุ่งมั่นที่จะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผ่านข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น ผลกระทบที่ศิษย์เก่าดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบของการวิจัยที่มีต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ 

ปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ของการจัดอันดับนี้ มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ร่วมจัดอันดับกว่า 1,400 แห่ง โดยเกณฑ์สำคัญของการจัดอันดับแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ผลกระทบเชิงสังคม (social impact) คิดเป็น 45% โดยมีตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
– ความเท่าเทียม
– การแลกเปลี่ยนความรู้
– ผลกระทบของการจัดการศึกษา
– โอกาสและการจ้างงาน
– สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

2. ผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (environmental impact) คิดเป็น 45% โดยด้วยตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
– ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
– การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
– การค้นคว้าวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม 

3. ระบบอภิบาล (governance) คิดเป็น 10% โดยมีตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
– ธรรมาภิบาล

มหาวิทยาลัยที่ได้อันดับ Top 10 ระดับโลก ได้แก่

อันดับที่ 1 University of Toronto (แคนาดา)
อันดับที่ 2 University of California, Berkeley (UCB) (สหรัฐอเมริกา)
อันดับที่ 3 The University of Manchester (สหราชอาณาจักร)
อันดับที่ 4 University of British Columbia (แคนาดา)
อันดับที่ 5 The University of Auckland (นิวซีแลนด์)
อันดับที่ 6 Imperial College London (สหราชอาณาจักร)
อันดับที่ 7 The University of Sydney (ออสเตรเลีย)
อันดับที่ 8 Lund University (สวีเดน)
อันดับที่ 9 The University of Melbourne (ออสเตรเลีย)
อันดับที่ 10 Western University (แคนาดา)

สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยที่ติดการจัดอันดับทั้งสิ้น 13 แห่ง ได้แก่

อันดับที่ 197 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อันดับที่ 277 มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 283 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
อันดับที่ 361 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 417 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อันดับที่ 418 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อันดับที่ 433 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อันดับที่ 502 มหาวิทยาลัยสงขลานคนรินทร์
อันดับที่ 781 – 790 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
อันดับที่ 1101 – 1150 มหาวิทยาลัยนเรศวร
อันดับที่ 1201+ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี/ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หากเทียบกับปีแรก พบว่ามหาวิทยาลัยไทยติดการจัดอันดับเพิ่มขึ้นจาก 7 แห่ง เป็น 13 แห่งในปีนี้ และมีหลายมหาวิทยาลัยที่มีอันดับดีขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขยับจากอันดับ 301 – 320 มาเป็น อันดับ 283/ มหาวิทยาลัยมหิดล ขยับจากอันดับ 501 – 550 มาเป็น อันดับ 277 อย่างก้าวกระโดด และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยับจากอันดับ 451 – 500 มาเป็น อันดับ 418 ในปีนี้

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– จุฬาฯ และ มจธ. ติดอันดับ Top 100 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2021
– มหาวิทยาลัยจาก ไทย และ ปากีสถาน ส่งผลงาน SDGs เพื่อจัดอันดับ THE Impact Rankings 2022 เพิ่มเท่าตั
– จุฬาฯ และ มช. ติดอันดับ Top 100 ของโลกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2022
THE Impact Rankings 2023: มหาวิทยาลัยไทยกว่า 9 แห่ง ติด Top 400 ของโลก


ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
– (4.7) สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
– (16.6) พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา : QS World University Rankings: Sustainability 2024 (QS)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version