เผยแพร่แล้ว SDG Progress Report 2024 – พบ SDG1 และ SDG9 มีความก้าวหน้าขึ้นมาก แต่อาจยังไม่สามารถบรรลุได้ในปี 2573

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิกแห่งสหประชาชาติ (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) เผยแพร่รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2567 (SDG Progress Report 2024) ซึ่งให้ภาพรวมเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายระดับโลกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเด็นสำคัญมุ่งไปที่การเตือนว่าภูมิภาคนี้จะไม่สามารถบรรลุ SDG17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ได้ก่อนปี พ.ศ. 2605  โดยเรื่องเพศและพื้นที่ถูกยกเป็นปัจจัยสำคัญในระดับการตัดสินใจเกี่ยวกับความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่ปรากฏในรายงานข้างต้น เช่น 

  • มีการอภิปรายเรื่องราวความสำเร็จและแนวโน้มต่าง ๆ โดยเน้นไปที่ความท้าทายที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งต้องเผชิญในภาคส่วนต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมถึงเรื่องเพศ การขยายตัวของเมือง ระดับการศึกษา อายุ และรายได้ ซึ่งล้วนมีส่วนหนุนเสริมให้ความไม่เสมอภาคต่าง ๆ ที่ดำรงอยู่เดิมมีความรุนแรงมากขึ้น
  • ค้นพบว่า SDGs ที่มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ SDG1 (ขจัดความยากจน) และ SDG9 (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม) อย่างไรก็ตามอาจยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุได้ภายในปี 2573 นอกจากนี้ยังมีความพยายามขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้น สำหรับ SDG2 (ขจัดความหิวโหย) SDG3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG6 (น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล) SDG7 (พลังสะอาดที่เข้าถึงได้ ) และ SDG11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) 
  • การประเมินผลให้ความสำคัญกับการดำเนินการที่เกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ SDG13 ในฐานะประเด็นที่มีความสำคัญหลักในปัจจุบัน รวมถึงการให้ความสำคัญกับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (small island developing States: SIDS) ในฐานะกลุ่มประเทศที่ต้องการการสนับสนุนเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว มีทรัพยากรจำกัด และเปาะบางต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • มีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับความร่วมมือและการแบ่งปันข้อมูล SDGs ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากภายในประเทศและหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการเติมเต็มช่องว่างที่ยังมีอยู่
  • ตัวอย่างกรณีศึกษาระดับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อน SDGs เช่น โครงการฝึกอบรมด้านดิจิทัลในประเทศเวียดนาม ซึ่งเน้นบทบาทที่ก่อให้เกิดผลอย่างจริงจังของภาครัฐและเอกชนในการเร่งรัดการพลิกโฉมทางดิจิทัล การเป็นสะพานแห่งทักษะ และการปิดช่องว่างในการจ้างงานในหมู่เยาวชนและแรงงานอพยพ

นอกจากนี้ Armida Salsiah Alisjahbana เลขาธิการ ESCAP ยังเน้นย้ำด้วยว่า “ขณะที่มีความพยายามและความต้องการเพิ่มขึ้นทั่วทุกมุมโลก ข้อมูลยิบย่อยเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของการจัดการความไม่เท่าเทียม ซึ่งเป็นผลกระทบต่อกลุ่มคนชายขอบ รวมถึงสตรี เด็กผู้หญิง ชาวชนบท และคนเมือง ผู้ซึ่งถูกกีดกันกักขังจากการเข้าถึงการศึกษาและโอกาสในการทำงาน” 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
Director’s Note: 18: SDG Move บนเวทีเปิดตัวรายงาน Asia and the Pacific SDGs Progress Report 2022
 SDG Updates | สำรวจศตวรรษแห่งความเหลื่อมล้ำผ่านรายงาน World Inequality Report 2022
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกร่วมประชุมเตรียมพร้อมเพื่อทบทวนครึ่งเทอมแรกของการขับเคลื่อน SDG7 เน้นย้ำความสำคัญของการทำครัวโดยใช้พลังงานสะอาด
SDG Updates | เปิดรายงานความก้าวหน้า SDGs ในเอเชียและแปซิฟิก ความมุ่งมั่นบรรลุทันในปี 2030 คงไกลเกินเอื้อม
WBA เผยผลสำรวจความเท่าเทียมทางเพศในบริษัทชั้นนำ ชี้ผู้หญิงจำนวนมากเผชิญความรุนแรงและการล่วงละเมิดในที่ทำงาน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : Progress Report Projects 32-year Delay in Achieving SDGs in Asia-Pacific (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น