Site icon SDG Move

5 ประเด็นที่ ‘ธนาคารโลก’ เสนอไทยให้ปรับปรุง เพื่อลดความยากจน-ขยายความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง มีอะไรบ้าง

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ธนาคารโลก (World Bank: WB) เผยแพร่ “รายงานการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ฉบับปี 2567 (Systemic Country Diagnostic Update: SCD Update) สำหรับประเทศไทย” ซึ่งได้วิเคราะห์ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาประเทศแบบรอบด้าน เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกประเทศทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ  เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (geo-politics) ที่เพิ่มขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสร้างแรงกดดันให้ทั้งภาคเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และประชากรอีกด้วย

รายงานฉบับนี้ ได้พยายามทบทวนรากฐานเดิมและหาแนวทางรับมือกับปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก และเร่งลดปัญหาความยากจนและกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่ยั่งยืนอย่างรอบด้าน  เนื่องจากที่ผ่านมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงมีข้อจำกัด แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จะเร่งตัวขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ยังช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน รวมถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงเนื่องจากการลงทุนที่ลดลงผลิตภาพที่เติบโตช้าลง และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความมั่งคั่งที่สูงขึ้น 

รายงานนำเสนอแนวทางการปรับปรุง 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 

อย่างไรก็ดี รายงานการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ฉบับก่อนหน้าซึ่งตีพิมพ์และเผยแพร่ในปี 2559 เป็นรากฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและความท้าทายที่เกี่ยวข้อง ส่วนฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567 นี้เป็นการต่อยอดจากรากฐานเดิมและมุ่งแก้ไขปัญหาตามการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลก เพื่อปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบได้ดียิ่งขึ้น

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศที่เหมาะสม รวมถึงการคุมครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
– (4.7) สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.3) ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.3)  ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.6)  พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ

แหล่งที่มา : 
ธนาคารโลกสรุป 5 ประเด็นสำคัญเพื่อปฏิรูปและพลิกฟื้นการเติบโตของประเทศไทย – worldbank
Thailand Systematic Country Diagnostic Update 2024 Shifting gears: Toward sustainable growth and inclusive prosperity – worldbank

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version