Site icon SDG Move

Ocean Decade Conference 2024 ประเทศทั่วโลกเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเฝ้าระวังติดตามมลพิษทางทะเล 

วันที่ 10 – 12 เมษายน 2567 รัฐบาลของประเทศสเปนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทศวรรษแห่งมหาสมุทร (Ocean Decade Conference) ประจำปี 2567 ณ เมืองบาร์เซโลนาประเทศสเปน โดยมีองค์กรหุ้นส่วนร่วมมือจัดการประชุมดังกล่าว ได้แก่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission) รัฐบาลท้องถิ่นคาตาลูญญา สภาแห่งเมืองบาร์เซโลนา และหน่วยงานอื่น ๆ

การประชุมข้างต้นได้รวบรวมและเฉลิมฉลองความสำเร็จสามปีภายหลังจากริเริ่มทศวรรษแห่งมหาสมุทรขององค์การสหประชาชาติ โดยมีผู้แทนจากรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนอื่น ๆ เข้าร่วมสะท้อนความก้าวหน้า กำหนดทิศทางวิสัยทัศน์ร่วมกัน และลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องทำในช่วงที่เหลืออยู่ของทศวรรษ

รายงานสรุปการประชุม (summary report) โดย Earth Negotiations Bulletin (ENB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สื่อข่าวสารประจำวันด้านการเจรจาของสหประชาชาติในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของสถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The International Institute for Sustainable Development: IISD) ระบุถึงความสำคัญของมหาสมุทรว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งเป็นแหล่งให้ออกซิเจนแก่มนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ของโลก และเป็นฐานรากของ ‘เศรษฐกิจสีน้ำเงิน’ (blue economy) ที่หล่อเลี้ยงผู้คนหลายร้อยล้านคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมหาสมุทรกลับต้องเผชิญแรงกดดันจากมลพิษทางทะเล การประมงเกินขนาด อุณหภูมิมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้น และความเป็นกรดในมหาสมุทร (ocean acidification)

โดยมีสิ่งสำคัญ 3 ประการที่ระบุไว้ในถ้อยแถลงบาร์เซโลนา (Barcelona Statement) ได้แก่ 

ENB ระบุด้วยว่า “หลายคนยกย่องการประชุม Ocean Decade ว่าเป็นก้าวสำคัญบนเส้นทางสู่ช่วงเวลาสำคัญถัดไปของการเคลื่อนไหวระดับโลกสำหรับมหาสมุทร ซึ่งคือ การประชุม UN Ocean Conference ครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน 2568”

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ทศวรรษแห่งสมุทรศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับ 4 โซลูชันจากโครงการ Flagship ที่ออกสำรวจใต้ท้องทะเลลึก
– SDG Updates | ท่ามกลางคราบน้ำมัน และ Climate Change: ทะเลและมหาสมุทรยังเป็นความหวังใหม่
– SDG Recommends | เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเรากับทะเลและมหาสมุทรมากขึ้นผ่าน Ocean Literacy
– เสียงส่วนใหญ่ใน IUCN World Conservation Congress เห็นชอบห้ามทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึกชั่วคราว
– จังหวัดปาปัวตะวันตกคงความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลได้ดีขึ้น เพราะการกำหนดพื้นที่คุ้มครองและบทบาทนำของชุมชนรอบชายฝั่ง
 – 4 ประเทศลาตินอเมริกา ประกาศ “แนวระเบียงพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก” มากกว่า 500,000 ตร.กม.

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
– (14.1) ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงขยะทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี 2568
– (14.2) บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงโดยการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟู เพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี 2563
– (14.4) ภายในปี 2563 ให้กำกับในเรื่องการเก็บเกี่ยวและยุติการทำประมงเกินขีดจำกัด การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลายอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อจะฟื้นฟูมวลสัตว์น้ำ (fish stock) ในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยที่สุดในระดับที่สามารถไปถึงระดับผลผลิตการประมงสูงสุดที่ยั่งยืน (maximum sustainable yield) ตามคุณลักษณะทางชีววิทยาของสัตว์น้ำเหล่านั้น
– (14.a) เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล เพื่อจะพัฒนาคุณภาพมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
#SDG 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : Conference Identifies Priorities for Remainder of Ocean Decade (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version