24 เมษายน 2567 – สำนักงานสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และศูนย์วิจัยและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมนำเสนอผลการดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือและระบบการประเมิน BCG (Bio-Circular-Green Economy) สำหรับการสนับสนุนผู้ประกอบการ ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ โดยมี ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สอวช. กล่าวเปิดงาน
ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชล บุนนาค ผู้อำนวยการ SDG Move ได้นำเสนอเครื่องมือตัวชี้วัด BCG (BCG Indicator) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยจะเป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพตนเองในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เชื่อมโยงแหล่งทุนและมาตรการสนับสนุนจากรัฐ และสร้างโอกาสต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการในการแข่งขันต่อไป รวมทั้งรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจ MSME ไปสู่ความยั่งยืน
จากการดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดร่วมกันระหว่าง สอวช. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ SDG Move ได้เป็นมิติของ BCG Indicator แบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่
- Sustainability management: หน่วยงานมีการจัดการความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
- Value Chain: หน่วยงานมีการผนวกแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับ Bio, Circular and Green Economy เข้าไปในห่วงโซ่คุณค่าของหน่วยงานตลอด Life Cycle ของสินค้าบริการ
- Governance: หน่วยงานมีระบบ กลไก นโยบาย ยุทธศาสตร์และการจัดการภายในอื่น ๆ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และ
- Innovation: หน่วยงานมีการใช้และพัฒนานวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG
และแนวทางการนําเครื่องมือและหลักเกณฑ์การประเมิน BCG ไปใช้ใน 3 ระดับ ได้แก่
- Self-assessment: ใช้เพื่อการประเมินตนเองของบริษัท
- Self-Declaration: เป็นวิธีการรับรองมาตรฐานที่อาศัยการดำเนินการภายในของหน่วยงานเจ้าของเกณฑ์ และ
- 3. Inspection Body และ Certification Body: ควรเป็นการดําเนินงานในระยะหลังจากที่เจ้าของเกณฑ์มีหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.nxpo.or.th/th/24578/
.
Last Updated on เมษายน 30, 2024