Site icon SDG Move

Policy Brief | เร่งรัดขับเคลื่อนอนุรักษ์ทะเล ชายฝั่ง เเละความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการหนุนเสริม OECM เเละการพัฒนาระบบสารสนเทศ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals: SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ (The United Nations) เป็นเป้าหมายการพัฒนาสูงสุดที่จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อทำให้มวลมนุษยชาติที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มีวิถีชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับความยั่งยืนของโลก สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้เข้าร่วมลงนามใน SDGs ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม รายงาน Sustainable Development Report 2565 ได้ระบุข้อมูลดัชนี SDGs หรือ SDG Index โดยผลการรายงานแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 44  จาก 165 ประเทศ มีค่าดัชนีเท่ากับ 74.1 จากคะแนนเต็ม 100 โดยเป้าหมายที่ 14 (Life below water: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน) และ เป้าหมายที่ 15 (Life on Land: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ) เป็นเป้าหมายที่มีสถานะอยู่ในขั้นวิกฤติ (แดง)  หมายถึงตัวชี้วัดที่แย่ที่สุดอย่างน้อยสองตัวอยู่ในสถานะวิกฤติ  โดยเป้าหมายย่อยที่ 14.5 และ 15.5 เป็นตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มของคะแนนหยุดนิ่งอยู่กับที่หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 50% ของอัตราที่กำหนดภายในปี พ.ศ. 2573  

นอกจากนี้ จากรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งได้ทำการประเมินสถานะของเป้าหมายย่อยทั้งหมด 169 เป้าหมายย่อย โดยเป้าหมายย่อยที่ 14.5 จัดอยู่ในสถานะมีค่าต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย (สีแดง) และเป้าหมายย่อยที่ 15.5 จัดอยู่ในสถานะมีค่าต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50-74 ของค่าเป้าหมาย (สีส้ม)

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วง พ.ศ. 2565-2573 ได้รับการปรับปรุงและมีสถานภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเป้าหมายย่อยที่ 14.5 และ 15.5 จึงได้มีการดำเนินการวิจัยเรื่อง ‘การเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง (SDG sub-target 14.5) และการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ (SDG Sub-target 15.5)’ ด้วยความหวังที่จะหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและเสนอแนะนโยบายซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการขับเคลื่อนให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบรรลุสถานะเป้าหมาย  

งานวิจัยข้างต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบทานกระบวนการเก็บข้อมูลและการรายงานสถานะปัจจุบันและเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเป้าหมายย่อยที่  14.5 และ 15.5   โดยกรอบการวิจัยจะดำเนินการภายใต้ SDG System Buildings เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อที่มีต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จใน 7 ประเด็นและมองเห็นช่องว่างเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) ความสอดคล้องเชิงนโยบาย อำนาจหน้าที่หน่วยงาน กฎกติกา/กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 2) เครือข่ายและความร่วมมือในการผลักดันประเด็นเชิงนโยบาย 3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จำเป็น องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ประสบการณ์ในการทำงาน และภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา  4) ระบบข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับประเด็น เช่น ฐานข้อมูล แหล่งข้อมูลสถิติ แหล่งข้อมูลความรู้ ฯลฯ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีการอัพเดตต่อเนื่อง  รวมถึงระบบการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล SDG Dashboard 5) ระบบบริหารจัดการและความเป็นผู้นำในประเด็น ผู้รับผิดชอบและผู้นำในการขับเคลื่อน 6) การเสริมสร้างศักยภาพและทรัพยากรมนุษย์   รวมทั้งเสริมสร้างบทบาทและขีดความสามารถของท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การใช้ประโยชน์  สร้างนักวิทยาศาสตร์ภาคประชาชน (Citizen Scientist) และ 7) ทรัพยากรทางการเงิน (งบประมาณ) รวมทั้งกลไกในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนา

ข้อค้นพบที่น่าสนใจจากงานวิจัยข้างต้นต่อเป้าหมายย่อยที่ 14.5 ได้แก่

ข้อค้นพบที่น่าสนใจจากงานวิจัยข้างต้นต่อเป้าหมายย่อยที่ 15.5 ได้แก่

นอกจากนี้งานวิจัยข้างต้นยังระบุถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อเป้าหมายย่อยที่ 14.5  และ 15.5 ถึงสองเรื่องหลักคือการขยายพื้นที่อนุรักษ์ทางทางทะเลและบนบกเพื่อเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ  และการพัฒนาระบบสารสนเทศของกระบวนขับเคลื่อน SDGs ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ    โดยที่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องและสามารถจะขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดผลได้ทั้งกับเป้าหมายย่อยที่ 14.5 และเป้าหมายย่อยที่ 15.5  รวมทั้งเป้าหมายอื่น ๆ ของ SDGs  ดังนี้

กล่าวโดยสรุป การขยับขับเคลื่อนเพื่อยกระดับและบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยเฉพาะเป้าหมายย่อยที่ 14.5 และ 15.5 ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัยข้างต้น จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินการที่เข้มแข็งและมีนโยบายที่ชัดเจนจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐ ซึ่งเป็นตัวแสดงหลักของการจัดการเรื่องนี้ อีกทั้งยังต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกัน และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมจัดการเพื่ออนุรักษ์ทะเล ชายฝั่ง และระบบนิเวศบนบกได้

อติรุจ ดือเระ– ผู้เรียบเรียง
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ


ติดตามสรุปเสวนา :  SDG Updates | สรุปเสวนา “การเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ” (โครงการย่อยที่ 3)

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล 
– (14.5) ภายในปี พ.ศ. 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก 
– (15.1) สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563
– (15.3) ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573
– (15.4) สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573
– (15.5) ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

Policy Brief ฉบับนี้เป็นบทความในชุดข้อมูลภายใต้โครงการวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) แบบข้ามภาคส่วนเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา สนับสนุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) 3. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง (Urban Futures & Policy)  6. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 7. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ 9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567

Author

Exit mobile version