Site icon SDG Move

Policy Brief | หนุนเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนและความร่วมมือกับภาคประชาสังคม เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนบรรลุ SDGs ในไทย

การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เนื่องจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SDGs มีความหลากหลาย ครอบคลุมทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่นนั้น การมีส่วนร่วม แบ่งปันประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนที่มีบทบาทและความเชี่ยวชาญแตกต่างกันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในไทย ยังสามารถยกระดับให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นได้กว่าที่ผ่านมา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะผู้วิจัยจึงดำเนินโครงการวิจัย “ปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมข้ามภาคส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs: การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม” เพื่อสำรวจสถานการณ์การมีส่วนร่วมข้ามภาคส่วนในไทย และศึกษากรณีต่างประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมข้ามภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อน SDGs ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การนำมาปรับใช้และออกแบบแนวทางเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในไทย 

โครงการวิจัยข้างต้น มีข้อค้นพบที่น่าสนใจเรื่องปัจจัยในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมข้ามภาคส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs โดยมีจุดเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคม ทั้งกรณีศึกษาจากต่างประเทศและในไทย ด้วยการวิเคราะห์ผ่านระบบอภิบาล SDGs (SDGs Building Block) ซึ่งพบว่า หัวใจสำคัญ คือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันมากกว่าที่ผ่านมา โดยทำให้ภาพโครงสร้างใหญ่ที่สนับสนุนการทำงานและการขับเคลื่อน SDGs มีโครงสร้างเชิงสถาบันที่มั่นคงและมีกลไกการมีส่วนร่วมการทำงานภาคส่วนที่ชัดเจนและทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง มีการเปิดพื้นที่ทางนโยบายให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีโอกาสในการทำงานร่วมกันและการได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อการทำงาน อีกทั้งต้องหนุนเสริมให้สามารถสร้างความสัมพันธ์กับโครงสร้างสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ดังกรณี กฎหมาย NPO Law ของประเทศญี่ปุ่นที่มีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งและรองรับบทบาทของภาคประชาสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ขณะที่ข้อค้นพบจากกรณี ศึกษากลุ่ม 5P ที่ประสบความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนการทำงานข้ามภาคส่วนและการบรรลุการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs ประกอบด้วย People (สังคม) ศึกษากลุ่มคอมโควิด-19 (Community-led COVID-19 Support Workforce)  กับบทบาทขับเคลื่อนการจัดทำ ‘Home Isolation’ และ ‘Community Isolation’ ในช่วงโควิด 19 / Planet (สิ่งแวดล้อม) ศึกษามูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนกับการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรยั่งยืน ระบบอาหารที่ยั่งยืน/ Prosperity (เศรษฐกิจ) ศึกษามูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยกับขบวนการที่อยู่อาศัยคนจน/ Peace (สันติภาพ) ศึกษากลุ่มลูกเหรียง ในเรื่องของการสร้างสะพานเชื่อมรัฐ-ประชาคมเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนสตรีในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง และ Partnership (ความเป็นหุ้นส่วน) ศึกษาสภาลมหายใจเชียงใหม่ในเรื่องการสร้างภาคีเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาวิกฤติ PM2.5 ที่เชียงใหม่ โดยพบว่ากลุ่ม/องค์กรเหล่านี้มีจุดร่วมที่มีเหมือนกัน ได้แก่

นอกจากนี้ยังพบว่าเงื่อนไขสำคัญที่จำเป็นและเอื้อต่อการขับเคลื่อน การทำงานเพื่อเสริมพลังของภาคประชาชนในฐานะ “หุ้นส่วนของการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในระยะยาว มีดังนี้

จากข้อค้นพบข้างต้น คณะผู้วิจัย ได้ทบทวนจนนำไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ 2 ส่วน      ส่วนแรก ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs โดยเน้นไปที่ประเด็นพื้นที่ทางนโยบาย (policy space) และกลไกทางการเงินเพื่อการสนับสนุนองค์กรทางการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายใน 3 ประเด็น ได้แก่ 

ส่วนที่สอง ข้อเสนอเชิงนโยบายการสนับสนุนการมีส่วนร่วมเชิงนโยบายขององค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายใน 2 ประเด็น ได้แก่ 

อติรุจ ดือเระ– ผู้เรียบเรียง
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ


ติดตามสรุปเสวนา :  SDG Updates | สรุปเสวนา “ปัจจัยการสนับสนุนการมีส่วนร่วมข้ามภาคส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายหมาย SDGs: การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” (โครงการย่อยที่ 5)

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

Policy Brief ฉบับนี้เป็นบทความในชุดข้อมูลภายใต้โครงการวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) แบบข้ามภาคส่วนเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา สนับสนุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) 3. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง (Urban Futures & Policy)  6. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 7. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ 9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567

Author

Exit mobile version