Site icon SDG Move

Policy Brief | บำบัดน้ำเสีย จัดการน้ำดี เพื่อสุขภาวะของคนเเละสิ่งเเวดล้อม วิเคราะห์และให้ข้อเสนอเชิงนโยบายผ่านกรอบ “INSIGHT” โครงการย่อยที่ 2  (เป้าหมายย่อยที่ 6.3) 

​​เป้าหมายย่อยที่ 6.3 หรือ SDG 6.3 (ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573) เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ “การวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของกลุ่มการจัดการของเสียและมลพิษ” โดยมีที่มาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานะที่มีการพัฒนาอย่างไม่คืบหน้า เพราะหากพิจารณา SDG Index 2023 พบว่า SDG 6.3 เป้าหมายย่อยที่มีความท้าทายมากหรืออยู่ในสถานะสีแดง ในขณะที่เป้าหมายย่อยอื่นของ SDG 6 กลับอยู่ในสถานะที่บรรลุเป้าหมายแล้วหรืออยู่ในสถานะสีเขียว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาและแสวงหาแนวนโยบายที่จะช่วยขยับขับเคลื่อน SDG 6.3  ให้มีสถานะที่ก้าวหน้าและดีขึ้น

การศึกษาช่องว่างของอุปสรรคเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้โครงการวิจัยนี้ ดำเนินงานภายใต้กรอบการวิจัยที่เรียกว่า SDG System Buildings Blocks ซึ่งมองเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ โดยอาจเรียกกรอบแนวคิดอย่างย่อว่า “INSIGHT” ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความสอดคล้องกันของกฎกติกาและนโยบายที่เกี่ยวข้อง (I: Institutional and Policy Coherence) 2) เครือข่ายและความร่วมมือในการผลักดัน (N: Network and Partnership) 3) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (ทั้งทางวิชาการ ประสบการณ์ทำงาน และภูมิปัญญาท้องถิ่น) และเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จำเป็น (S: Science, Technology, and Innovation) 4) ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น (เช่น ฐานข้อมูล แหล่งข้อมูลสถิติ แหล่งข้อมูล ความรู้ ฯลฯ) ที่เข้าถึงได้ง่ายและมีการอัพเดทต่อเนื่อง (I = Information System and Statistic) 5) ระบบบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายย่อย 6.3 และผู้รับผิดชอบ/ผู้นำในการขับเคลื่อน (G: Governance and Leadership) 6) ทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างศักยภาพ (H: Human Resource and Capacity Building) และ7) ทรัพยากรทางการเงินสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนา (T: Treasury)

งานวิจัยข้างต้นมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ โดยแบ่งตามแนวคิด “INSIGHT” ดังนี้ 

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังให้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญต่อเป้าหมายย่อยที่ 6.3 โดยแบ่งเป็นสองด้าน ดังนี้

1) ข้อเสนอด้านการรายงานข้อมูล ได้แก่ 

2) ข้อเสนอด้านกฎหมาย/กฎระเบียบ ได้แก่

กล่าวโดยสรุป การจัดการบำบัดน้ำเสียและดูแลคุณภาพให้คงคุณภาพที่ดี มีความสะอาด ไม่กระทบต่อชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อม นั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยขับเคลื่อนหลายปัจจัย โดยเฉพาะการทำงานอย่างขันแข็งของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ รวมถึงการมีกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การยกระดับและขับเคลื่อน SDG 6.3 ให้มีความก้าวหน้าและอยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้

อติรุจ ดือเระ– ผู้เรียบเรียง
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ


งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
– (6.3) ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573

Policy Brief ฉบับนี้เป็นบทความในชุดข้อมูลภายใต้โครงการวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) แบบข้ามภาคส่วนเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา สนับสนุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) 3. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง (Urban Futures & Policy)  6. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 7. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ 9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567

Author

Exit mobile version