Site icon SDG Move

Policy Brief | “เกษตรกรรมยั่งยืน” โจทย์ท้าทายบรรลุ SDG2 ปลดล็อก-ขับเคลื่อนให้ก้าวหน้า ด้วยมาตรการทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ โครงการย่อยที่ 2 (เป้าหมายย่อยที่ 2.4)

เป้าหมายย่อยที่ 2.4 หรือ SDG 2.4 (สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573) เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ “การวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของกลุ่มการจัดการของเสียและมลพิษ” เนื่องจากหากพิจารณาจาก SDG Index 2023 พบว่า SDG 2.4 จัดอยู่ในสถานะมีค่าต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย (สีแดง) ที่กำหนดให้มีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนจำนวน 10 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ. 2573

ดังนั้น ควรมีการดำเนินการวิจัยอย่างเร่งด่วนเพื่อสืบหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและเสนอแนะนโยบายซึ่งนำไปสู่กระบวนการขับเคลื่อนให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุสถานะเป้าหมาย ซึ่งสาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากหลายปัจจัยที่มีส่วนเอื้อต่อการดำเนินงานของ SDGs เช่น ความสอดคล้องเชิงนโยบาย อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน กฎกติกาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เครือข่ายและความร่วมมือในการผลักดันประเด็นเชิงนโยบาย ระบบข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ระบบบริหารจัดการและความเป็นผู้นำในประเด็นและทรัพยากรที่ใช้ในการขับเคลื่อน

งานวิจัยข้างต้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การสอบทานกระบวนการเก็บข้อมูลและการรายงานสถานะปัจจุบันของเป้าหมายย่อยที่ 2.4 และเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเป้าหมายย่อยที่ 2.4 และเพี่อวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อที่มีต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จใน 7 ประเด็นภายใต้กรอบ “INSIGHT” ประกอบด้วย 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความสอดคล้องกันของกฎกติกาและนโยบายที่เกี่ยวข้อง (I: Institutional and Policy Coherence) 2) เครือข่ายและความร่วมมือในการผลักดัน (N: Network and Partnership) 3) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (ทั้งทางวิชาการ ประสบการณ์ทำงาน และภูมิปัญญาท้องถิ่น) และเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จำเป็น (S: Science, Technology, and Innovation) 4) ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น (เช่น ฐานข้อมูล แหล่งข้อมูลสถิติ แหล่งข้อมูล ความรู้ ฯลฯ) ที่เข้าถึงได้ง่ายและมีการอัพเดทต่อเนื่อง (I = Information System and Statistic) 5) ระบบบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายย่อย 6.3 และผู้รับผิดชอบ/ผู้นำในการขับเคลื่อน (G: Governance and Leadership) 6) ทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างศักยภาพ (H: Human Resource and Capacity Building) และ7) ทรัพยากรทางการเงินสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนา (T: Treasury)

ข้อค้นพบที่น่าสนใจจากงานวิจัย มีดังนี้ 

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการขับเคลื่อน SDG 2.4 โดยแบ่งตามมาตรการด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

กล่าวโดยสรุป เกษตรกรรมยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการจัดการและความร่วมมือที่จริงจังจากหลายภาคส่วน และต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเงินเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก นอกจากนี้การจัดต้องหน่วยงานหรือสถาบันที่จะเข้ามามีบทบาทหน้าที่ดูแลประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืนโดยตรง จะเป็นผลดีต่อการดำเนินงานที่มีความรวดเร็วและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนเกินความจำเป็นลงได้ 

อติรุจ ดือเระ– ผู้เรียบเรียง
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ


งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
– (2.4) สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

Policy Brief ฉบับนี้เป็นบทความในชุดข้อมูลภายใต้โครงการวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) แบบข้ามภาคส่วนเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา สนับสนุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) 3. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง (Urban Futures & Policy)  6. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 7. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ 9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567

.

Author

Exit mobile version