Site icon SDG Move

Policy Brief | การบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน โครงการย่อยที่ 2 (เป้าหมายย่อยที่ 12.4)

​​เป้าหมายย่อยที่ 12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ “การวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของกลุ่มการจัดการของเสียและมลพิษ” โดยมีที่มาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานะที่มีการพัฒนาอย่างไม่คืบหน้า เพราะหากพิจารณา SDG Index 2023 พบว่า เป้าหมายย่อยที่ 12.4 จากการประเมินตัวชี้วัดที่ใช้สถานะอยู่ในระดับท้าทายหรืออยู่ในสถานะสีส้ม จึงได้มีการดำเนินการวิจัย เพื่อที่จะสืบหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและเสนอแนะนโยบายซึ่งนำไปสู่กระบวนการขับเคลื่อนให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุสถานะเป้าหมายนั้น

จากงานวิจัยข้างต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบทานกระบวนการเก็บข้อมูลและการรายงานสถานะปัจจุบันของเป้าหมายย่อยที่ 12.4 พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อที่มีต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จใน 7 ประเด็นและมองเห็นช่องว่างเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) ความสอดคล้องกันของกฎกติกาและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษา 2) เครือข่ายและความร่วมมือในการผลักดันประเด็นที่ต้องการศึกษา 3) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งวิชาการ ประสบการณ์ทำงาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จำเป็น 4) ระบบบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนเรื่องที่ต้องการศึกษา และผู้รับผิดชอบ/ผู้นำในการขับเคลื่อน 5) ระบบบริหารจัดการและความเป็นผู้นำในประเด็น ผู้รับผิดชอบและผู้นำในการขับเคลื่อน 6) ทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างศักยภาพ และ 7) ทรัพยากรทางการเงินสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนา

งานวิจัยข้างต้นมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ ดังนี้

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยให้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

1) มาตรการด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ

2) มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์และภาษี

3) การทำงานข้ามภาคส่วน

กล่าวโดยสรุป การจัดการขยะและของเสียต่าง ๆ ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ จะช่วยสร้างความตระหนักให้เกิดการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการต่อไป ผ่านการใช้นโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐมีอยู่โดยมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ เน้นย้ำถึงการปรับปรุงและติดตามข้อมูลที่ต่อเนื่องและถูกต้อง ซึ่งมีผลต่อการใช้ในการรายงานสำหรับ SDGs เพื่อให้ข้อมูลที่ได้รับในประเทศ/ระดับสากลเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเป็นข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลเดียวกัน 

แพรวพรรณ ศิริเลิศ – ผู้เรียบเรียง
อติรุจ ดือเระ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ


งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.4) บรรลุการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดภายในปี 2563

Policy Brief ฉบับนี้เป็นบทความในชุดข้อมูลภายใต้โครงการวิจัยและสนับสนุนระบบการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) แบบข้ามภาคส่วนเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา สนับสนุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) 3. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง (Urban Futures & Policy)  6. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 7. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ 9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567

Author

Exit mobile version