THE Impact Rankings 2024: มหาวิทยาลัยไทย 10 แห่ง ทะยานติด Top 300 ของโลก 

วันนี้ 12 มิถุนายน 2567 Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก จากประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ “THE Impact Rankings” ประจำปี 2567

การจัดอันดับข้างต้น ใช้การประเมินตัวชี้วัดภายใต้ 4 ขอบเขตหลัก  ได้แก่ 1) งานวิจัย (research) 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย (stewardship) 3) การเชื่อมโยงกับสังคมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก (outreach) และ 4) การเรียนการสอน (teaching) โดยผลคะแนนรวมของแต่ละมหาวิทยาลัย มาจากการคำนวณคะแนนของเป้าหมายที่ 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และอีก 3 เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้คะแนนสะท้อนด้านที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ โดย SDG 17 คิดเป็น 22% ของคะแนนรวม สำหรับ SDGs อื่น ๆ คิดเป็นเป้าหมายละ 26% หรือตามสูตรคำนวณดังนี้: (SDG17)(0.22) + (SDGx)(0.26) + (SDGy)(0.26) + (SDGz)(0.26)


ภาพรวมอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก

ปีนี้มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 2,152 แห่ง จาก 125 ประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีมหาวิทยาลัยร่วมจัดอันดับ 1,591  แห่ง) โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับทั้งสิ้น 1,963 เเห่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดอยู่ใน 5 อันดับแรก ได้เเก่

อันดับที่ 1 Western Sydney University (ออสเตรเลีย)
อันดับที่ 2 University of Manchester (สหราชอาณาจักร) และ University of Tasmania (ออสเตรเลีย)
อันดับที่ 4 Aalborg University (เดนมาร์ก)
อันดับที่ 5 RMIT University (ออสเตรเลีย)


ภาพรวมอันดับมหาวิทยาลัยในไทย

ปีนี้ มหาวิทยาลัยจากประเทศไทยส่งข้อมูลและได้รับการจัดอันดับทั้งสิ้น 77 แห่ง เพิ่มขึ้นจาก 65 เเห่ง เมื่อปี 2566 เเละ 51 เเห่ง เมื่อปี 2565 โดยพบว่ามีทั้งมหาวิทยาลัยรัฐขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชมงคลจากจังหวัดต่าง ๆ นับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของภาควิชาการในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อน SDGs

สำหรับมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ top 600 ของโลก ทั้งสิ้น 15 มหาวิทยาลัย จัดเป็นกลุ่มได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 100 ของโลก ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับ 19 ของโลก)
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับ 43 ของโลก)
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อันดับ 75 ของโลก)
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อันดับ 81 ของโลก)

กลุ่มที่ 2 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 101 – 200 ของโลก ได้แก่

  • สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
  • เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กลุ่มที่ 3 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 201 – 300 ของโลก ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลุ่มที่ 4 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 401 – 600 ของโลก ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
  • มหาวิทยาลัยพะเยา

ในระดับเป้าหมาย (goal) มหาวิทยาลัยจากประเทศไทย สามารถทำอันดับที่ดีได้อย่างน่าประทับใจ โดยสามารถอยู่ใน 20 อันดับสูงสุดของโลก ได้ทั้งสิ้น 6 เป้าหมาย (ลดลงจากปี 2566 ที่ทำได้ 7 เป้าหมาย) ดังนี้

SDG2 ขจัดความหิวโหย
อันดับที่ 12 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
อันดับที่ 17 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
อันดับที่ 18 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
อันดับที่ 15 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม เเละสถาบันเข้มเเข็ง
อันดับที่ 19 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพรวมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปีนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขยับมาติด top 100 ของโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังจากปี 2565 และ 2566 ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันดับ 101 – 200  โดยเป้าหมายที่มีคะแนนและอันดับโดดเด่น เช่น

  • SDG5 ได้อันดับที่ 28
  • SDG11 ได้อันดับที่ 51
  • SDG16 ได้อันดับที่ 19
  • SDG17 ได้อันดับที่ 201-300

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 THE Impact Rankings 2023: มหาวิทยาลัยไทยกว่า 9 แห่ง ติด Top 400 ของโลก 
–  จุฬาฯ และ มจธ. ติดอันดับ Top 100 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2021
– มหาวิทยาลัยจาก ไทย และ ปากีสถาน ส่งผลงาน SDGs เพื่อจัดอันดับ THE Impact Rankings 2022 เพิ่มเท่าตัว
จุฬาฯ และ มช. ติดอันดับ Top 100 ของโลกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2022

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Last Updated on กรกฎาคม 3, 2024

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น