Site icon SDG Move

สช. พัฒนา ‘E-Living Will’ ระบบสร้างสุขระยะสุดท้าย หวังคนไทยเลือกบริการสาธารณสุขช่วงก่อนเสียชีวิตได้ด้วยตัวเอง 

วันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 3/2567 ซึ่งมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต ตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งมุ่นเน้นกำหนดสิทธิของประชาชนในการแสดงความต้องการเข้ารับบริการสาธารณสุขในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ อันเป็นสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง (right to self-determination) 

นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการ คสช. ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงและโรคที่คุกคามต่อชีวิตเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการก้าวสู่สังคมสูงอายุ ท่ามกลางเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้บางครั้งการรักษาในระยะสุดท้ายไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ (medical futility) แต่กลับสร้างความทุกข์ทรมานและเป็นภาระของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งครอบครัว ญาติ บุคลากรทางการแพทย์และระบบบริการสาธารณสุขโดยรวมอย่างมาก ซึ่งผลการศึกษาวิจัยพบว่าการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองร่วมกัน จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของครอบครัวและภาครัฐลดลงได้มาก สอดรับกับการยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล ที่กำหนดให้มีสถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ทั้งนี้ มติดังกล่าวมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดการ โดยล่าสุดมีความคืบหน้าการดำเนินการที่น่าสนใจ เช่น

อย่างไรก็ตาม ศ. ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แม้การสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต ตามมาตรา 12 รวมถึงการดูแลแบบประคับประคอง จะเป็นหลักการที่ดีที่ช่วยลดภาระของครอบครัวและภาครัฐได้ ซึ่งทางการแพทย์ก็สามารถให้คำอธิบายได้ว่านี่ไม่ใช่การฆ่าชีวิตใด ๆ แต่อย่างไรก็ตามมองว่ายังมีประเด็นสำคัญที่จะต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคม อย่างในเชิงของศาสนาที่ว่าจะเป็น ‘บาป’ หรือไม่ รวมถึงในเชิงของสังคมไทยที่มองว่าจะเป็นการ ‘อกตัญญู’ หรือไม่

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
“การดูแลแบบประคับประคอง ถือเป็นสิทธิมนุษยชน” แต่มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่ได้รับบริการนี้
 เมื่อบางครั้ง ‘ผู้ดูแล’ ก็เหนื่อยล้า ทำความเข้าใจภาระหน้าที่การดูแลผู้ป่วยติดเตียง อะไรคือปัญหาและอุปสรรค
 Palliative Care สู่มิติใหม่แห่งการเยียวยาที่ยั่งยืน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

แหล่งที่มา : สช. พัฒนา ‘E-Living Will’ สร้างสุขระยะท้าย หนุน ปชช. แสดงเจตนาฯ ได้ทุกที่ทุกเวลา (สช)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version