Site icon SDG Move

ฟุตบอลยูโร 2024 ใช้ “แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดการแข่งขันโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล 

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2024 (UEFA EURO 2024) เดินทางมาถึงรอบ 8 ทีมแล้ว ระหว่างที่หลายคนรอลุ้นด้วยใจระทึกว่าทีมใดจะคว้าชัยชูถ้วยได้สำเร็จ SDG News ฉบับนี้ชวนมาส่อง ‘ความยั่งยืน’ ซึ่งฟุตบอลยูโรปีนี้ขับเคลื่อนและให้ความสำคัญ 

หลักคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับทัวร์นาเมนต์นี้ ได้แก่

ขณะที่การดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทัวร์นาเมนต์ที่น่าจดจำ ได้พุ่งเป้าไปที่ 3 เรื่องหลัก ได้แก่

ด้านสิ่งแวดล้อม เน้น 3 เรื่อง ได้แก่ 

  1. ปฏิบัติการเพื่อจัดการกับสภาพภูมิอากาศ (climate action) โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (carbon footprint) ผ่านการปรับตารางการแข่งขัน การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (รวมถึงการสร้างแรงจูงใจการเดินทางด้วยรถไฟ) และการมีมาตรวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ยังมีการรับผิดชอบต่อการปล่อยคาร์บอนที่ไม่ได้ผ่านการจัดตั้งกองทุนสหภาพภูมิอากาศเพื่อชดเชยอีกด้วย 
  2. โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (sustainable infrastructure) : สนามจัดการแข่งขันและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้รับการปรับปรุงให้มีความยั่งยืน ทำให้การใช้น้ำและพลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) : ยึดเอาโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ โดยจัดการปัญหาขยะใน 10 สนามกีฬาที่ใช้แข่งขัน ด้วยหลักการ 4​ R ได้แก่ การใช้ซ้ำ (reusing) การลดการใช้ (reducing) รีไซเคิล (recycling) และ การคัดแยกสิ่งที่ใช้ซ้ำได้นำกลับมาใช้ใหม่ (recovering) 

ด้านสังคม เน้น 3 เรื่อง ได้แก่

  1. สิทธิมนุษยชน (human rights) : ยึดแนวทางตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งมาตรการที่จะสร้างหลักประกันถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมการแข่งขันและผู้ชม รวมถึงการมีกลไกตอบสนองการร้องเรียนที่รวดเร็ว เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติ ปกป้องผู้ชม และให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 
  2. การเข้าถึง (accessibility) : ร่วมมือในการจัดการให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงการแข่งขันได้อย่างสะดวก
  3. ความหลากหลายและความครอบคลุม (diversity and inclusion) : ทำให้ทุกคนได้รับการต้อนรับและปฏิบัติที่ดีตลอดการแข่งขัน 

ด้านธรรมาภิบาล  เน้น 3 เรื่อง ได้แก่

  1. ความโปร่งใส (transparency) : ยึดหลักความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบ มาใช้เพื่อสร้างงานการแข่งขันที่สอดคล้องกับหลักการสากล
  2. การรายงาน (reporting) : หลังจบการแข่งขัน รายงานเฉพาะสำหรับการดำเนินการยุทธศาสตร์ ESG จะเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์
  3. การเรียนรู้และแบ่งปัน (learning and sharing) : มีการแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการถกสนทนาระหว่างเมืองเจ้าภาพ หุ้นส่วน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อก่อร่างสร้างมรดกที่ยั่งยืนส่งต่อสู่โลกในอนาคต 

แนวคิดและการดำเนินงานของทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลระดับภูมิภาคและได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเช่นนี้ นับอีกก้าวสำคัญของวงการกีฬาที่หันมาให้ความสำคัญการขับเคลื่อนเพื่อร่วมบรรลุ SDGs ซึ่งที่ผ่านมาทัวร์นาเมนต์กีฬาระดับโลก เช่น ฟุตบอลโลก 2022 และ โอลิมปิก 2020 ก็พยายามดำเนินการมาแล้ว 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 ชวนอ่านรายงานความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนของฟุตบอลโลก 2022: จากวิสัยทัศน์เปิดประตูการพัฒนาถึงการผลักดัน 5 เสาหลักเพื่อความยั่งยืน
– Human Rights Watch เผยแพร่คู่มือสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้สื่อข่าวในมหกรรมฟุตบอลโลก 2022
– ESCAP เผยเเพร่รายงานฉบับใหม่ ชี้เเรงงานในเอเชีย-เเปซิฟิกกว่า 2.1 พันล้านคน เข้าไม่ถึงงานที่มีคุณค่าเเละการคุ้มครองทางสังคม
– Voice of SDG Move | 01 พัฒนาการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: ประวัติศาสตร์ของรากฐานแห่งความยั่งยืน
– ILO รับข้อตกลงแรงงานระดับโลกฉบับแรก เสริมคุณค่าด้านสภาพการทำงานและสิทธิ ให้ครอบคลุมนักฟุตบอลอาชีพทั้งชายและหญิง

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานที่สะอาด และเข้าถึงได้ 
– (7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม เเละอุตสาหกรรม
– (9.4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี 2573
#SDG11 เมืองเเละชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรในเขตเมือง รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดการของเสียของเทศบาล และการจัดการของเสียอื่น ๆ ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.6) พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
– (16.10) สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : UEFA EURO 2024: Sustainability in action (UEFA)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version