Site icon SDG Move

สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน เผยคนหนุ่มสาววัยทำงานรู้สึกโดดเดี่ยว – สนับสนุนการลงทุน ‘ความปลอดภัยทางสุขภาพจิต’

ปัญหาทางสุขภาพจิตถือเป็นภัยคุกคามชีวิตของ ‘คนหนุ่มสาว’ ในยุคปัจจุบัน จากผลสำรวจการทำงานในสหรัฐอเมริกาปี 2567 ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (The American Psychological Association :APA) พบว่าคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี เกือบครึ่งรู้สึกเหงาและถูกละเลย พร้อมชี้ว่านายจ้างควรลงทุนในกลยุทธ์ที่สนับสนุนความเป็นอยู่และสุขภาพจิตของคนทำงาน

จากผลสำรวจการทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2567 โดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน โดยได้ทำการสอบถามความคิดเห็นคนทำงานชาวอเมริกัน จำนวน 2,027 คน เกี่ยวกับประสบการณ์ในที่ทำงานพบว่าคนวัยทำงาน เกือบครึ่ง หรือร้อยละ 45 ช่วงอายุระหว่าง 18 – 25 ปี ส่วนใหญ่รู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อทำงาน ถูกมองข้าม และรู้สึกหนักใจ กว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุที่มากกว่าอย่างชัดเจน พร้อมยังระบุว่าคนทำงานวัยหนุ่มสาว จะรู้สึกตึงเครียดในระหว่างวันของทำงานปกติ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากความเชื่อมโยงที่มีกับเพื่อนร่วมงานด้วยกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน 

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าร้อยละ 62 ของกลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี และร้อยละ 57 ของกลุ่มคนทำงานที่มีอายุ 26 – 43 ปี จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น หากได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในช่วงอายุเดียวกัน โดยกลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวจำนวนมากเชื่อว่าความคิดของตนไม่ได้รับความเคารพจากผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือน้อยกว่ามาก ขณะเดียวกันร้อยละ 48 ของกลุ่มคนทำงานอายุ 18 – 25 ปี ก็เชื่อว่าผู้คนที่มีอายุไม่ใกล้เคียงกันในองค์กรเดียวกันมักไม่เห็นคุณค่าในแนวคิดของตน 

อย่างไรก็ดี ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในวัยนี้ หากพิจารณาโดยใช้กฎเกณฑ์อายุ 18 ปี พบว่าในช่วง 5 ปีแรก หรืออายุ 18 – 23 ปี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่คนเริ่มมองหาอาชีพการงานของตนในอนาคต แสวงหารูปแบบของตนเองในแง่มุมต่าง ๆ เช่น เรื่องของค่านิยม (value) หน้าที่ ภาพพจน์ของตนเอง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในการปรับตัว เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน นายจ้างควรลงทุนในกลยุทธ์ที่สนับสนุนความเป็นอยู่และสุขภาพจิตของคนทำงาน

ดังนั้น นายจ้างจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมของให้มีความปลอดภัยทางสุขภาพจิต เพื่อให้คนทำงานรู้สึกอิสระที่จะพูดแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีผลกระทบเชิงลบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน เพราะความปลอดภัยทางสุขภาพจิต จะคนทำงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงานและสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมและระบบการทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
แอปพลิเคชันใหม่ ‘Clayful’ สนับสนุนให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ภายใน 60 วินาที สำหรับนักเรียนในสหรัฐ ฯ 
พร้อมรับเทอมใหม่ 5 กลยุทธ์ ส่งเสริมสุขภาพจิต ในยุคโควิด-19 หลังพบนักศึกษาเผชิญความเครียดเพิ่มขึ้น
นวัตกรรมใหม่ ‘Hippocratic AI’ สร้างบุคลากรเสมือนจริง เพื่อสนับสนุนบริการสุขภาพให้แก่ผู้ป่วย
– ปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้มาจากแค่ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในวัยเด็ก แต่อาจมาจาก “ความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้กับความผิดหวัง”
– ทักษะการเรียนรู้ สุขภาพจิต และพัฒนาการทางสังคม-ความรู้สึก: ต้นทุนที่เด็กสูญเสียไปจากการปิดโรงเรียนเพื่อรับมือกับโรคระบาด

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสามผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573
– (3.8) ส่งเสริมการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ 

แหล่งที่มา: 
สมาคมจิตวิทยาอเมริกันพบ ‘คนทำงานวัยหนุ่มสาว’ เกือบครึ่ง ‘รู้สึกเหงา’ และ ‘ถูกละเลย’ (ประชาไท)
สภาพจิตใจของวัยผู้ใหญ่ (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลRamaMental)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย 

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version