PM2.5 คร่าชีวิตคนทั่วโลกว่า 7.8 ล้านคน – รายงานสภาวะอากาศโลกชี้มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุให้อีกหลายคนเผชิญโรคเรื้อรัง

รายงานสภาวะอากาศโลก ประจำปี 2567 (State of Global Air 2024 report) ระบุปี 2564 มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของทั่วโลกกว่า 8.1 ล้านคน ขณะที่อีกหลายล้านคนต้องเผชิญกับโรคเรื้อรัง และยังเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีมากกว่า 700,000 คน และกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่สองของการเสียชีวิตของเด็กกลุ่มอายุนี้ทั่วโลก รองจากภาวะทุพโภชนาการ

รายงานข้างต้นเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จัดทำขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง Health Effects Institute (HEI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐอเมริกา สถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (Institute for Health Metrics) โครงการ Evaluation’s (IHME) Global Burden of Disease และยูนิเซฟโดยรวบรวมข้อมูลในกว่า 200 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก เพื่อสำรวจและศึกษาผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อมนุษย์ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ

ข้อค้นพบอื่น ๆ ที่ปรากฏในรายงานข้างต้น เช่น

  • PM2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนกว่า 7.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของการเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศทั่วโลก
  • การสัมผัสกับโอโซนเป็นระยะเวลานานส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 489,518 คนทั่วโลก รวมถึงการเสียชีวิตของประชากร 14,000 คนในสหรัฐอเมริกาจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโอโซน
  • โรคปอดบวมซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก 1 ใน 5 คนทั่วโลก มีความเชื่อมโยงกับการสัมผัสมลพิษทางอากาศ
  • ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ส่งผลกระทบให้เกิดโรคหอบหืดในเด็ก โดยแหล่งสำคัญของก๊าซชนิดนี้มาจากการจราจรเป็นหลัก
  • แม้ว่าปริมาณ PM2.5 ในบรรยากาศลดน้อยลงหรือคงที่ในหลายภูมิภาค แต่ประชากรในประเทศรายได้และประเทศรายได้ปานกลางกลับยังเผชิญกับ PM2.5 สูงกว่าปกติถึง 4 เท่า

ขณะที่ ดร. ปัลวี พันท์ หัวหน้าฝ่ายสุขภาพทั่วโลกของ HEI ระบุว่า “รายงานฉบับใหม่นี้เป็นเครื่องตอกย้ำว่ามลพิษทางอากาศกำลังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง มักจะเป็นผู้แบกรับผลกระทบเหล่านั้นอย่างรุนแรง”

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– SDG Insights | PM 2.5 ภัยคุกคามต่อความไม่ยั่งยืนด้านสุขภาพของคนไทย | SDG Move
– SDG Insights | ชำแหละนโยบายแก้ฝุ่น PM2.5 ในภาคเกษตร : อะไรคือต้นเหตุของความไม่ยั่งยืน | SDG Move
– SDG Insights | ท่ามกลางวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ระบบสุขภาพไทยต้องรับมือกับอะไรบ้าง? 
– SDG Updates | หายนะจาก ‘สภาพอากาศร้อนจัด’ ผลกระทบวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก   
– รายงาน IPCC ฉบับใหม่เผยข้อมูลผลกระทบและความเสี่ยงจาก Climate Change  ต่อปัญหาสุขภาพปัจจุบัน
– การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลต่อสุขภาพ และการเตรียมการด้านสาธารณสุข สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
– แนวทางการประเมินความเปราะบางและการปรับตัวด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.9) ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573
– (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศและการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

แหล่งที่มา
Air Pollution Deaths in Children Under 5 Down 53% Since 2000: Global Report (IISD)
มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คน 8.1 ล้านคนทั่วโลกในปี 2564 (The Opener)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น