สารจากประธาน COP29 เน้นย้ำความทะเยอทะยานและเร่งรัดการลงมือทำเกี่ยวการเงินเพื่อการต่อสู้กับ Climate Change 

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 Mukhtar Babayev ประธานการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) ครั้งที่ 29  และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาร์เซอร์ไบจาน เผยแพร่สารแถลงการณ์วิสัยทัศน์ในฐานะประธานคนใหม่ “ในการเสริมสร้างความทะเยอทะยานและการลงมือทำ” และระบุถึงแนวทางการทำให้วิสัยทัศน์ข้างต้นเป็นจริง นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงช่วงเวลาสำคัญที่จะเกิดขึ้นและการระบุถึงเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการดำเนินงานที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน 

สารดังกล่าวเขียนขึ้นภายใต้ธีม ‘In Solidarity for a Green World’ หรือ ‘ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อโลกสีเขียว’ โดยมุ่งนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม ‘2024 UN Climate Change Conference’ ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 ณ เมืองบากู ประเทศอาร์เซอร์ไบจาน เพื่อเป็นเวทีตรวจสอบความตกลงปารีส (Paris Agreement) การปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ และความร่วมมือ โดยมีเป้าหมายเชิงปริมาณที่เกี่ยวกับการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันใหม่ (New Collective Quantified Goal: NCQG)

หลักการดำเนินการสำคัญที่สารฉบับนี้เน้นย้ำคือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และผลลัพธ์ของข้อตกลงการเริ่มต้นที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลฉบับแรก (Global Stocktake: GST) การมีส่วนร่วมระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับภายในประเทศ

สาระสำคัญของสารดังกล่าว เช่น 

  • ยกระดับความทะเยอทะยาน ด้วยการกำหนดแผนการที่ชัดเจนเพื่อรักษาเป้าหมายอุณหภูมิให้คงที่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (nationally determined contributions: NDCs) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุความตกลงปารีส แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Adaptation Plans: NAPs) และรายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Reports: BTRs)
  • การเร่งรัดให้เกิดการลงมือทำ ผ่านวิธีการดำเนินการและการสนับสนุน รวมทั้งข้อตกลง NCQG ที่เป็นธรรมและมีความทะเยอทะยาน ในด้านการเงินเพื่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสรุปการปฏิบัติการของมาตรา 6 (การดำเนินการร่วมกัน)

Mukhtar Babayev ยืนยันว่าความก้าวหน้าของสองเสาดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านการเงิน การค้าและการลงทุน พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรรมที่ยั่งยืน น้ำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เมืองที่ยั่งยืน และสุขภาพ รวมถึงให้ความสำคัญต่อโลก 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ชวนจับตา 4 ประเด็นสำคัญการประชุม ‘COP28’ พร้อมสำรวจความกังวลต่อท่าทีเจ้าภาพในการยุติการใช้พลังงานฟอสซิล
– ไทยเตรียม 4 ข้อเสนอ ในการประชุม ‘COP 28’ พร้อมร่วมแก้ปัญหาโลกเดือดกับผู้นำโลก
– UN Women เผยภายในปี 2593 ‘ผู้หญิงและเด็กผู้หญิง’ จะตกอยู่ในความยากจน-ไม่มั่นคงทางอาหาร เหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
– ‘Glasgow Climate Pact’ ข้อตกลงจากการประชุม COP26 ที่ยังคงเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลก ‘1.5°C’ แต่ล้มเหลว ‘ยุติการใช้ถ่านหิน’ 
– กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดออกเอกสารแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชดเชยทางการเงินให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบ 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.a) ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการบรรเทาที่ชัดเจนและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานและทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุนฅ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : COP 29 Incoming Presidency Paints Its Vision for 2024 UN Climate Conference (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น