Site icon SDG Move

Research Brief | ความเป็นไปได้และอุปสรรคในการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สร้างประโยชน์ร่วมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ‘Climate Change’ เป็นปัญหาท้าทายร่วมกันของประเทศทั่วโลก เนื่องจากก่อผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมครอบคลุมต่อทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ภาคส่วนต่าง ๆ พยายามจัดการและตั้งรับปรับตัวเพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เร่งรัดขับเคลื่อนประเด็นเร่งด่วนนี้ โดยมีแผนระดับชาติและระดับหน่วยงานส่วนหนึ่งที่ถูกกำหนดให้นำมาปรับใช้เป็นแนวทาง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับดีแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยต้องมีนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุ SDG13 และต้องให้ความสำคัญกับจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายจากภัยพิบัติและปริมาณก๊าซเรือนกระจก จึงนำมาสู่การ งานวิจัยภายใต้โครงการ “การสร้างความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยและข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13” โดย ดร.พรรณวีร์ เมฆวิชัย และคณะ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และอุปสรรคในการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สร้างประโยชน์ร่วมของด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย


01 – ภาพสะท้อนที่มาของงานวิจัย

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นับว่าเป็นเป็นเป้าหมายระดับสากลที่ประเทศทั่วโลกตกลงขยับขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุได้ภายในปี 2573 โดย SDGs มี 17 เป้าหมาย (Goals) 169 เป้าหมายย่อย (Targets) และตัวชี้วัด 247 ตัว เพื่อใช้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินการที่ครอบคลุมมิติสำคัญ 3 มิติ คือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะมิติด้านสิ่งแวดล้อม กรณีสถานภาพการดำเนินงาน SDG 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับอยู่นิ่ง (stagnating) โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประกาศและกำหนดเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) แต่ก็ยังมีความท้าทายในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยหากพิจารณาผลจากโครงการ “การวิเคราะห์สถานภาพและพัฒนาข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อยกระดับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13” ที่ดำเนินการเมื่อปี 2566 พบว่า สถานภาพการดำเนินการ SDG 13 ของประเทศไทยมีสถานการณ์ดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับดีแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยต้องมีนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุ SDG 13 และต้องให้ความสำคัญกับจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายจากภัยพิบัติและปริมาณก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้โครงการข้างต้น ยังให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมและยกระดับ SDG 13 ว่าควรมีนโยบายเพิ่มเติมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการเชิงกลไกเพื่อเพิ่มระดับการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน 2) ด้านการลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกเพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับทุกสาขา โดยเน้นในสาขาเกษตรและสาขาพลังงานและขนส่ง และ 3) ด้านความพร้อมในการรับมือและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อปรับตัวในทุกภาคส่วน ที่รวมไปถึงภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ภาคการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

จากเหตุผลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาแผนและกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13 เพื่อส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงเพื่อการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยภายใต้โครงการ “การสร้างความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยและข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13” สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และอุปสรรคในการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สร้างประโยชน์ร่วมของด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย


02 – วิธีการศึกษา

โครงการวิจัยฯ ได้กำหนดขอบเขตการทบทวนวรรณกรรม (Scope of review) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและแนวทางที่สร้างประโยชน์ร่วมของการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งสนใจสาขาเกษตร และ สาขาการใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ และ 2) ด้านความพร้อมในการรับมือและการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ มุ่งสนใจสาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสาขาการจัดการน้ำ ซึ่งทั้งสองประเด็นสามารถพัฒนาเป็นนโยบายและแนวทางที่สร้างประโยชน์ร่วมของการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากนั้นได้สังเคราะห์สาระสำคัญของเอกสาร/แผนปฏิบัติราชการ เพื่อเปรียบเทียบนโยบายและแผนระดับชาติ (เช่น NAP, LTS, แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593) และ แผนปฏิบัติราชการระดับกระทรวงและกรม รวมถึงแผน/โครงการที่ครอบคลุมทั้งมิติด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (สาขาเกษตร และ สาขาการใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้) และด้านความพร้อมในการรับมือและการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ (สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร, สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, สาขาการจัดการน้ำ) เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างเชิงนโยบายและความเป็นไปได้ในการกำหนดนโยบายร่วม สามารถจำแนกเอกสารได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก: เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการของประเทศไทยจำนวน 8 แผน ดังต่อไปนี้

  1. Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy (Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, 2022)
  2. Thailand’s National Adaptation Plan (Department of Climate Change and Environment, 2023)
  3. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558)
  4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2568) (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2565)
  5. แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566 – 2570 (คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร, 2566)
  6. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2580 (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2565ก)
  7. ร่าง พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. (กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, 2567) และ  
  8. (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุง ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 – 2580)

กลุ่มที่สอง: แผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน หรือ แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยพบว่าแผนที่เข้าเกณฑ์ตามที่โครงการวิจัยฯ กำหนด มีทั้งสิ้น 17 ฉบับ จาก 4 กระทรวง ดังนี้

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 แผน ได้แก่

  1. แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. แผนของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. แผนของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  4. แผนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. แผนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  6. แผนของกรมป่าไม้
  7. แผนของยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 8 แผน ดังนี้

  1. แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 – 2570
  2. แผนปฏิบัติราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  3. แผนของสำนักเศรษฐกิจการเกษตร
  4. แผนของกรมการข้าว
  5. แผนของกรมวิชาการเกษตร
  6. แผนของกรมส่งเสริมการเกษตร
  7. แผนของกรมพัฒนาที่ดิน
  8. แผนของกรมชลประทาน  

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 1 แผน ได้แก่

  1. แผนของกรมอุตุนิยมวิทยา

กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 แผน ได้แก่

  1. แผนของกรมโยธาธิการและผังเมือง

อย่างไรก็ตาม นโยบาย/แผน/โครงการ ภายใต้การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย เช่น แผนปฏิบัติราชการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2566-2570, แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2566-2570, แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติเป็นหลัก ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการทบทวนวรรณกรรมของโครงการวิจัยฯ


03 – ผลการศึกษา

การสังเคราะห์สาระสำคัญของเอกสาร/แผนปฏิบัติราชการ ทั้งสิ้น 25 ฉบับ เพื่อสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) และแนวทางที่สร้างประโยชน์ร่วม (Co-benefits) โดยภายใต้แนวทาง Co-benefits มีแนวทางที่ใช้แนวคิดการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions; NbS) รวมอยู่ด้วย โดยเนื้อหาของเอกสาร/แผนปฏิบัติราชการ สามารถจำแนกเนื้อหาออกเป็น 4 กลุ่ม/ประเด็น ได้แก่ 1) กลุ่มการเกษตรเพื่ออาหารคนและสัตว์ (ประเด็นย่อย: การเพาะปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง) 2) กลุ่มปัจจัยและระบบการผลิตเพื่อการเกษตร (ประเด็นย่อย: ระบบน้ำเพื่อการเกษตร, การจัดการคุณภาพดินและปุ๋ยเพื่อการเกษตร, และการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาคการเกษตร) 3) กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ (ประเด็นย่อย: พื้นที่ป่าธรรมชาติ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และพื้นที่สีเขียวในเมืองและชนบท) 4) กลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรและการจัดการภัยพิบัติ (ประเด็นย่อย: น้ำท่วม น้ำแล้ง ความร้อน การกัดเซาะของแผ่นดิน และภัยอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) มีข้อค้นพบที่สำคัญในแต่กลุ่มและประเด็น ดังนี้

กลุ่มการเกษตรเพื่ออาหารคนและสัตว์

ประเด็นย่อย : การเพาะปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

กลุ่มปัจจัยและระบบการผลิตเพื่อการเกษตร

ประเด็นย่อย : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

ประเด็นย่อย : การจัดการคุณภาพดินและปุ๋ยเพื่อการเกษตร มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

ประเด็นย่อย : การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาคการเกษตร มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้

ประเด็นย่อย : พื้นที่ป่าธรรมชาติ มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

ประเด็นย่อย : พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

ประเด็นย่อย : พื้นที่สีเขียวในเมืองและชนบท มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

กลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรและการจัดการภัยพิบัติ

ประเด็นย่อย : ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากน้ำแล้ง ความร้อน การกัดเซาะของแผ่นดิน และภัยอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีข้อค้นพบที่สำคัญ ได้แก่


04 – ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

การผนวกประเด็นเรื่อง Mitigation และ Adaptation เข้าด้วยกันเพื่อสร้างประโยชน์ร่วม (Co-benefits) หากพิจารณาเชิงนโยบาย พบว่ามีแผนและโครงการอยู่ส่วนหนึ่งแต่ยังไม่ครอบคลุม จึงมีข้อเสนอให้พิจารณาในเชิงลึกเพื่อดำเนินการต่อไป 3 ประเด็น ได้แก่

  1. การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการที่คำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน เนื่องจากที่ผ่านมา นโยบาย/แผน/โครงการของแต่ละหน่วยงานยังมีลักษณะเน้นไปที่ Mitigation และ Adaptation ด้านใดด้านหนึ่ง
  2. แนวทางการพิจารณา/การดำเนินงานแบบ Co-benefits ต้องพิจารณาบริบทเชิงพื้นที่ประกอบการวางแผน โดยการดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าวต้องอาศัยการบูรณาการกับหน่วยงานที่หลากหลายในพื้นที่ ดังนั้นการกำหนดนโยบาย/แผนต้องอาศัยการประสานงานระหว่างหน่วยงานและการบูรณาการทั้งระดับพื้นที่และข้ามหน่วยงาน ซึ่งต้องพิจารณาถึงระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงบประมาณ
  3. การบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ในการกำหนดโยบาย/แผนเพื่อการดำเนินงานเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ทั้งในลักษณะและความรุนแรงของผลกระทบ ดังนั้นการกำหนดแนวทางในการดำเนินแผน/โครงการ/กิจกรรมต้องอาศัยข้อมูลที่ละเอียดในเชิงพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานที่ก่อให้เกิด Co-benefits ระหว่าง Mitigation และ Adaptation

05 – บทสรุป

โดยสรุป โครงการวิจัยข้างต้นชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายสำหรับจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งด้าน Mitigation โดยมีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในหลากหลายภาคส่วน ในขณะที่นโยบายด้าน Adaptation พบว่ามีแนวทางการดำเนินงานในหลายภาคส่วน แต่ยังไม่มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งนโยบายทั้งสองด้าน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ พบว่า นโยบายมีความครอบคลุมและหลากหลาย เช่น ประเด็นเรื่องเกษตรที่ให้ความสำคัญตั้งแต่ประเด็นเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงระบบปัจจัยการผลิตทั้งน้ำ ปุ๋ย

อย่างไรก็ตาม พึงทราบด้วยว่าการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ Co-benefits เป็นการตีความจากข้อความที่ปรากฏในเอกสาร จึงมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูล หากประเทศไทยต้องการให้ความสำคัญกับแนวทางแบบ Co-benefits อย่างจริงจัง ควรมีการออกแบบการทำงานที่ตอบสนองต่อ Co-benefits โดยตรง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดแผน/กลยุทธ์ในการดำเนินการแบบ Co-benefits สำหรับการการดำเนินนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศต่อไป

● สามารถติดตามบทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้ที่นี่

บทความฉบับนี้ เป็นชุดข้อมูลภายใต้โครงการ 'การสร้างความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยและข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13' สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจะมีการเผยแพร่ผ่านทาง SDG Move อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกันยายน 2567

อติรุจ ดือเระ – ผู้เรียบเรียง
แพรวพรรณ ศิริเลิศ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนแดง – ภาพประกอบ

Author

Exit mobile version