ธนาคารโลก (World bank) เผยแพร่ “รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย: ปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง” เนื่องจากประเทศไทยต้องรับมือกับความท้าทายทั้งด้านเรื่องผลิตภาพและการลดลงของประชากรวัยทำงาน เพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอย่างเร่งด่วน ต้องปลดล็อกศักยภาพของเมือง ที่ผ่านมาเมืองรองของไทยหลายเมืองมีศักยภาพอย่างมาก แต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำประเทศกลับสู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องกลับมาพิจารณาศักยภาพและบทบาทที่สำคัญของเมืองรอง
รายงานฉบับนี้ ในหัวข้อพิเศษได้เน้นย้ำถึงศักยภาพและบทบาทที่สำคัญของเมืองรองของไทย สำหรับส่งเสริมการเติบโตของประเทศในอนาคต ต้องยอมรับว่าการพัฒนาเมืองของไทยที่ผ่านมามุ่งเน้นไปที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ จึงถือเป็นหนึ่งในเมืองโตเดี่ยว (primate city) ของโลก ด้วยตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายการคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ จึงช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและกิจกรรมต่าง ๆ แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยปัญหาความแออัด ค่าครองชีพสูงมากซึ่งแสดงถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจ จึงจําเป็นที่ต้องกระจายการเติบโตไปยังเมืองศูนย์กลาง (Urban centers) ต่าง ๆ
ประเทศไทย มีเมืองรองจำนวนมากที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญ ข้อมูลล่าสุดจากรายงานพบว่าเมืองรองมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวสูงกว่ากรุงเทพฯ เกือบ 15 เท่า ดังนั้น หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทุนมนุษย์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสถาบันอย่างเหมาะสม จะทำให้เมืองรองเหล่านี้สามารถเพิ่มผลิตภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้
รายงานดังกล่าวได้ระบุถึงข้อเสนอแนะที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของไทยในระยะยาวของเมืองรอง ซึ่งรวมถึงการกระจายอำนาจในการตัดสินใจด้านการลงทุน แม้เมืองรองเหล่านี้สามารถควบคุม การวางแผนเชิงพื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายทางการคลังของตนเองได้เพียงเล็กน้อย แต่ในทางกลับกันเมืองรองยังต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจัดสรรจากจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นอย่างมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เมืองรองไม่สามารถปลดล็อคศักยภาพทางเศรษฐกิจได้ จึงต้องเพิ่มความเป็นอิสระทางการคลังของเมืองและกระจายความเจริญและดึงศักยภาพทางเศรษฐกิจในพื้นที่เหล่านี้ในอนาคต
รศ. ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กล่าว “การเพิ่มขีดความสามารถให้กับเมืองรองของไทยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ครั้งสำคัญ เพื่อให้เมืองเหล่านี้มีอำนาจ ความยืดหยุ่น ทรัพยากรทางการเงิน และโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นในการดึงดูดการลงทุนตลอดจนผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาเมือง”
● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– 5 ประเด็นที่ ‘ธนาคารโลก’ เสนอไทยให้ปรับปรุง เพื่อลดความยากจน-ขยายความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง มีอะไรบ้าง
– World Bank เผยปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทย ยังน่าห่วงเผชิญภาวะหยุดชะงัก – พร้อมชี้เศรษฐกิจหมุนเวียนคือหนึ่งในทางออก
– 15 องค์กรการกุศลชั้นนำเรียกร้องให้ World Bank Group และ IMF ลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือโรคระบาดให้มากขึ้น
– รายงานของธนาคารโลก ชี้ไทยจำเป็นต้องเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ เตรียมรับมือการใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
– SDG Spotlight – 5 ข่าว SDGs น่าสนใจในรอบสัปดาห์ที่ 1 ประจำเดือนกันยายน 2566
– SDG Updates | เสริมภูมิคุ้มกันให้ประเทศไทย ผ่านกลไกการประกันและการเงินเพื่อการบริหารความเสี่ยง
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.3) ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
แหล่งที่มา:
– เมือง รอง มี ความ สํา คั ญ ต่อ เศรษฐกิจ ไทย หลัง ธนาคารโลก คาด การณ์ เศรษฐกิจ ปี 2567 เติบโต ร้อย ละ 2.4 (worldbank)
– รายงาน ตาม ติด เศรษฐกิจ ไทย กรกฎาคม 2567: ปลด ล็อก ศักยภาพ การ เติบโต ของ เมือง รอง (worldbank)