Site icon SDG Move

สหประชาชาติประกาศปฏิญญาระดับโลก เพื่อต่อสู้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR)

องค์การสหประชาชาติได้บรรลุความสำเร็จในการสร้างความตกลงระดับโลกเพื่อต่อสู้กับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพทั่วโลก

ผู้นำจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามในปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting on Antimicrobial Resistance) เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาลง 10% จากตัวเลข 4.95 ล้านคนในปี ค.ศ. 2019 ให้สำเร็จภายในปีค.ศ. 2030 โดยปฏิญญานี้จะทำหน้าที่เป็นแผนแม่บทในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพเกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคอื่น ๆ พัฒนากลไกต้านทานยาปฏิชีวนะ ทำให้ยาเหล่านั้นสูญเสียประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อ ส่งผลให้การรักษาโรคกลายเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิต โดยคาดการณ์ว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกถึง 10 ล้านคนต่อปีภายในปีค.ศ. 2050

ปฏิญญานี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน ทั้งด้านสุขภาพ สัตว์เลี้ยง พืช และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เพื่อแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาอย่างรอบด้าน

มาตรการสำคัญที่ระบุไว้ในปฏิญญา ได้แก่

ปฏิญญาฉบับนี้เป็นผลลัพธ์จากการเจรจาระหว่างรัฐบาล โดยมีตัวแทนจากมอลตาและบาร์เบโดสเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการดำเนินการ และได้รับการรับรองในระหว่างการประชุมระดับสูงสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพ ครั้งที่สอง (The second High-Level Meeting on Antimicrobial Resistance) เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2024 ที่ผ่านมา

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง ●
มหันตภัยร้ายที่คุกคามสุขภาพ ‘เชื้อดื้อยา’ อาจทำให้ผู้คนมากกว่า 10 ล้านคน เสียชีวิตได้ภายในปี 2593
SDG Insights | รู้ทันสถานการณ์ ‘วัณโรค’ ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพชีวิตมนุษย์ สร้างความยั่งยืนในการป้องกันดูแล
แม่น้ำกว่า 200 สายทั่วโลกปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ยา หลายสายมีระดับเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ประเทศยากจนยังขาดการเข้าถึงยาปฏิชีวนะที่จำเป็น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อดื้อยา

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.d) เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.1) เสริมความแข็งแกร่งของการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของประเทศในการเก็บภาษีและรายได้อื่นๆ ของรัฐ
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติม จากแหล่งที่หลากหลาย
– (17.9) เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมีการตั้งเป้าในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่จะดำเนินงานในทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี

แหล่งที่มา:
Countries Commit to Increased Action on Antimicrobial Resistance (IISD SDG Knowledge Hub)
World leaders commit to decisive action on antimicrobial resistance (UNEP)

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version