Site icon SDG Move

ดัชนีความยากจนหลายมิติ ปี 2567 ชี้ ‘คนจนหลายมิติ’ มีมากถึง 1.1 พันล้านคน – ครึ่งหนึ่งเป็นผลจากสงคราม

วันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันขจัดความยากจนสากล (International Day for the Eradication of Poverty) ปีนี้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) ร่วมกับโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ไขความยากจนแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford Poverty and Human Development Initiative – OPHI) ได้เผยแพร่รายงานดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index: MPI) ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่อ “Poverty amid conflict” พบว่าประชากร 1.1 พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในภาวะยากจนขั้นรุนแรง จำนวนนี้กว่า 445 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่เกิดสงคราม ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งมีอัตราความยากจนที่สูงกว่าประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบเกือบ 3 เท่า

รายงานได้สำรวจดัชนีความยากจนหลายมิติจาก 112 ประเทศทั่วโลกและประชากร 6.3 พันล้านคน ซึ่งได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งและความยากจน ซึ่งพบว่าประเทศที่อยู่ในภาวะสงครามมีอัตราความยากจนที่สูงขึ้นทั้ง 10 ตัวชี้วัด ตัวอย่างเช่นในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง มีคนยากจนมากกว่า 1 ใน 4 ไม่มีไฟฟ้าใช้ เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคที่มีเสถียรภาพมากกว่าพบเพียง 1 ใน 20

ข้อค้นพบอื่น ๆ ที่น่าสนใจในรายงาน เช่น

สำหรับดัชนีความยากจนหลายมิติของประเทศไทยอยู่ที่ 0.002 ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับเดียวกันทั้งหมดมีดัชนีที่สูงกว่าไทย ได้แก่ เมียนมาร์ อยู่ที่ 0.176 ลาว อยู่ที่  0.108 กัมพูชา อยู่ที่ 0.070 ฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 0.016 อินโดนีเซีย 0.014 เเละเวียดนาม 0.008 อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถกำหนดทรัพยากรและออกแบบนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมชี้ให้เห็นถึงกลุ่มคนความเปราะบางที่ตกอยู่ในความยากจนในหลายมิติ 

●อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 อ่านรายงานดัชนีความยากจนหลายมิติ ปี 2565 พบ ‘คนจนหลายมิติ’ มีมากถึง 1.2 พันล้านคน – ไทยมีดัชนีต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
  WHO ชี้ ประเทศที่ยากจนยังตามหลังประเทศที่ร่ำรวยในการเข้าถึงอากาศสะอาด ตามเกณฑ์ของ AQGs
  หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหยุดชะงักเพราะโควิด-19 ทำให้หลายคนยากจนขั้นรุนแรงเพราะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล
–  ประเทศยากจนยังขาดการเข้าถึงยาปฏิชีวนะที่จำเป็น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อดื้อยา
  การสนับสนุนเงินทุนในโครงการขจัดความยากจน สามารถลดจำนวนการทารุณกรรมในเด็กและการละเลยทอดทิ้งเด็กได้
–  จะยุติความยากจนอย่างไรภายในปี 2573 เมื่อเกิดใน ‘รัฐที่เปราะบาง’ ก็มีโอกาสยากจนขั้นรุนแรงแล้ว 50%

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.1) ภายในปี 2573 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนทุกคนในทุกพื้นที่ให้หมดไป ซึ่งในปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน
– (1.2) ภายในปี 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศที่เหมาะสม รวมถึงการคุมครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573
– (1.4) ภายในปี 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก
– (1.5) ภายในปี 2573 สร้างภูมิต้านทานให้แก่คนยากจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางและลดการเผชิญหน้าและความเสี่ยงต่อเหตุการณ์รุนแรง/ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากภูมิอากาศ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
– (1.a) สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญจากแหล่งต่างๆ รวมถึง การยกระดับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อที่จะจัดให้มีแนวทางที่เพียงพอและวิธีการที่เป็นไปได้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
– (1.b) สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนความยากจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender-sensitive) เพื่อจะสนับสนุนการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
– (2.1) ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีอาหารตามหลักโภชนาการ และมีอาหารเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปี 2573
– (2.2) ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 รวมถึงการบรรลุเป้าประสงค์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเน้นความต้องการโภชนาการของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี 2568
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
– (6.1) บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี 2573
– (6.2) บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ใต้สถานการณ์ที่เปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
– (7.1) สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี 2573
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573

แหล่งที่มา:
1.1 billion people live in multidimensional poverty, nearly half a billion of these live in conflict settings (UNDP)
2024 Global Multidimensional Poverty Index (MPI)  (HDR UNDP)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version