Site icon SDG Move

สภาองค์กรของผู้บริโภคยื่นร่างกฎหมาย 3 ฉบับต่อ ส.ส. หวังยกระดับการปกป้องผู้บริโภคให้ครอบคลุมและทันยุคสมัย

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สภาองค์กรของผู้บริโภค นักกฎหมาย นักวิชาการ และตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เดินทางไปยังอาคารรัฐสภาเพื่อยื่นร่างกฎหมาย 3 ฉบับ แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้น 

ร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีประชาชนลงชื่อร่วมสนับสนุนกว่า 71,454 ชื่อ โดยแบ่งตามแต่ละฉบับ ดังนี้ 1)  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. … จำนวน 23,872 รายชื่อ 2) พระราชบัญญัติอาหาร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … จำนวน 23,877 รายชื่อ และ 3) พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. …. หรือ กฎหมายเลมอน ลอว์ (Lemon Law) จำนวน 23,705 รายชื่อ

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า สภาผู้บริโภคได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั้งหมด 70,000 กว่าชื่อ ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นหวังว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ จะเป็นร่างของรัฐบาลในการนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และหวังว่าสภาผู้สภาผู้แทนราษฎรจะเร่งดำเนินการนําร่างของภาคประชาชนที่ลงชื่อสนับสนุนมา 70,000 กว่าชื่อ เข้าสู่การพิจารณา และเร่งรัดในการตั้งวาระเพื่อให้ทันสมัยประชุมที่กําลังจะเกิดขึ้น

สาระสำคัญจากร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ข้างต้น เช่น 

ทั้งนี้ บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาผู้บริโภค ชี้แจงว่า กฎหมาย 3 ฉบับนี้ มี 2 ฉบับที่มีอยู่แล้ว และสภาผู้บริโภคขอแก้ไขเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่อีกหนึ่งฉบับ คือ เลมอนลอว์ ที่ผ่านมาอย่างน้อย 3 รัฐบาล ผ่านกรรมาธิการมาแล้วหลายชุด แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่พิจารณา

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 ผู้บริโภคสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีชื่อส่วนผสมคล้ายสารเคมี เพราะไม่มั่นใจในการยืนยันความปลอดภัยด้านอาหารโดย FDA
 Kubé ธุรกิจเพื่อสังคมที่ผลิตไอศกรีมทำจากหัวกะทิ ส่งเสริม Food Justice ให้กับผู้ผลิตท้องถิ่น ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.3) สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.1) ดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบระยะ 10 ปีของแผนงานว่าด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ทุกประเทศนำไปปฏิบัติโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำ โดยคำนึงถึงการพัฒนาและขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา
#SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
– (16.10) สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ

แหล่งที่มา 
‘สภาผู้บริโภค’ ยื่น 7 หมื่นชื่อ แก้ กม.คุ้มครองผู้บริโภค 3 ฉบับ (The Active)
ปรับเพื่อเปลี่ยน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เทียบเท่าสากล เท่าทันยุคสมัย (สภาคองค์กรของผู้บริโภค)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version