Site icon SDG Move

ประชุม INC – 5 ยังไม่บรรลุ “สนธิสัญญาพลาสติกโลก”– ประเทศผลิตน้ำมันเห็นแย้งไม่ควรเร่งรัด ด้านจีนและสหรัฐฯ มีท่าทีสนับสนุนสนธิสัญญาฯ มากขึ้น 

วันที่ 25 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2567 ตัวแทนรัฐบาลจาก 178 ประเทศ และภาคประชาสังคม เข้าร่วมประชุมของ “คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) ในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล” ครั้งที่ 5 หรือ INC-5 ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ โดยหลายประเทศได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลก แม้จะมีกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันซึ่งนำโดยซาอุดีอาระเบียส่งเสียงคัดค้านและแย้งว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลาค่อย ๆ คิดและพิจารณา

ประเด็นสำคัญจากการประชุมข้างต้น เช่น

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ซึ่งเดินทางไปร่วมประชุมข้างต้น ให้ความเห็นว่าการประชุมเจรจาค่อนข้างล่าช้ากว่ากำหนด และระบุว่า “เรายอมรับว่าผิดหวังกับผลการเจรจาในรอบปูซานครั้งนี้ แต่ก็คาดอยู่เช่นกันว่า การเจรจาครั้งนี้น่าจะยังไม่สำเร็จ ในส่วนท่าทีของประเทศไทย ก่อนหน้านี้ก็ทราบมาว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อมอบหมายหน้าที่ต่อตัวแทนคณะเจรจาของไทยให้สนับสนุนสนธิสัญญาพลาสติกโลก แต่หากผลการเจรจาจะต้องไปให้ถึงการสนับสนุน “สนธิสัญญาอันทะเยอทะยาน” ตามที่มีหลายประเทศผลักดันอยู่ ประเทศไทยจะขอยกเว้นเรื่องการควบคุมปริมาณการผลิตพลาสติกลง ซึ่งรัฐบาลไทยและภาคเอกชนของไทยยังไม่เห็นด้วย”

นอกจากนี้ เพ็ญโฉม และตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศไทยยังได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ชูป้าย “หยุดใช้สารเคมีอันตรายในพลาสติก Stop hazardous chemicals in plastic” บริเวณหน้าอาคารประชุมเจรจาฯ เพื่อแสดงออกถึงความต้องการให้ผู้นำและตัวแทนรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมแสดงความจริงใจที่จะจัดการกับวิกฤตด้านมลพิษจากพลาสติกอย่างจริงจัง และอยากให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ มากกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ตามกรอบการทำงาน การประชุม INC-5 นับเป็นการประชุมเจรจาครั้งสุดท้ายของเรื่องนี้ โดยก่อนหน้ามีการประชุมจัดขึ้นที่ อุรุกวัย ฝรั่งเศส เคนยา และแคนาดา ตามลำดับ แต่ยังไม่อาจหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจร่วมกันได้ การมีมาตรการจัดการขยะและสารเคมีในขยะระดับโลกจึงอาจต้องล่าช้าออกไปอย่างน่ากังวล 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– SDG Insights | ขยะพลาสติกในทะเล: ความพยายามของภูมิภาคอาเซียน
– ผลกระทบของขยะพลาสติกในมหาสมุทรที่มีต่อสุขภาพของคน: การศึกษาที่อาจยังขาดหายไป
– NextWave Plastics จับมือคู่แข่งทางธุรกิจ สร้างเครือข่ายระดับโลกแห่งแรกที่ปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดขยะพลาสติกในมหาสมุทร
– โคคา-โคล่า ร่วมมือกับ The Ocean Cleanup เดินหน้าใช้นวัตกรรมดักจับขยะพลาสติกในแม่น้ำ 15 แห่งทั่วโลกก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร
 75% ของพลาสติกที่รีไซเคิลได้ กลายเป็นขยะ คือ ‘โอกาสทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ฉกฉวย’ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– SDG Updates | แบนพลาสติกเพิ่ม: แนวโน้มความสำเร็จหรือล้มเหลว? ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ? และใครบ้างต้องปรับตัว?
EJF ชวนจับตา ‘ข้อตกลงพลาสติกโลก ครั้งที่ 3’ พร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อคณะผู้แทนรัฐบาลไทย เพื่อยุติมลพิษพลาสติกอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศและการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.5) ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
– (14.1) ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มโดยหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

แหล่งที่มา
Intergovernmental Negotiating Committee on Plastic Pollution (UNEP)
ปูซาน เกาหลีใต้, 2 ธันวาคม 2567: การประชุมของ “คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาล (มูลนิธิบูรณะนิเวศ)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version