Site icon SDG Move

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียกร้อง ครม. ทบทวน 2 พ.ร.ฎ. ป่าอนุรักษ์ หวั่นละเมิดสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นำโดยนายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ นางรัตติกุล  จันทร์สุริยา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข้อเสนอแนะถึงนายกรัฐมนตรีให้ทบทวนและชะลอพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาไปแล้ว 6 พื้นที่ และจะประกาศอีกหลายพื้นที่ เนื่องจากหวั่นกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอีกหลายพื้นที่อาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชน มีประเด็นกระทบต่อสิทธิมนุษยชนใน 2 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีมติเห็นควรให้แจ้งข้อพิจารณาตลอดจนข้อเสนอแนะกรณีไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอ ครม. ทบทวนและชะลอการประกาศใช้ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออก เนื่องจากจะเห็นได้ว่าสิ่งที่อาจเกิดขึ้นสร้างผลกระทบและเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างครอบคลุมต่อความคุ้มครองสิทธิในที่ดินและสิทธิชุมชนอีกครั้งครั้ง

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– กสม. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น – พร้อมยื่นหนังสือแก่นายกรัฐมนตรีถึง 4 ข้อกังวลและ 2 ข้อเสนอโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’
– เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะฯ เข้าพบนายกฯ เสนอ 4 ข้อให้ทบทวนและปรับเปลี่ยนแนวทางโครงการแลนด์บริดจ์ หวังความครอบคลุม เป็นธรรม และยั่งยืนมากขึ้น
–  จังหวัดปาปัวตะวันตกคงความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลได้ดีขึ้น เพราะการกำหนดพื้นที่คุ้มครองและบทบาทนำของชุมชนรอบชายฝั่ง
พีมูฟ ยื่นหนังสือค้านร่าง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ และ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่า ชี้เป็นการเพิ่มอำนาจรัฐ-ละเมิดสิทธิประชาชน
– เครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด แถลงการณ์ประณามกรมโยธาฯ ทำลายชายหาด พร้อมยื่น 3 ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับโครงการกำแพงกันคลื่น 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.4) ภายในปี 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
– (2.3) เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG10ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.3) สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
– (15.1) สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืดในแผ่นดินรวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน เฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขา และเขตแห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี 2563
– (15.2) ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี 2563
#SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

แหล่งที่มา:
กสม.เสนอแพทองธาร “ให้ครม.ทบทวน-ชะลอประกาศใช้ 2 พ.ร.ฎ. ป่าอนุรักษ์” (greennews)
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2567 กสม. มีข้อเสนอแนะถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและชะลอพระราชกฤษฎีกา (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version