Site icon SDG Move

ข้อค้นพบจากยูนิเซฟ การขยายเวลาลาเลี้ยงดูบุตรในไทย สำคัญต่ออนาคตเด็กและครอบครัวอย่างไร

SDG Recommends ฉบับนี้ ชวนอ่านรายงานการประเมินเร่งด่วนเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างในประเทศไทย ระบุถึง “นโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว” มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนครอบครัวในระบบการจ้างงาน พร้อมทั้งส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมให้เพิ่มมากขึ้น ในบริบทของประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านประชากร รายงานฉบับนี้ มีจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนการดำเนินนโยบายในภาครัฐและภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว (Family-Friendly Policies and Practices :FFPs) ประกอบด้วยแกนกลางของนโยบาย 4 ประการ ได้แก่ 1) สิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตรแบบได้รับค่าจ้างสำหรับผู้ปกครองทั้งสองคน 2) สวัสดิการสำหรับแม่ที่กลับมาทำงาน เช่น การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมะสมต่อการให้นมบุตรในที่ทำงาน รวมถึงการปรับชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น 3) การเข้าถึงการบริการดูแลเด็กที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง และ 4) สวัสดิการสำหรับบุตรพนักงานและครอบครัว

รายงานฉบับนี้มีข้อค้นพบสำคัญ เช่น

การมีวันลาเลี้ยงดูบุตรที่ได้รับค่าจ้างเป็นนโยบายที่ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถแบ่งเวลาจากการทำงานเพื่อเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่งเกิด โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนหรือบางส่วน นโยบายนี้ถือเป็นการลงทุนสำคัญสำหรับสังคมในแง่ของสุขภาวะและการพัฒนามนุษย์ อีกทั้งยังมีผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวที่สูงทั้งแก่ผู้ปกครองและเด็ก ดังนั้นนโยบายวันลาคลอดนี้เป็นการลงทุนที่มีคุณค่าต่อสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาว

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
สำรวจนโยบาย ‘ส่งเสริมการมีลูก’ ของแต่ละประเทศ สาเหตุใดสถิติเด็กเกิดใหม่น้อยลง
การทำงานบ้านควรคิดเป็นเงินมูลค่าเท่าไร ? เมื่อผู้หญิงทั่วโลกยังคงเป็นฝ่ายรับผิดชอบงานส่วนใหญ่ในบ้าน 
– นโยบายใหม่ให้มีลูกได้ 3 คนของจีนเผชิญแรงต้าน เมื่อการมีลูกมีราคาแพงและผู้หญิงยังประสบกับความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ
 อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกลดลง และ 39 ประเทศรวมไทยจะมีประชากรในปี 2050 น้อยกว่าปัจจุบัน
– การศึกษาในบริบทของประเทศนอร์เวย์ชี้ สิทธิการลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรส่งผลต่อสุขภาพของมารดาในระยะยาว 
บริษัท Novatis ทั่วโลก รวมทั้งในไทย ให้สวัสดิการคุณพ่อมือใหม่ ‘ลางานดูแลบุตร’ ได้ถึง 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ 
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.4) ตระหนักและให้คุณค่าต่อการดูแลและการทำงานบ้านแบบไม่ได้รับค่าจ้าง โดยจัดให้มีบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการคุ้มครองทางสังคม และสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือนและครอบครัว ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
– (5.5) สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
– (8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
– (10.3) สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องนี้
– (10.4) นำนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคมมาใช้ และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างก้าวหน้า

แหล่งที่มา: การประเมินเร่งด่วนเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างในประเทศไทย (UNICEF Thailand)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version