Site icon SDG Move

วิเคราะห์ช่องว่างความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย – ข้อเสนอต่อบทบาทกระทรวง พม. ในการขับเคลื่อน SDG 5

บทนำ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 หรือ SDG 5 มุ่งเน้นไปที่การบรรลุความเสมอภาคทางเพศ และเสริมพลังให้แก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมที่ยุติธรรมและยั่งยืน การประเมินสถานการณ์ความก้าวหน้าของ SDG 5 ในประเทศไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เห็นภาพรวมของความสำเร็จ ความท้าทาย และช่องว่างที่ต้องเร่งแก้ไข บทความนี้ได้วิเคราะห์สถานการณ์ SDG 5 ในประเทศไทย โดยอ้างอิงข้อมูลจากรายงานและดัชนีต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563, รายงานความก้าวหน้า SDGs ของเอเชียและแปซิฟิกประจำปี 2024, Sustainable Development Report 2024 และ Global Gender Gap Report 2024

การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เหล่านี้ ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสถานะของความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายย่อยต่างๆ ภายใต้ SDG 5 ตั้งแต่การยุติการเลือกปฏิบัติ การขจัดความรุนแรง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในทุกระดับ ไปจนถึงการเข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

บทความนี้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อน SDG 5 โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและตัวชี้วัดต่างๆ การปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการสร้างความร่วมมือข้ามภาคส่วน เพื่อปิดช่องว่างความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทยให้สำเร็จ


01 – สถานการณ์ SDG 5: สถิติและช่องว่างเชิงนโยบาย 

การประเมินสถานการณ์ SDG 5 : บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน มีแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่นำเสนอการประเมินสถานการณ์เหล่านี้ โดยแต่ละแหล่งจะใช้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันในการอธิบายสถานการณ์และนำเสนอวิธีการในการให้คะแนนหรือจัดทำดัชนี (index) ที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทุกแหล่งการประเมินมีร่วมกัน คือการกำหนดระดับความก้าวหน้าของแต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์ SDG 5 นี้จะทำโดยการใช้เป้าหมายย่อย (targets) ของ SDG 5 เป็นกรอบในการวิเคราะห์ แล้วเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดจากแหล่งการประเมินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศสภาวะ เพื่อให้เห็นถึงสถานะความก้าวหน้าของแต่ละเป้าหมายย่อยและประเด็นใดที่มีความสำคัญและเร่งด่วนมากที่สุด

แหล่งการประเมินที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้ประกอบด้วย

  1. รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563 จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นรายงานทางการของประเทศ
  2. รายงานความก้าวหน้า SDGs ของเอเชียและแปซิฟิกประจำปี 2024 (Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024) จัดทำโดย UNESCAP
  3. Sustainable Development Report 2024 หรือ SDG Index 2024 จัดทำโดย เครือข่าย Sustainable Development Solutions Network (SDSN)
  4. Global Gender Gap Report 2024 จัดทำโดย World Economic Forum

1.1 รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563 

จากรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การประเมินสถานะของ SDG 5 แสดงให้เห็นว่าในบรรดา 9 เป้าหมายย่อยของ SDG 5 มีประเด็นที่อยู่ในสถานะ “สีส้ม” ซึ่งหมายถึงมีความก้าวหน้ามากกว่า 50% แต่ยังไม่ถึง 75% ของค่าเป้าหมาย ทั้งหมด 2 เป้าหมายย่อย ประกอบด้วย

สำหรับเป้าหมายย่อยที่ สศช. ประเมินว่า บรรลุแล้ว มี 2 เป้าหมายย่อย ดังนี้

ส่วนเป้าหมายย่อยที่เหลืออยู่ในสถานะ “สีเหลือง” (มีความก้าวหน้าระหว่าง 76-99% ของค่าเป้าหมาย) แสดงถึงการพัฒนาในทิศทางที่ดี แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องพยายามเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างเต็มที่

1.2 การประเมินของ UNESCAP ในปี 2024

เมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) ได้ประเมินว่า SDG 5 เป็นหนึ่งในสองเป้าหมาย SDGs ที่มีข้อมูลตามตัวชี้วัดตามกรอบ Global Indicator Framework ของ SDGs น้อยที่สุด ทั้งในระดับภูมิภาคและในประเทศไทย โดยประเทศไทยมีข้อมูลตัวชี้วัดทั้งหมด 13 ตัวชี้วัด ซึ่งครอบคลุมเป้าหมายย่อย 5.1, 5.2, 5.3, 5.5, 5.a และ 5.c

ในบรรดาข้อมูลที่มีการรายงาน พบว่าประเทศไทยมีข้อมูลที่มีการรายงานมากกว่า 1 data point อยู่ทั้งหมด 7 ตัวชี้วัด ส่วนที่เหลือมีข้อมูลเพียง 1 data point เท่านั้น ส่วนนี้สะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจำเป็นต้องทำงานด้านข้อมูลร่วมกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมากกว่านี้เพื่อทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลที่ครบถ้วนและทันสมัยมากยิ่งขึ้น

สำหรับความท้าทายที่ยังไม่คืบหน้า (stagnant challenges) ของไทย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดภายใต้เป้าหมายย่อยที่ 5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่

ประเด็นที่ประเทศไทยมีความท้าทาย คือมีสถานะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่มีข้อมูลเพียง 1 data point ในฐานข้อมูลของ UN มีดังนี้

ประเด็นที่ประเทศไทยมีสถานะดีกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค คือ

สำหรับประเด็นที่ไทยมีความก้าวหน้าที่ดีคือ ตัวชี้วัดภายใต้เป้าหมายย่อย 5.5 ประกอบด้วย

1.3 รายงาน SDG Index 2024

SDG Index เป็นดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งจัดทำโดยเครือข่าย UNSDSN โดยใช้ตัวชี้วัด 97 ตัว ในการประเมิน 166 ประเทศทั่วโลก แม้จะไม่ใช่การจัดอันดับอย่างเป็นทางการขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็เป็นดัชนีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

สำหรับประเทศไทย ในปี 2024 เราอยู่ในอันดับที่ 45 จาก 166 ประเทศ และยังคงครองอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่ 5 ยังเป็น SDGs เป้าหมายหนึ่งในสิบเป้าหมายของไทยที่อยู่ในสถานะ “สีส้ม” ซึ่งบ่งชี้ว่ายังคงมีความท้าทายที่ต้องแก้ไข

ในการประเมินเป้าหมายที่ 5 นี้ ดัชนี SDG ใช้ตัวชี้วัด 4 ตัว ดังนี้

ตัวชี้วัดที่อยู่ในสถานะที่บรรลุแล้ว (สถานะสีเขียว) โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ตัวชี้วัดที่อยู่ในสถานะที่ยังคงมีความท้าทาย (สถานะสีเหลือง) โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ตัวชี้วัดที่ยังอยู่ในขั้นวิกฤติ (สถานะสีแดง) โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

1.4 Global Gender Gap Report 2024

World Economic Forum ได้เผยแพร่รายงาน Global Gender Gap Report 2024 โดยจัดอันดับ 146 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาความเท่าเทียมใน 4 มิติ ได้แก่ การมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ (Economic Participation and Opportunity), การได้รับการศึกษา (Educational Attainment), สุขภาพและการมีชีวิตรอด (Health and Survival), และการเสริมพลังทางการเมือง (Political Empowerment)

ในปี 2024 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 65 จาก 146 ประเทศ โดยได้คะแนน 0.720 คะแนน ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปี 2023 ที่อันดับ 74 ด้วยคะแนน 0.711 คะแนน ใน 4 มิติของการประเมิน ประเทศไทยได้คะแนนสูงในมิติการได้รับการศึกษา (0.985) และสุขภาพและการมีชีวิตรอด (0.977) แต่มียังคงอยู่ในอันดับที่ 95 และ 42 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเท่าเทียมที่ดีขึ้นในด้านการศึกษาและสาธารณสุขทั่วโลก ส่วนมิติการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้คะแนน 0.772 และอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก ขณะที่มิติการเสริมพลังทางการเมืองได้คะแนนต่ำสุดที่ 0.147 และอยู่ในอันดับที่ 102

ในมิติการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดที่ประเทศไทยทำได้ดี ได้แก่

ในมิติการได้รับการศึกษา ตัวชี้วัดในประเทศไทยทำได้ดีทั้งหมด โดยได้คะแนนสูงกว่า 0.970 ทุกตัวชี้วัด แม้จะมีสถานะที่ดี แต่ไทยยังคงอยู่อันดับที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น

ในมิติสุขภาพและการมีชีวิตรอด

ในมิติการเสริมพลังทางการเมือง ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยมิตินี้มี 3 ตัวชี้วัด

1.5 สังเคราะห์ผลการประเมินที่เกี่ยวข้องกับ Gender Equality ในมิติที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายย่อยใน SDG 5

จากการประเมินสถานะของเป้าหมายย่อยภายใน SDG 5 จากหลากหลายแหล่งข้อมูล พอจะสรุปสถานการณ์ได้ดังนี้

การประเมินโดยรวมสะท้อนว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงยังคงมีอยู่ แม้จะไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม การประเมินของ UNESCAP ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยยังสามารถพัฒนากรอบกฎหมายและนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านกฎหมายและชีวิตสาธารณะ ความรุนแรงต่อผู้หญิง และการจ้างงานและสิทธิประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

แม้การประเมินภายในประเทศจะชี้ว่าปัญหานี้ยังเป็นความท้าทายสำคัญ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่ดีกว่า เป้าหมายย่อยนี้

ข้อมูลบ่งชี้ว่าประเทศไทยอาจเผชิญความท้าทายในเป้าหมายนี้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของเป้าหมายย่อยนี้ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมและประมวลผลให้ต่อเนื่องและครอบคลุม

ทั้งการประเมินภายในและภายนอกประเทศชี้ว่าประเทศไทยยังคงมีความท้าทายในเป้าหมายนี้อยู่เล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิทธิการลาตามกฎหมายของผู้ชายเพื่อเลี้ยงดูบุตร เช่นเดียวกับเป้าหมายย่อย 5.3 ข้อมูลในส่วนนี้ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมเพิ่มเติมให้ต่อเนื่องและครอบคลุม

การประเมินภายในประเทศระบุว่าเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง ในขณะที่การประเมินจากแหล่งข้อมูลหลายแห่ง เช่น SDG Index และ Global Gender Gap Report ต่างประเมินว่า ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายระดับวิกฤติในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในภาคการเมือง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นในเรื่องนี้ โดยเฉพาะหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 และ 2566

ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในเป้าหมายนี้ โดย SDG Index ระบุว่าประเทศไทยบรรลุตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องแล้ว แม้การประเมินภายในและภายนอกประเทศจะชี้ว่ายังคงมีความท้าทายอยู่บ้าง

ทุกแหล่งข้อมูลชี้ตรงกันว่าประเทศไทยมีความท้าทายเพียงเล็กน้อยในเป้าหมายย่อยนี้

การประเมินจากร สศช. รายงานว่าเป้าหมายย่อยนี้บรรลุแล้ว แต่ยังคงจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อมูลที่สามารถแบ่งปันกับฐานข้อมูลและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการประเมินผล

จากมุมมองของประเทศไทย เป้าหมายนี้ได้รับการประเมินว่าบรรลุแล้วจากการประเมินภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของตัวชี้วัดระดับนานาชาติ ยังมีหลายประเด็นที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้


02 – ข้อเสนอต่อกระทรวง พม. เบื้องต้น

2.1 การขับเคลื่อน SDG 5 กับข้อมูล

ในการขับเคลื่อนประเด็นความเท่าเทียมทางเพศและ SDG 5 กระทรวง พม. ควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลและตัวชี้วัดที่มีอยู่หลากหลายแหล่ง เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศอย่างรอบด้าน ควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมในระดับจังหวัด หรือจากระบบของ พม. เอง เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างสอดคล้องกับการประเมินสถานะของประเทศในระดับสากล และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจและควรนำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่

แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลระดับประเทศ หรือในกรณีของ MICS ที่สำรวจในบางจังหวัด แต่ข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นฐานในการศึกษาต่อในระดับจังหวัดได้ หากมีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่สามารถใช้ได้จริงในระดับจังหวัด พร้อมทั้งช่วยให้การทำงานด้านเด็กและสตรีมีความน่าเชื่อถือและเป็นมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ ข้อมูล MICS ซึ่งล่าสุดได้สำรวจจนถึงปี 2022 จะช่วยให้เห็นสถานการณ์เกี่ยวกับเด็กและสตรีในระดับภาค รวมถึงข้อมูลเชิงสังคมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้การกำหนดนโยบายความเท่าเทียมทางเพศในแต่ละภาคมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวง พม. ควรร่วมมือกับภาคเอกชนและ กสทช. ในการจัดทำข้อมูลสำหรับเป้าหมายย่อยที่ 5.b และตัวชี้วัด 5.b.1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัดส่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเพศ

2.2 การปรับปรุงกฎหมาย

สำหรับเป้าหมายย่อยที่เกี่ยวข้องกับกรอบกฎหมายและระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะ เป้าหมายย่อย 5.1 ซึ่งมุ่งยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิง และ เป้าหมายย่อย 5.c ที่เกี่ยวกับการเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายและกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กระทรวง พม. ควรศึกษา metadata ของตัวชี้วัด 5.1.1 และ 5.c.1 เพื่อใช้คำถามในตัวชี้วัดเหล่านั้นในการประเมินสถานะทางกฎหมาย ระบบ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง

การประเมินนี้จะช่วยระบุช่องว่างของกฎหมายและระบบในประเทศไทยเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับสากลตามตัวชี้วัดเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนากฎหมาย มาตรการ นโยบาย และระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับสถานะของตัวชี้วัดและเป้าหมายย่อยเหล่านี้ได้ และทำให้สถานะของความเท่าเทียมทางเพศดีขึ้น

2.3 ความร่วมมือข้ามภาคส่วน

กระทรวง พม. ควรทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในการเฟ้นหาผู้นำผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในแต่ละวงการ แล้วจัดทำกิจกรรมหรือสื่อเพื่อสื่อสารเรื่องราวของพวกเธอไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ นอกจากนี้ กระทรวง พม. ควรเฟ้นหาองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมพลังผู้หญิงให้แบ่งปันความรู้กับองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศชายและหญิง รวมถึงเพศทางเลือก โดยข้อเสนอนี้จะช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายย่อย 5.5

กระทรวง พม. ควรขับเคลื่อนประเด็น Gender Responsive Budgeting ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ เป้าหมายย่อย 5.c ในหน่วยงานที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ รวมถึงมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากแนวทางดังกล่าว เช่น มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหน่วยงานที่เป็น node ในการประสานงาน
การทำงานเชิงยุทธศาสตร์กับหน่วยงานกำกับกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสื่อสร้างสรรค์ กองทุนสุขภาพ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกองทุนสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายผลการทำ Gender Responsive Budgeting ผ่านการกำหนดให้เป็นข้อกำหนดในการรับทุน

กระทรวงยังควรทำงานร่วมกับองค์กรที่เป็น node ประสานงาน เช่น ที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ในการส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ มีนโยบาย กฎระเบียบ และกลไกที่เอื้อต่อความเสมอภาคระหว่างเพศ และจัดการกับปัญหาการคุกคามทางเพศในองค์กรอย่างเป็นระบบ

สุดท้าย กระทรวง พม. ควรร่วมมือกับภาคเอกชนที่ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือและ กสทช. เพื่อจัดทำการระดมความคิดและแนวทางในการขับเคลื่อน SDG 5 โดยการใช้เทคโนโลยี ICT ส่งเสริมเป้าหมายย่อยต่าง ๆ ใน SDG 5 ซึ่งจะไม่เพียงแต่สร้างความตระหนักรู้ แต่ยังอาจนำไปสู่การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับผู้หญิง เด็ก และความเท่าเทียมทางเพศที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน


สรุป

การวิเคราะห์สถานการณ์ SDG 5 ในประเทศไทยผ่านแหล่งข้อมูลและดัชนีต่างๆ เผยให้เห็นภาพความก้าวหน้าที่หลากหลาย โดยมีทั้งด้านที่ประสบความสำเร็จ ด้านที่กำลังพัฒนา และด้านที่ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อปิดช่องว่างเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเสริมพลังทางการเมืองของผู้หญิง การขจัดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลัก จำเป็นต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDG 5 อย่างเป็นรูปธรรม

การใช้ประโยชน์จากข้อมูล การปรับปรุงกฎหมาย และการสร้างความร่วมมือข้ามภาคส่วน เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน SDG 5 อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานตามข้อเสนอแนะที่นำเสนอในบทความนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุ SDG 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่เท่าเทียม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงและเด็กหญิง

Authors

  • ผู้อำนวยการศูนย์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่หันมาสนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมุมของกลไกการบริหารจัดการ (Governance) และนโยบายสาธารณะ (Public Policy)

  • นักออกแบบนิเทศศิลป์

Exit mobile version