รายงานฉบับใหม่ของ PI ชี้ผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชนไทยถูกฟ้องปิดปากทั้งหมด 595 คดี มากที่สุดในอาเซียน พร้อมเสนอ 5 ข้อ เพื่อปกป้องพลังหญิง 

วันที่ 20 มีนาคม 2568 องค์กร Protection International (PI) เปิดตัวรายงาน “การต่อต้านคือพลัง เสริมสร้างกลไกคุ้มครองผู้หญิงนักสิทธิมนุษยชน และนักสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ประจำกรุงเทพฯ โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้านสิทธิสตรีและตัวแทนสถานทูตต่าง ๆ เข้าร่วม เช่น สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมนี รวมทั้งสหภาพยุโรปและ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UHCHR)

รายงานข้างต้นเกิดขึ้นภายใต้ “โครงการจุดไฟแห่งการเปลี่ยนแปลง : เสริมพลังผู้หญิงนักสิทธิมนุษยชนเพื่อผลักดันนโยบายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุม” (Fuelling Change: Empowering Women Human Rights Defenders to Drive Comprehensive Policies for Human Rights Protection) โดยการสนับสนุนจากโครงการ Human Rights Magna Carta/John Bunyan Fund สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ 

รายงานใช้การเก็บข้อมูลผ่านการลงพื้นที่รับฟังเสียงสะท้อนและข้อเสนอแนะจากผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกว่า 110 คนทั่วประเทศไทย ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ เช่น 

  • นับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร ปี 2557 จนถึง กุมภาพันธ์ ปี 2568 พบว่ามีผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชนไทยถูกฟ้องปิดปากทั้งหมด 595 คดีจาก 13 ฐานความผิด ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในอาเซียน โดยทุกเดือนจะมีอย่างน้อยสองคนที่ต้องเผชิญการถูกใช้กระบวนการยุติธรรมในการคุกคามในฐานความผิดต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
  • แม้กลุ่มทุนหรือภาคธุรกิจกำลังคุกคามและละเมิดสิทธิแรงงานมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวต่อต้านหรือตรวจสอบโดยผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชนกลับถูกจำกัดและเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากภาคธุรกิจใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อกำจัดการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมและการปกป้องสิทธิมนุษยชนของพวกเธอ
  • ผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชนขาดที่พึ่งในการปกป้องสิทธิของตน เนื่องจากการเข้ากองทุนยุติธรรมมีเงื่อนไขและระบบที่ยุ่งยาก และเจ้าหน้าที่ผู้ขาดความรู้ความเข้าใจปฏิเสธไม่ให้เข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอ 5 ข้อ ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างกลไกผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชน ได้แก่ 

  • กระทรวงยุติธรรมต้องมีคำนิยามและมีการรับรองทางกฎหมาย และการคุ้มครองผู้หญิงนักสิทธิมนุษยชนและนักสิทธิมนุษยชน ให้สอดคล้องกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักสิทธิมนุษยชนปี 1998 เนื่องจากปัจจุบันเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมยังไม่เข้าใจว่านักปกป้องสิทธิคือใคร 
  • ยุติคดีฟ้องร้องเชิงยุทธศาสตร์ต่อการมีส่วนร่วมของสาธารณะ และการใช้กระบวนการยุติธรรมในการคุกคามอย่างเด็ดขาด ผ่านการออกกฎหมายต่อต้าน SLAPPs โดยทันทีและกฎหมายนี้ต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายที่ใช้บังคับ
  • การปฏิรูปกองทุนยุติธรรมให้สามารถเข้าถึงได้โดยแท้จริง ลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรค และรับรองว่าผู้หญิงนักสิทธิมนุษยชนและนักสิทธิมนุษยชนจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นธรรม และทันท่วงทีจากที่ในปัจจุบันนักปกป้องสิทธิบางคนใช้เวลานานกว่า 33 เดือน ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด 
  • สร้างความรับผิดชอบของรัฐและภาคธุรกิจ ในการปกป้องผู้หญิงและนักสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดมาตรการคว่ำบาตรและกลไกตรวจสอบที่เข้มงวด
  • ฟื้นฟูความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้สามารถทำงานด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอิทธิพลทางการเมืองและการแทรกแซงจากหน่วยงานความมั่นคงและทหาร

งานเปิดตัวรายงานดังกล่าวยังมีการเสนวนาหัวข้อ “รัฐบาลเพื่อไทยอยู่ดาวดวงไหน ในกลไกการคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” โดยมีนักสิทธิมนุษยชนหญิงเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ เช่น สมปอง เวียงจันทร์ ผู้หญิงนักสิทธิมนุษยชนจากสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล เสนอว่ารัฐบาลประชาธิปไตย ควรให้สิทธิชาวบ้านในการเรียกร้อง และปกป้องชาวบ้านที่รักษาสิทธิในการปกป้องแม่น้ำ ขณะที่ อังคณา นีละไพจิตร เห็นว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการเยียวยาด้านจิตใจกับผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่คุ้มครองนักต่อสู้ปกป้องสิทธิ 

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– รายงานของ UNODC และ UN Women เผย ‘บ้าน’ คือสถานที่สร้างความรุนแรง ต่อผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนทั่วโลก
– ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19: UN Women, UNODC, IAWP ออกคู่มือสำหรับตำรวจ จัดการเคสโดยคำนึงประเด็นทางเพศและ “ผู้รอดชีวิต” เป็นศูนย์กลาง 
– ผู้หญิงยังคงเผชิญกับ ‘ความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ’ (GBV) ในแต่ละวัน แต่รัฐบาลและงานด้านมนุษยธรรมยังให้ความสำคัญน้อยเกินไป
– รายงาน UNODC เผย ผู้หญิง-เด็กหญิง 51,100 รายทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากคนรักและครอบครัว
– SDG Recommends | 5 อินโฟกราฟิกเล่าสถานการณ์ “ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง” ในโลก 5 รูปแบบ  
– SDG Updates | บทบาทของสื่อมวลชนต่อ SDGs ในวันที่ข่าวสารข้อเท็จจริงปะปนกับการบิดเบือน และเสรีภาพของสื่อถูกคุกคาม
– เดินไปพร้อมกัน ! เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคืบหน้าก็ต่อเมื่อประชาชนมีสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
– SDG Insights | 1 ปีของการสื่อสารเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน: ถอดบทเรียนจากการทำงาน
– จับตารัฐสภาผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. สื่อ หลายองค์กรสื่อยืนกรานค้าน-ระบุว่าเป็นเครื่องมือปิดกั้นเสรีภาพการนำเสนอข่าว
หากไทยไร้เสรีภาพสื่อ จะขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs ได้แค่ไหน?

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.1) ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่
– (5.c) เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเพิ่มบทบาทแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (10.3) สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
– (16.10) สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ

แหล่งที่มา 
“595 คดีใน 9 ปี” คดีฟ้องปิดปากไทย “มากสุดในอาเซียน” PI เผย (GreenNews)
เอ็นจีโอ ยื่น 5 ข้อ คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ย้ำต้องเลิกกระบวนการฟ้องปิดปาก (มติชนออนไลน์)

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น